ข่าวสารบ้านเมืองในสมัยนี้ เราคงเห็นด้วยแน่ๆ ว่าเต็มไปด้วยเรื่องราวหลอกลวงต้มตุ๋นที่เกิดขึ้นแทบจะทุกวัน และมีผู้ตกเป็นเหยื่อเสมอ ๆ ด้วย. เพื่อจะรู้เท่าทันกลโกง และไม่เสียทีเหล่ามิจฉาชีพ เราจะต้องรู้ให้ได้ก่อนด้วยว่า รูปแบบสุ่มเสี่ยงที่มักเกิดขึ้นเป็นอย่างไร และเราจะป้องกันตัวเองไม่ให้ถูกหลอกด้วยวิธีไหนจึงจะได้ผล อยากรู้.. ต้องอ่านที่นี่แล้วล่ะค่ะ กับ 4 รูปแบบกลโกงที่เราต้องเตรียมตัวให้รู้เท่าทัน!

แก๊งค์คอลเซ็นเตอร์

แก๊งค์คอลเซ็นเตอร์

จากข่าวการทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ที่หลอกล่อเหยื่อให้หลงเชื่อ เราจึงต้องมีสติและรู้ให้เท่าทันกลโกลเหล่านี้ค่ะ หัวข้อไหนที่ถูกใช้กันบ่อย ทั้งจากระบบอัตโนมัตทางโทรศัพท์ หรือการติดต่อจากบุคคลจริง เช่น

คุณคือผู้โชคดีได้รับรางวัลใหญ่

“คุณคือผู้โชคดีได้รับรางวัลใหญ่” แต่ต้องแลกด้วยการโอนเงินจำนวนเล็กน้อยเพื่อได้รับเงินจำนวนที่มากกว่า

เช็คเงินคืนภาษีได้ที่นี่

“เช็คเงินคืนภาษีได้ที่นี่” แต่เราต้องไปทำธุรกรรมหน้าตู้ ATM หรือทำรายการยืนยันตัวตน และหลอกให้โอนเงินแก่มิจฉาชีพ

มีการตรวจสอบคดีฟอกเงิน หรือคดีความที่พัวพันยาเสพติด

“มีการตรวจสอบคดีฟอกเงิน หรือคดีความที่พัวพันยาเสพติด” แต่กลับหลอกให้เหยื่อที่มีเงินจำนวนมากในบัญชี ต้องโอนเงินมาให้ตรวจสอบ

หรือลักษณะอื่นๆ ที่มักแอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากรัฐ หรือสถานบันที่ดูมีชื่อเสียงโทรมา ถือว่าเข้าข่ายเลยไม่น้อยค่ะ

แม้แต่การใช้ชีวิตของเราก็อาจยังเปิดช่องให้เหล่าแก๊งคอลเซ็นเตอร์แอบอ้างด้วย เช่น บัญชีของท่านถูกอายัด , การติดหนี้บัตรเครดิต , สอบถามข้อมูลส่วนตัวเพื่อการทำธุรกรรมต่างๆ , การแจ้งว่ามีเงินโอนเข้ามาผิดในบัญชี หรือเราได้รับการอนุมัติเงินกู้แล้ว  ข้ออ้างเหล่านี้ไม่เป็นความจริงค่ะ เพราะทางธนาคารไม่มีนโยบายในการติดต่อสอบถามข้อมูลส่วนตัว หรือขอรหัสใดๆ กับลูกค้าผ่านช่องทางการสื่อสารแบบนี้ ดังนั้น หากมีการติดต่อเข้ามาลักษณะนี้ เราก็รู้ได้เลยว่า จะต้องเพิ่มความระมัดระวังในสายพูดคุยซะแล้ว ทางที่ดีจะต้องไม่ให้ข้อมูลใดๆ และรีบติดต่อไปยังหน่วยงานหรือสถานบันการเงินที่ถูกกล่างอ้างให้เร็วที่สุด. หากพลาดไปแล้ว ก็ต้องรวบรวมหลักฐาน เอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อระงับการโอนเงินดังกล่าว และแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือ DSI  เพื่อเป็นเบาะแส และดำเนินการต่อไปค่ะ

