ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่เคยคลอดบุตรคงทราบดีอยู่ว่าการคลอดบุตรนั้นต้องมีค่าใช้จ่ายมากมายหลายอย่างตั้งแต่ก่อนคลอดจนถึงหลังคลอด ลองคิดดูว่าคุณแม่คนหนึ่งต้องตั้งครรภ์ตั้ง 9 เดือนนั้นไม่ใช้เวลาน้อยๆเลยแล้วภายในระยะเวลา 9 เดือนนั้นก็ต้องมีค่าใช้จ่ายหลายอย่างตั้งแต่การฝากครรภ์ การตรวจครรภ์เพื่อความปลอดภัยและดูพัฒนาการของลูกน้อยตั้งแต่อยู่ในท้องและเพื่อความปลอดภัยของคุณแม่เองด้วย และก่อนคลอดก็ต้องมีการซื้อข้าวของเครื่องใช้เตรียมไว้สำหรับลูกน้อยที่กำลังจะลืมตาดูโลกหลายอย่างเพราะจะให้ซื้อตอนเด็กคลอดแล้วคงไม่ทันต้องซื้อเตรียมเอาไว้ก่อน แล้วถ้าเกิดคุณแม่มีปัญหาก่อนคลอดก็ต้องมีค่ารักษาพยาบาลด้วยล้วนแล้วแต่เป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มเข้ามาจากการใช้ชีวิตประจำวันทั้งนั้น และค่าใช้จ่ายก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเมื่อคลอดบุตรแล้ว นี่แหละคือเรื่องที่บทความนี้จะมาบอกว่าประกันสังคมมีส่วนช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของคุณแม่หลังคลอดด้วยนะคะ

หลังจากคลอดบุตรคุณแม่มีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องได้รับความช่วยเหลือเพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่มีเข้ามากมายรวมทั้งช่วงนั้นคุณแม่คลอดใหม่ก็ไม่สามารถกลับไปทำงานได้ทันทีทำให้ขาดรายได้ด้วย ดังนั้นข่าวดีจากประกันสังคมที่จะบอกวันนี้คงช่วยคลายความกังวลของคุณแม่มือใหม่ได้มากเลยทีเดียวเพราะประกันสังคมจะช่วยคุณแม่ที่คลอดบุตรด้วยเงินสงเคราะห์บุตร แต่การรับเงินสงเคาะห์บุตรนั้นก็ต้องมีขั้นตอนและเงื่อนไขข้อกำหนด ในบทความนี้จึงจะมาเป็นหนึ่งในผู้ช่วยคุณแม่มือใหม่ให้ทำตามขั้นตอนเพื่อรับสิทธิประโยชน์ตรงนี้ได้ด้วยเรื่องที่จะนำมาให้อ่านต่อไปนี้คือ สิทธิ์ที่คุณแม่คลอดบุตรจะได้รับเงินทดแทนและเอกสารที่ต้องใช้ / คุณแมที่เป็นค่าราชการ / คุณแม่ที่มีอาชีพอิสระ / เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน เนื่องจากก่อนคลอดบุตรคุณแม่แต่ละคนก็มีอาชีพที่แตกต่างกันการทำประกันสังคมก็แตกต่างกันการรับสิทธิ์ก็ย่อมแตกต่างกันไปบ้างเป็นธรรมดาดังนั้นจึงจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลก่อนรับสิทธิ์ค่ะ

