ปัญหาครอบครัวที่คลาสสิคมาก ๆ ที่ทุกบ้านต้องเคยเจอ นั่นคือ ความไม่ลงรอยกันระหว่างพ่อแม่กับลูกครับ ไม่ว่าช่วงอายุใดก็ตาม จะต้องมีสักครั้งหรือหลายครั้งที่ความเห็นไม่ตรงกัน ทั้งเรื่องการเลือกที่เรียน ออกไปสังสรรค์กับเพื่อน อยากไปท่องโลก และอื่น ๆ สุดจะหามาทะเลาะกันได้ พ่อแม่ก็มักจะมองจากมุมผู้มีประสบการณ์ชีวิตมากกว่า และอยากสอนลูกให้ได้ดี ฝ่ายลูกก็คิดอยากจะทำอะไรด้วยตัวเองและเรียนรู้ด้วยตัวเองบ้าง แต่ประสบการณ์ก็ยังน้อย เขาว่ากันว่า การเลี้ยงลูกเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและไม่มีสูตรสำเร็จ และแต่ละบ้านต้องปรับการเลี้ยงลูกให้เหมาะกับสถานการณ์ของตัวเอง

แต่การสอนลูกเรื่องเงิน ถือเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่ควรปลูกฝังให้ลูกตั้งแต่วัยเด็ก เพื่อสร้างนิสัยทางการเงินที่ดีสำหรับอนาคต คุณพ่อคุณแม่ บางท่านอาจจะสอนเรื่องเงินให้กับลูกกันอยู่แล้วหรือบางท่านอาจจะยังไม่ได้สอนลูกในเรื่องเงิน ในฐานะคุณพ่อคุณแม่ ก็ได้เห็นว่าเรื่องเงินเป็นสิ่งสำคัญ ที่ควรสอนลูกๆ ซึ่งเรียนอยู่ระดับชั้นประถมศึกษา จากการที่คุณพ่อคุณแม่ได้สอนและแนะนำ ทุกวันนี้ลูกๆ ให้รู้จักการใช้เงิน ประหยัด รู้จักการเก็บออม มีเงินเก็บเป็นของตัวเอง มีวินัยทางการเงิน รวมถึงมีพื้นฐานความรู้เรื่องเงิน จะเป็นการดีมากแต่พ่อแม่บางคนก็สอนไปผิดทาง

วันนี้จะยกตัวอย่างการเลี้ยงลูกที่ดูเหมือนจะดี แต่กลับเป็นการสร้างนิสัยที่ไม่ดีให้กับลูกของเรา โดยเฉพาะในเรื่องการเงิน เช่น ให้ค่าขนมต่อวันมากเกินไป / ไม่มีการกำหนดค่าขนมตายตัว /ไม่เคยสอนลูกให้ออมเงิน / ใช้เงินเป็นข้อต่อรองเรื่องการเรียน ลองไปอ่านกันเลยค่ะ

ให้ค่าขนมต่อวันมากเกินไป

ให้ค่าขนมต่อวันมากเกินไป

แน่นอนว่าพ่อแม่ทุกคนย่อมอยากหาสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูก ไม่ว่าจะต้องอดทนทำงานหนักเพียงใด แต่หากเป็นเรื่องของวัตถุแล้ว บางทีเพื่อน ๆ อาจจะลองคิดดูดี ๆ ก่อนจะซื้อรองเท้าคู่สวยราคาแพงลิบให้ลูกใส่นะคะ เพราะบางทีลูกเราอาจจะไม่ได้เข้าใจเรื่องคุณภาพของรองเท้า แต่กลับมองว่าของแพงและแบรนด์เนมคือสิ่งที่ดีกว่าของธรรมดา โดยเฉพาะเด็กที่ยังแยกแยะไม่ค่อยได้ ผู้เขียนคิดว่า เราควรจะสอนลูกให้ตัดสินใจซื้ออะไรจากหลาย ๆ ทางเลือก โดยดูจากคุณภาพของสินค้า มากกว่าแค่แบรนด์และราคานะคะ การเลี้ยงลูกที่ดีคือการสอนลูกให้หาของที่ดีมีคุณภาพและคุ้มราคาที่สุด ไม่ใช่แค่ของที่ราคาแพงที่สุดในตลาด รวมถึงให้เขาได้มีโอกาสเลือกเอง ตัดสินใจสิ่งที่เหมาะกับเขาเอง มากกว่าแค่ให้พ่อแม่ซื้อให้อย่างเดียวด้วยค่ะ