ธนาคารออนไลน์

ธนาคารออนไลน์

Internet Banking หรือโมบายแอพพลิเคชั่น ที่ได้เพิ่มความสะดวกสบายแก่ลูกค้าของธนาคารอย่างเรา เทคโนโลยีเหล่านี้มีประโยชน์แน่ๆ  แต่ก็มีโทษด้วยเมื่อถูกเหล่ามิจฉาชีพเอาไปใช้. ใครที่มักใช้บริการธนาคารออนไลน์ หรือ ไอแบงค์กิ้งของสถาบันการเงินต่างๆอยู่ ก็ต้องไม่เปิดช่องโหว่ที่จะสร้างความเสียหายตามมา ในการโอนเงิน การซื้อสินค้า และทำธุรกรรมใดๆ ค่ะ โดยเริ่มจาก ไม่เปิดเผยข้อมูลเพื่อการใช้พิสูนจ์ตัวตนใดๆ อย่างการภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน ใบขับขี่ หรือพาสปอร์ต ส่งต่อให้กับคนแปลกหน้า  การ Add Line หรือสนทนากับคนที่ไม่รู้จักซึ่งส่งหลักฐานปลอมมาว่าเป็นหมายศาล หมายจับคดีความ เพื่อสั่งให้เราดำเนินการตามที่พวกเขาต้องการ และหลงเชื่อทำธุรกรรมผ่านช่องทางต่างๆ  หรือ เปิดบัญชีใหม่/ทำบัตร ATM ใหม่  ตามคำขอของคนแปลกหน้า และส่งต่อรหัส OPT ใดๆ ที่ธนาคารแจ้งเรามาค่ะ

วิธีเบื้องต้นที่เราควรใส่ใจให้มากขึ้นคือ ไม่ลงข้อมูลในโซเชียลมีเดียต่างๆ ที่อาจถูกแอบอ้างใช้ทำธุรกรรมการเงิน , เปลี่ยน Password หรือรหัสผ่านบ้างสำหรับบัญชีอีเมล์หรือโซเชียลที่ใช้อยู่ , ไม่โลภในการทำธุรกรรมใด ที่ให้ผลตอบแทนสูงเกินจริง และการติดตามข่าวสารกลโกงอยู่สม่ำเสมอ ตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนการโอนเงินทุกครั้งให้กับร้านค้าออนไลน์หรือบัญชีทางการต่างๆ. หากพบว่าไม่ชอบมาพากล เราก็สามารถติดต่อหน่วยงานที่ดูแลโดยตรงได้ และอย่าลืม ตั้งค่าการแจ้งเตือนที่แทบจะทุกสถาบันการเงินมีไว้บริการ SMS / E-mail เพื่อเราจะได้รู้ทุกความเคลื่อนไหวการใช้จ่ายในแบบเรียลไทม์ หากมีธุรกรรมที่น่าสงสัย หรือถูกขโมยข้อมูล จะได้รีบแจ้งอายัดก่อนที่จะสายเกินไปค่ะ

เพจ Facebook ปลอม

เพจ Facebook ปลอม

ในยุคดิจิตอล องค์กรและแบรนด์สินค้า ก็มักจะมี Facebook Page หรือ Account ออนไลน์ เพื่อเพิ่มความรวดเร็วและทันสมัยในการใช้งานแทบจะทุกที่ค่ะ ซึ่งเหล่ามิจฉาชีพก็ไม่วายปลอมแปลงบัญชีโซเชียลมีเดียขององค์กรเหล่านี้ด้วย มีทั้งการคัดลอกเนื้อหา หรือ VDO เพื่อสวมรอยและหลอกลวงให้หลงเชื่อ . เราจึงต้องรู้จักสังเกตในเรื่อง เพจจริง VS เพจปลอม เช่น เพจจริงจะต้องมี Verified Badge หรือสัญลักษณ์ที่มีวงกลม/วงแฉกมีเครื่องหมายถูกต่อท้ายชื่อ  , ชื่อเพจมีการสะกดอย่างถูกต้อง ไม่เว้นแม้แต่เครื่องหมายเล็กๆ อย่าง ( . ) หรือ ( , )  , จำนวนของผู้ติดตาม , จำนวน Like/Comment และจำนวนเนื้อหาที่โพสต์ค่ะ ถ้าเจอเพจไหนที่เปิดเพียงไม่นาน มียอดผู้ติดตามแค่หลักสิบหลักร้อย โพสต์รัวๆ แต่แทบไม่มีจำนวน Like หรือ Comment เลย อันนี้ก็ควรถอยออกมาก่อนนะคะ อย่าไปแชท/แชร์ หรือติดต่อสั่งสินค้า ไม่อย่างนั้นเจอเพจของมิจฉาชีพ จะทำให้เราศูนย์เงินเปล่าเอาได้ค่ะ

โดยเฉพาะเพจเกี่ยวกับสถาบันการเงิน และธนาคารพาณิชย์ เราต้องจำไว้เลยว่า ในช่อง Inbox หรือ Chat Bot ที่เป็นฝ่ายบริการและคำปรึกษากับลูกค้านั้น จะไม่มีการถามข้อมูลที่เป็นความลับของเรา เช่น รหัสบัตร ATM , PIN บัตรเครดิต หรือรหัสใดๆ โดยเด็ดขาด อันนี้ก็เป็นข้อสังเกตุที่ต้องระมัดระวังกันด้วย