สิทธิ์ที่คุณแม่คลอดบุตรจะได้รับเงินทดแทนและเอกสารที่ต้องใช้

สิทธิ์ที่คุณแม่คลอดบุตรจะได้รับเงินทดแทนและเอกสารที่ต้องใช้

สิทธิ์ที่คุณแม่คลอดบุตรจะได้รับจากประกันสังคมก็มีดังนี้

  • เพื่อจะรับเงินในกรณีคลอดบุตรก่อนหน้านั้นคุณแม่ที่เป็นผู้ประกันตนต้องมีการจ่ายเงินสมทบครบมาแล้วมากกว่า 7 เดือนภายใน 15 เดือนก่อนคลอดบุตรจึงจะสามารถรับสิทธ์เบิกค่าคลอดบุตรได้และเบิกได้แบบเหมาจ่ายครั้งละ 13,000 บาท/บัตร/คน
  • กรณีคุณแม่ที่เป็นผู้ประกันตนต้องการเบิกเงินสงเคราะห์บุตรต้องมีการจ่ายเงินสมทบครบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือนก่อนที่จะมีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทน สิทธิ์ในการรับเงินสงเคราะห์บุตรจะเป็นแบบเหมาจ่ายเดือนละ 400 บาทต่อบุตรหนึ่งคน
  • กรณีที่คุณแม่ที่เป็นผู้ประกันต้องการเงินทดแทนจากการขาดรายได้เพราะทำงานไม่ได้หลังคลอดบุตร หรือมีการคลอดบุตรเพิ่มอีกจะได้รับเงินทดแทนแบบเหมาจ่ายในอัตรา 50% ของค่าเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน
 (การยื่นเรื่องเพื่อรับสิทธิ์นั้นมีระยะเวลากำหนดดังนี้ หากต้องการรับเงินเมื่อคลอดบุตรต้องยื่นเรื่องภายใน 1 ปีนับตั้งแต่คลอดบุตร / การรับสิทธิ์เงินสงเคราะห์บุตรสามารถยื่นเรื่องขอรับเงินส่วนนี้ได้ที่สำนักงานประกันสังคมและต้องเตรียมเอกสารให้พร้อม เช่น สูติบัตรบุตร,สำเนาบัตรประชาชน,สำเนาบัญชีธนาคาร เพื่อรับเงินผ่านทางบัญชีธนาคาร / กรณีที่ทั้งคุณแม่และพ่อของเด็กเป็นผู้ประกันตนเช่นกันสามารถยื่นขอรับสิทธิ์เมื่อคลอดบุตรพร้อมกันไม่เกิน 4 ครั้ง ส่วนเงินสงเคราะห์บุตรสามารถยื่นรับสิทธืได้เพียงคุณแม่หรือคุณพ่อคนใดคนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งเงื่อนไขการขอรับสิทธิขอย้ำว่า บุตรหนึ่งคนรับสิทธิ์ได้หนึ่งครั้งเท่านั้นในจำนวนเงิน 13,000 บาท/บัตร)

เอกสารที่ต้องใช้ในการรับสิทธิ์เมื่อคลอดบุตรมีดังนี้

  • แบบคำขอรับประโยชนืทดแทน สปส. 2-01 ผู้ประกันตนต้องกรอกข้อมูลครบถ้วนพร้อมลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำร้องให้เรียบร้อย
  • กรณีผู้ประกันตนที่เป็นคุณแม่ใช้สิทธิ์ให้นำสูติบัตรต้นฉบับพร้อมสำเนา 1 ชุดมาแนบมาด้วย (ถ้าในกรณีคลอดลูกแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
  • กรณีผู้ประกันตนที่เป็นคุณพ่อใช้สิทธิ์ ให้นำสูติบัตรต้นฉบับของบุตรพร้อมสำเนา 1 ชุด และสำเนาทะเบียนสมรสแนบมาด้วย หรือแนบหนังสือรับรองอื่นๆเมื่อไม่ได้จดทะเบียนสมรส
  • ให้นำสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประกันตนหรือบัตรอื่นๆที่ทางราชการออกให้มาด้วย
  • ให้นำสำเนาสมุดบัญชีธนาคารประเภทเงินฝากออมทรัพย์หน้าแรก (กรุงไทย,กรุงศรีฯ,ธนชาต,กรุงเทพ,กสิกรไทย,ไทยพาณิชย์,ทหารไทย,ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย,CIMB) 
 การรับสิทธืและเอกสารที่ต้องใช้ก็จะแตกต่างกันไปอีกเมื่อคุณแม่มีอาชีพและรายได้ที่แตกต่างกันดังข้อมูลต่อไปนี้นะคะ