ค่าใช้จ่ายอย่างหนึ่งที่สำคัญสำหรับลูก ๆ ก็คือ ค่าขนม ค่าอาหาร เวลาไปโรงเรียนหรือไปมหาวิทยาลัย (ในกรณีที่ลูกยังไม่ได้หาเงินเอง) แน่นอนว่า การปล่อยให้ลูกอด ๆ อยาก ๆ ให้เงินค่าขนมลูกไปแบบไม่เท่าไร จนไม่สามารถซื้ออาหาร ซื้อขนมรับประทานได้ คงจะไม่ใช่เรื่องดีสักเท่าไร แต่การให้เงินค่าขนมลูกมากเกินไปก็ไม่ใช่เรื่องดีเช่นกัน เนื่องจากจะทำให้ลูกรู้จักการใช้เงินไวเกินไป จนกลายเป็นเด็กเอาแต่ใจอยากได้อะไรก็ต้องได้ เพราะฉะนั้น การให้ค่าขนมจึงต้องเป็นไปแบบทางสายกลาง ไม่มากเกินไปและไม่น้อยเกินไปดีกว่าค่ะ

ไม่มีการกำหนดค่าขนมตายตัว

ไม่มีการกำหนดค่าขนมตายตัว

ควรจะมีการกำหนดเงินที่แน่นอที่จะให้ลูกต่อวัน หรือต่อเดือนไปเลยดีกว่า เพราะจำนวนเงินที่เหมาะสมสำหรับการให้เงินค่าขนมให้ลูกในแต่ละวัย ทั้งนี้ ก่อนที่พ่อแม่จะตัดสินใจให้ค่าขนมลูกด้วยเงินจำนวนเท่าใด ควรจะมีการคำนวณค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ประกอบด้วย เช่น ค่าเทอม ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในบ้าน อย่าคิดแต่ว่าจะให้เงินค่าขนมลูกทีละมาก ๆ เพียงอย่างเดียว เพราะนอกจากจะทำให้เงินที่ควรนำมาใช้สำหรับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ลดลงไปแล้ว ยังเป็นการบ่มเพาะพฤติกรรมที่ไม่ดีให้กับลูกอีกด้วย มีหลายกรณีที่พ่อแม่เอาแต่ประเคนค่าขนมให้ลูกทีละมาก ๆ แล้วปิดไม่ให้ลูกรู้ ว่าค่าใช้จ่ายภายในบ้านมีมากเพียงใด สุดท้ายลูกกลายมาเป็นคนเห็นแก่ตัว ใช้เงินมือเติบ ยอมรับความจริงไม่ได้ เป็นต้น เพราะฉะนั้น พ่อแม่ควรระวังในเรื่องของการให้ค่าขนมลูกเอาไว้ให้มาก ๆ ด้วย

ไม่เคยสอนลูกให้ออมเงิน

ไม่เคยสอนลูกให้ออมเงิน

พ่อแม่บางคนอาจจะหวังดี อยากจะสอนลูกเรื่องการเก็บเงินไว้ใช้สำหรับเรื่องจำเป็นในอนาคต แต่บางทีก็ลามไปถึงตอนเขาเป็นผู้ใหญ่แล้ว โดยจัดการจ่ายบิลต่าง ๆ ให้เพราะกลัวลูกจ่ายไม่ทันกำหนดแล้วจะเป็นหนี้ และช่วยลูกจัดการเก็บเงินออม กว่าจะรู้ตัวอีกที ลูก ๆ ก็ติดนิสัยใช้เงินไปวัน ๆ ตามที่มีในบัญชี โดยไม่ได้จัดการอะไรเองเลย แม้ว่าวิธีนี้จะทำให้มั่นใจว่าลูกจะมีเงินเก็บแน่ ๆ แต่ก็จะไม่ช่วยสอนลูกให้จัดการเงินของตัวเองเลยนะค่ะ

