ร้อนเงิน เงินไม่พอใช้ หรือเงินช็อต คำพูดเล่นเหล่านี้เอามาล้อเล่นกันก็สนุกกันดีในวงเพื่อนๆ แต่ถ้าใครกำลังเจอเหตุการณ์เงินไม่พอใช้ หรือ เงินช็อตอยู่จริงๆคงขำไม่ออกและไม่สนุกเท่าไหร่นะคะ หลายคนยังคงประสบปัญหาเงินไม่พอใช้ก่อนสิ้นเดือนอยู่มาก แต่พฤติกรรมแบบนั้นไม่ดีเลย เพราะชีวิตการเงินของคุณอยู่บนความประมาทและอันตรายมากๆ ถ้าเกิดเรื่องฉุกเฉินขึ้นมาคุณคงแย่มากแน่ๆ อย่าว่าแต่เงินออมเลยนะ เงินใช้จ่ายยังไม่พอก่อนจะรับเงินเดือนด้วยซ้ำ แต่บทความวันนี้จะมาช่วยแนะนำให้ค่ะว่าคุณจะหลุดพ้นจากปัญหาเงินไม่พอใช้ก่อนสิ้นเดือนที่เกิดขึ้นซ้ำซากนี้ได้อย่างไร?

บทความนี้เลือกเอาคำแนะนำเพื่อช่วยให้คุณมีเงินใช้จ่ายเพียงพอก่อนสิ้นเดือนให้ได้  และสามารถมีเงินออมแต่ละเดือนได้ด้วยมาบอกกัน ซึ่งคำแนะนำที่จะบอกก็มีอย่างเช่น เช็คค่าใช้จ่ายที่มีในแต่ละเดือน, แบ่งแยกค่าใช้จ่ายให้ชัดเจน และ เปิดบัญชีเพื่อแยกค่าใช้จ่าย มาดูกันค่ะว่าคำแนะนำเหล่านี้จะทำได้อย่างไร? แล้วช่วยได้จริงไหม?

เช็คค่าใช้จ่ายที่มีในแต่ละเดือน

เช็คค่าใช้จ่ายที่มีในแต่ละเดือน

คำแนะนำแรกอาจจะดูพื้นๆธรรมดาๆใครๆก็รู้ แต่ถ้ารู้แล้วไม่ทำก็ไม่มีประโยชน์นะคะ ดังนั้นคำแนะนำแรกนี้ถ้าคุณรู้อยู่แล้วก็ลงมือทำสักทีได้แล้ว นั่นก็คือ การเช็คดูว่าในแต่ละเดือนคุณมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง แล้วเขียนออกมา แล้วนำค่าใช้จ่ายนั้นมาหักลบกับรายได้ที่คุณจะได้รับว่าคุณจะเหลือเงินเท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายที่จะต้องเช็คเป็นพิเศษคือค่าใช้จ่ายที่จำเป็น เช่นค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าใช้จ่ายรายเดือนต่างๆรวมถึงหนี้สินด้วยค่ะ แล้วนอกจากนั้นค่าใช้จ่ายอื่นๆสำหรับการดำรงชีวิต เช่นค่าอาหาร ค่าเดินทางก็ต้องคิดคำนวณด้วยแม้จะเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่แน่นอนก็ตาม การคิดแบบนี้จะทำให้คุณรู้ว่าค่าใช้จ่ายที่มีแต่ละเดือนนั้นพอดีกับรายได้ไหม? ถ้ารายได้ไม่พอต่อค่าใช้จ่ายเหล่านี้คุณก็จะจบลงตรงที่มีเงินไม่พอใช้ก่อนสิ้นเดือนค่ะ แต่การคิดค่าใช้จ่ายออกมาก่อนจะช่วยให้คุณแก้ปัญหาได้ทันโดยการลดค่าใช้จ่ายที่สามารถลด หรือตัดออกไปได้นั่นเอง คราวนี้คุณก็จะมีเงินพอใช้จนถึงสิ้นเดือนพร้อมกับมีเงินเก็บได้ด้วยค่ะ การคิดค่าใช้จ่ายล่วงหน้ามีประโยชน์มากจริงๆนะคะแต่เมื่อคิดออกมาแล้วต้องลงมือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายของตัวเองด้วยจึงจะดีค่ะ