คุณแม่ที่เป็นข้าราชการ

คุณแม่ที่เป็นข้าราชการ

  • มีสิทธิ์ลาคลอดได้ 90 วัน โดยไม่ต้องใช้ใบรับรองแพทย์และยังไม่ได้รับเงินเดือนตามปกติจากส่วนราชการ
  • มีสิทธิ์ลากิจต่อเนื่องเพื่อเลี้ยงดูบุตรได้ไม่เกิน 150 วันทำการ โดยไม่ได้รับเงินเดือน
  • สามารถเบิกเงินช่วยเหลือการคลอดบุตรได้ครั้งละ 400 บาทโดยไม่รวมค่ารักษาพยาบาลซึ่งคุณแม่สามารถเบิกแยกได้ต่างหาก
  • ได้รับเงืนสวัสดิการสำหรับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเดือนละ 50 บาทต่อบุตร 1 คน แต่ไม่เกิน 3 คน จนกว่าบุตรจะมีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์
 -- ในกรณีที่คุณพ่อ หรือคุณแม่เป็นข้าราชการฝ่ายเดียว สามารถใช้สิทธิ์สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการในกรณีคลอดบุตรได้โดยการเลิกเงินส่วนเกินจากประกันสังคมแต่ต้องเป็นการคลอดบุตรที่โรงพยาบาลรัฐเท่านั้นและต้องเลิกผ่านระบบเบิกจ่ายโดยใช้แบบขอรับสิทธิ์ 7106 --  ในกรณีที่คุณแม่ทำงานเอกชนคุณพ่อเป็นข้ราชการ ต้องเบิกเงินตามสิทธิ์ของภรรยาก่อน เลิกจากส่วนเกินเงินประกันสังคมและต้องเป็นของโรงพยาบาลรัฐเท่านั้น -- ในกรณีคุณแม่เป็นข้าราชการคุณพ่อทำงานเอกชน สามารถเบิกใช้สิทธิ์ได้ทั้งสองสิทธิ์ทั้งคุณพ่อคุณแม่เลยที่สามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้ -- ในกรณีทั้งคุณพ่อคุณแม่เป็นข้าราชการซึ่งคุณพ่ออยู่ในต่ำแหน่งสูงกว่า คุณแม่ต้องเบิกใช้สิทธิ์ของตัวเองไม่สามารถใช้สิทธิ์ของคุณพ่อที่มีต่ำแหน่งสูงกว่าได้ แต่ถ้าคุณแม่ไม่ได้ทำงานและคุณพ่อเป็นข้าราขการต่ำแหน่งสูงสามารถใช้สิทธิ์ของคุณพ่อได้เมื่อคุณแม่คลอดบุตร

คุณแม่ที่มีอาชีพอิสระ

คุณแม่ที่มีอาชีพอิสระ

คุณแม่ที่มีอาชีพอิสระสามารถใช้สิทธืได้เช่นกันใน 2 กรณีนี้ค่ะ

  • สามารถใช้สิทธิ์หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทองจากโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค คุณแม่สามาถฝากครรภ์ได้ฟรี และจ่ายเพียง 30 บาทเมื่อคลอดบุตรไม่เกิน 2 ครั้ง รวมการตรวจโรคและการรักษา
  • กรณีที่คุณแม่ที่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตน หรือเป็นข้าราชการ และหากไม่มีบัตรทองก็สามารถไปติดต่อทำได้ที่สถานีอนามัน,โรงพยาบาลของรัฐฯ,สำนักงานสาธารณสุข โดยใช้สำเนาบัตรประชาชน / สำเนาทะเบียนบ้าน เพียงเท่านี้ก็สามารถใช้สิทธิ์ได้แล้วค่ะ

เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน

เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน

อุบัติเหตุและเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นได้เสมอ มาดูว่าประกันสังคมช่วยเรื่องนี้อย่างไรบ้าง?