การเลี้ยงลูกที่ดีน่าจะปล่อยให้เขาได้จัดการเงินของตัวเอง และฝึกวินัยในการใช้เงินให้เป็น เพราะต่อไปถ้าเขามีครอบครัวแล้วบริหารเงินไม่เป็นนี่ น่าจะเป็นเรื่องใหญ่อยู่นะคะ ถึงอย่างไรก็แล้วแต่ การเลี้ยงลูก และการสอนเรื่องการออมเงินให้กับเด็ก ถือเป็นศลิปะชั้นสูง ที่เราต้องเรียนรู้ และให้เวลาอย่างต่อเนื่อง

ใช้เงินเป็นข้อต่อรองเรื่องการเรียน

ใช้เงินเป็นข้อต่อรองเรื่องการเรียน

หลายบ้านที่มีลูก ๆ อยู่ในวัยเรียนก็น่าจะเจอปัญหาโลกแตกกับการสรรหาสารพัดวิธีเคี่ยวเข็ญให้น้อง ๆ ตั้งใจเรียน จะได้สอบได้คะแนนดี ๆ เข้าโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยดี ๆ ต่อไปได้ ซึ่งถ้าการเชียร์ บ่น ขู่บังคับไม่ได้ผลแล้ว หลาย ๆ บ้านก็ใช้วิธีการสัญญาว่าจะให้รางวัลหรือเงินสดทุกครั้งที่ได้คะแนนดี แล้วแต่เงื่อนไขของแต่ละครอบครัว ซึ่งจริง ๆ ก็ไม่ผิด เพราะในชีวิตจริง เราทำดีก็มักจะได้รางวัลตอบแทนกันอยู่แล้ว เพียงแต่ว่า การเลี้ยงลูกแบบนี้อาจจะทำให้น้อง ๆ เสพติดการได้รางวัล หรือทำอะไรก็หวังผลตอบแทนเสมอ โดยไม่สามารถผลักดันให้ตัวเองทำอะไรสำเร็จได้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นทัศนคติที่ค่อนข้างอันตรายเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่นะค่ะ

เนื่องจาก หากเราต้องการประสบความสำเร็จ เราต้องสร้างแรงบันดาลใจจากตัวเราเองและผลักดันตัวเองให้ไปถึงเป้าหมาย รวมถึงอาจต้องอดทนไม่ได้รับผลตอบแทนเท่าที่ควรบ้างเพื่อให้เราได้ดีกว่าในระยะยาว การทำงานโดยโฟกัสที่ค่าตอบแทนน้อยลงน่าจะทำให้เราทำงานได้ดีขึ้น และใช้ชีวิตอย่างมีความสุขมากขึ้นครับ ถือเป็นการสอนลูกให้ไม่ยึดติดกับวัตถุนอกกายได้ดีทีเดียว

ค่านิยมหนึ่งของเมืองไทยที่ต่างจากฝรั่งคือ เราไม่ค่อยให้เด็กวัยเรียนไปทำงานพาร์ทไทม์หรือฝึกงานกันอย่างแพร่หลาย เพราะหลายครอบครัวไม่เห็นความจำเป็นของการสละเวลาดูหนังสือไปทำงาน พ่อแม่หลายคนก็อยากให้ลูกได้เรียนเต็มที่ ไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องค่าใช้จ่าย เพราะพ่อแม่จะหาให้เอง แต่ที่จริงแล้ว การเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ลิ้มรสชีวิตคนทำงานจะทำให้พวกเขาได้เห็นภาพชีวิตการทำงานอย่างจริงจัง ฝึกจัดการชีวิตตัวเอง แบ่งเวลา และรู้จักคุณค่าของเงินนะครับ นอกจากนี้ ลูก ๆ ยังจะได้เข้าใจตัวเองมากขึ้นว่าชอบงานแบบไหน อยากเรียนอะไร เป็นการเลี้ยงลูกที่ทำให้ลูกได้รู้จักตัวเองทางหนึ่งด้วย

สรุป

สรุป

อ่านแล้วพ่อแม่คนไหนเข้าข่ายการเลี้ยงลูกแบบนี้ ก็ลองปรับดูนะคะ อย่างที่บอกไปแล้วว่าการเลี้ยงลูกไม่มีสูตรสำเร็จ เข้าใจว่าแต่ละบ้านก็มีวิธีสอนลูกของตัวเอง ยังไงก็ขอให้คิดถึงระยะยาวไว้ก่อน และสอนลูกให้ดูแลตัวเองได้โดยมีความรับผิดชอบก็น่าจะพอแล้วค่ะ