แบ่งแยกค่าใช้จ่ายให้ชัดเจน

แบ่งแยกค่าใช้จ่ายให้ชัดเจน

คำแนะนำที่สองก็คล้ายๆกับคำแนะนำแรกนิดหน่อย เพราะเป็นเรื่องของค่าใช้จ่ายเหมือนกัน แต่จะเป็นการจัดการค่าใช้จ่ายแบบละเอียดมากขึ้น โดยการแยกแยะค่าใช้จ่ายออกมาเป็นหมวดหมู่ คนเราในแต่ละเดือนมีค่าใชจ่ายหลายอย่าง และแต่ละอย่างก็ต่างกันไป หมวดหมู่ที่ควรจะแยะค่าใช้จ่ายคือ ค่าใช้จ่ายที่แน่นอน, ค่าใช้จ่ายที่ไม่แน่นอน, ค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นในบางเดือน, และ ค่าใช้จ่ายสำหรับการออมเงินหรือการลงทุน การแบ่งแบบนี้จะช่วยให้การเงินของคุณดีขึ้นได้ค่ะ เมื่อคุณแบ่งชัดเจนแล้วก็ลงมือจัดการจัดสรรให้ลงตัวถ้าค่าใช้จ่ายหมวดหมู่ไหนที่มากเกินไปสามารถลดลงได้ก็ควรปรับเปลี่ยน แล้วควรให้ควาสำคัญกับค่าจ่ายที่ต้องเก็บออมด้วยค่ะ ลองทำตามวิธีนี้ดูนะคะไม่ยากเกินไปใครๆก็ทำได้ คุณเองก็ทำได้เหมือนกันค่ะ

เปิดบัญชีเพื่อแยกค่าใช้จ่าย 4 บัญชี

เปิดบัญชีเพื่อแยกค่าใช้จ่าย 4 บัญชี

เมื่อคุณลองแยกค่าใช้จ่ายเป็นหมวดหมู่แล้ว ก็ต้องเตรียมตัวสำหรับรายได้ที่จะเข้ามาเพื่อนำมาใช้จ่ายตามหมวดต่างๆ ด้วยการเปิดบัญชีค่าใช้จ่ายอย่างน้อยสัก 4 บัญชีเพื่อแบ่งค่าใช้จ่ายอย่างชัดเจน เพราะค่าใช้จ่ายบางอย่างก็ไม่ได้มีกำหนดชำระในเวลาเดียวกันเพื่อการทำบัญชีที่ดี และไม่วุ่นวายการเปิดบัญชีแยกค่าใช้จ่ายจึงเป็นสิ่งที่ควรทำค่ะ จะยกตัวอย่างบัญชีค่าใช้จ่ายที่ควรมีให้นะคะ อย่างเช่น บัญชีค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายประจำทุกเดือนที่จะมีการตัดจากบัญชีอัตโนมัติ, บัญชีค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเป็นประจำทุกเดือนที่ต้องจ่ายเป็นเงินสด, บัญชีค่าใช้จ่ายสำหรับหนี้สิน บัตรเครดิต และอื่นๆ ทั้งการตัดบัญชี และการจ่ายแบบเงินสด, บัญชีสำหรับค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินสด เช่น ค่าใช้จ่ายรายวัน ค่าอาหารการกิน ค่าเดินทาง และอื่นๆ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่แน่นอน การแบ่งบัญชีเงินออกเป็น 4 บัญชีแบบนี้จะทำให้คุณจัดการรายได้ที่ได้รับมาดีมากขึ้น คราวนี้ก็มีโอกาสที่จะหลุดพ้นจากปัญหาเงินไม่พอใช้ก่อนสิ้นเดือนแล้วค่ะ

บัญชีเงินออม และการลงทุนก็ต้องมี...นอกจากเงินจะพอใช้แล้วคุณจะมีเงินเหลือด้วยนะ

บัญชีเงินออม และการลงทุนก็ต้องมี...นอกจากเงินจะพอใช้แล้วคุณจะมีเงินเหลือด้วยนะ

การจบปัญหาเงินไม่พอใช้ก่อนสิ้นเดือนนั้นเป็นสิ่งที่ต้องทำให้ได้ก็จริง แต่การมีเงินเพียงพอใช้จ่ายแต่ละเดือนยังไม่พอหรอกค่ะ คุณต้องสามารถมีเงินออม และสามารถลงทุนได้ด้วยถึงจะดีกว่า คำแนะนำที่บอกมาเน้นเรื่องการจัดการค่าใช้จ่าย และพูดถึงการออมเงินอยู่บ้างแต่ไม่ใช่ว่าเรื่องนี้ไม่สำคัญนะคะ แต่สำคัญมากด้วย แต่เพื่อคุณจะให้ความสำคัญกับการออมเงิน และการลงทุนได้นั้นคุณต้องจัดการรายรับรายจ่ายของตัวเองให้ดีก่อน และเมื่อจัดการรายรับรายจ่ายได้แล้วก็ต้องรีบจัดการเรื่องการออม และการลงทุนให้เร็วที่สุดค่ะ มีเงินใช้จ่ายเพียงพอนั้นดีไม่ทำให้เดือดร้อน แต่การมีเงินเหลือเก็บด้วยจะทำให้คุณไม่เดือดร้อนจริงไม่ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจจะเป็นอย่างไรก็ตามค่ะ ใช้เงินอย่างรอบคอบลดความประมาทกันดีกว่านะคะ