กลโกงการลงทุน

กลโกงการลงทุน

นอกจากความเสี่ยงเรื่องผลตอบแทนหรือกำไรขาดทุนแล้ว การฉ้อโกง หรือหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ ของมิจฉาชีพก็ทำให้สูญเสียเงินทองกันไปแล้วนักต่อนัก เราจึงต้องตรวจสอบเล่ห์กลโกงที่แฝงอยู่ดีๆค่ะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การแชร์ลูกโซ่ ที่ชักชวนนักลงทุนให้มาระดมทุนโดยจูงใจด้วยผลตอบแทนที่สูงลิ่ว และอ้างว่าจะนำเงินไปลงทุนในธุรกิจที่มีกำไรดีมาก แต่กลับเลื่อนการจ่ายผลตอบแทนออกไปเรื่อยๆ หรือการการันตีว่าเป็นการลงทุนที่ไร้ความเสี่ยงใดๆ นี่กลับเป็นการขายฝันชัดๆ และยังอาจส่งเสริมให้เราไปชวนคนอื่นเข้ามาร่วมลงทุนอีกต่างหาก น่ากลัวไม่เบาเลย

หากการลงทุนตัวไหน มีแหล่งเงินทุนไม่ชัดเจน ตรวจสอบได้ยาก บอกว่ากำลังจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อยู่ แต่ไม่งบการเงินใดๆมาแสดง และอ้างชื่อกลุ่มบุคคลที่เคยลงทุนมาแล้ว เราก็น่าจะฟันธงได้เลยว่าชักจะยังไงๆ อยู่ หรือแม้แต่การชักชวนให้ลงทุนในตราสารการเงินที่ไม่มีใบอนุญาติ อย่างหุ้นต่างประเทศ อนุพันธ์  การเกร็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนต่างประเทศหรือ Forex ที่ไม่ได้มีสำนักงานกิจการการคลังรับรอง แต่กระจายข่าวสารไปตามโซเชี่ยลมีเดียต่างๆ  หลงเข้าไปก็อาจเสียทรัพย์แบบไม่ได้คืน และติดตามตัวการบนโลกออนไลน์ได้ยากด้วย. การติดตามข่าวสารการลงทุนให้ดีก่อนการลงทุนจึงจำเป็นค่ะ มีสติไม่ไปหลงเชื่ออะไรง่ายๆ และติดต่อขอข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อความชัวร์อย่างสายด่วน กลต. โทร 1207 หรือเสิร์ชหาชื่อกิจการได้ที่ เว็บไซต์ทางการของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ >> (https://market.sec.or.th/LicenseCheck/Search) ค่ะ

หนีไป...ไม่ยื่นเงินให้กับพวกหลอกลวงต้มตุ๋น ด้วยการเตรียมตัวให้รู้เท่าทัน!

หนีไป...ไม่ยื่นเงินให้กับพวกหลอกลวงต้มตุ๋น ด้วยการเตรียมตัวให้รู้เท่าทัน!

ดังนั้น เพื่อเราจะป้องการกลโกงที่แฝงมากับโลกออนไลน์ และการหลอกลวงจากมิจฉาชีพ เราต้องรู้เท่าทันอันตรายของการโจรกรรมทางการเงินให้มาก และเพิ่มความรอบคอบในการให้ชีวิตค่ะ เพราะความเสียหายที่ตามมักจะเป็นเรื่องใหญ่ และใช้เวลาจัดการปัญหาที่ยาวนาน เราจึงต้องระมัดระวังในการให้ข้อมูลทุกอย่างเสมอ ตรึกตรองให้ได้ว่า ข้อมูลที่ถูกกล่าวอ้างมามีมูลความจริงรึป่าว ไม่ทำรายการใดๆหรือโอนเงินตามสายสนทนา. ยิ่งการลงทุนไหน ที่ไม่ได้มีแหล่งเงินทุนชัดเจน ตรวจสอบได้ยาก แต่กระจายข่าวสารไปตามโซเชี่ยลมีเดียต่างๆ อันตรายแน่ๆ จึงควรสอบสอบให้แน่ใจในทุกสถาบัน และเพจที่เราติดตาม. หวังว่า 4 รูปแบบสุ่มเสี่ยงที่พูดกันไป จะช่วยเราได้บ้างนะคะ และท้ายที่สุด การช่วยกันสังเกตุสังกาคนรอบข้างให้ดี อย่างเพื่อนๆ ญาติๆ หรือผู้สูงอายุในครอบครัว ที่ถูกหลอกง่าย ก็จะช่วยเราต้านภัยเงียบของมิจจฉาชีพได้ค่ะ ช่วยๆกันไป!