  • กรณีคุณแม่แท้ง หรือคลอดบุตรแล้วเสียชีวิต ระยะเวลาประมาณ 28 สัปดาห์สามารถเบิกค่าทำคลอดได้และเบิกค่ามดแมนการขาดรายได้ได้
  • กรณีคุณแม่ต้องออกจากงานเมื่อตั้งครรภ์ แต่ต้องการเบิกค่าคอลดบุตรก่อนออกจากงานคุณแม่ต้องมีการจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมครบ 7 เดือนภายใน 15 เดือนมาแล้วก่อนคลอดบุตร แต่หากต้องการเลิกเงินสงเคราะห์บุตรหลังคลอดคุณแม่ต้องจ่ายเงิสมทบมาแล้ว 12 เดือน ภายใน 36 เดือนก่อนคลอดจึงสามารถรับสิทธิ์ได้
  • กรณีคุณแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส คุณแม่ที่เป็นผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิ์ตรวจสอบชื่อมารดาของบุตรในสูติบัตรว่าถูกต้องหรือไม่ ชื่อ – นามสกุลตรงกันหรือไม่ แต่หากเป็นการใช้สิทธิ์คุณพ่อที่เป็นผู้ประกันตนก็สามารถทำเช่นเดียวกันเพื่อตรวจ ชื่อ – นามสกุลว่าถูกต้องหรือไม่ เมื่อตรวจสอบข้อมูลชัดเจนแล้วก็สามารัรถบสิทธิ์ได้

การใช้สิทธิ์เมื่อคลอดบุตรต้องศึกษาอย่างดี

การใช้สิทธิ์เมื่อคลอดบุตรต้องศึกษาอย่างดี

อย่างที่บอกไปในตอนแรกว่าการคลอดบุตรของคุณแม่นั้นมีค่าใช้จ่ายมากมายหลายอย่าง แถมตัวคุณแม่เองก็ต้องขาดรายได้ในช่วงหลังคลอดใหม่ๆด้วย ดังนั้นความช่วยเหลือที่ประกันสังคมมอบให้คุณอม่หรือคุณพ่อที่เป็นผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิ์เบิกค่าทำคลอด,เงินทดแทนการขาดรายได้, สิทธิประโยชน์เหล่านี้ถือว่าช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้คุณแม่และคุณพ่อที่กำลังจะมีลูกน้อยได้ไม่มากก็น้อยอยู่พอสมควร แต่การรับสิทธิ์นั้นก็มีเงื่อนไขและข้อกกำหนดที่คุณพ่อและคุณแม่ต้องศึกษาก่อนเพื่อทราบว่าด้วยการงานอาชีพและการจ่ายเงินสมทบเพื่อประกันตนเองนั้นสามารถรับสิทธิ์อะไรได้บ้าง? และรับสิทธิ์ในจำนวนเงินเท่าไหร่? เพื่อจะเป็นการช่วยในการวางแผนค่าใช้จ่ายส่วนอื่นๆเมื่อคลอดบุตรด้วยค่ะ

ก่อนมีลูกคุณและคู่ของคุณควรวางแผนอย่างดีไม่ว่าจะเป็นผู้ประกันตนเองหรือไม่ก็ตามเพื่อจะมีค่าใช้จ่ายเพียงพอสำหรับการมีบุตรตั้งแต่ตั้งครรภ์ไปจนถึงคลอดบุตรและหลังจากนั้นก็ต้องมีค่าใช้จ่ายการเลี้ยงดูบุตรต่อไป ถ้าไม่มีการวางแผนด้านค่าใช้จ่ายอย่างดีก็จะเกิดความยุ่งยากได้การเลี้ยงดูลูกน้อยของคุณก็อาจจะไม่มีคุณภาพเท่าที่ควรจะเป็นและกลายเป็นภาระแทนที่จะเป็นความสุขความยินดีนะคะ ขอให้บทความนี้ช่วยเตือนใจคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ทุกคนด้วยที่จะให้ความสำคัญกับการวางแผนการมีลูกก่อนดีที่สุดค่ะ