‘ภาษี’ ถือว่าอยู่คู่สังคมไทยมาช้านาน ตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ก็มีการอ้างเสมอถึง จำกอบ หรือจังกอบ ให้เด็กๆใด้เรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์กันในชั้นเรียน แต่พอเราเติบโตขึ้นมา ก็ได้ยินเสมอว่า การจ่ายภาษีเป็นหน้าที่ของประชาชนคนไทย แล้วในปัจจุบันนี้ล่ะ เมื่อเราได้เข้าสู่วงการธุรกิจ หรือเป็นคนนึงที่ได้เริ่มต้นธุรกิจมาอย่างเต็มตัว ก็คงอยากรู้ว่ามีเรื่องอะไรเกี่ยวกับภาษีอีกบ้างที่เราควรแยกประเภท และทำความเข้าใจกับมัน เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจได้ในสังคม  แต่ถ้าพูดกันตรงๆ เรื่องภาษี มักยังเป็นเรื่องหลักๆ ที่หลายคนมานั่งปวดหัว โดยเฉพาะผู้ประกอบการยุคใหม่แบบเรานี่ล่ะ เพราะการเป็นผู้เริ่มต้นในการทำธุรกิจนั้น ไม่ใช่แค่การมีเงินจะทำให้เราประสบความสำเร็จในระยะยาว แต่มันอยู่ที่ความรู้ที่ตั้งอยู่บนความถูกต้อง และความเข้าใจในเรื่องของบัญชีและภาษีอย่างดีด้วย มีเรื่องไหนมั๊ยที่ต้องรู้ลึกมากกว่าเดิม มาทำความเข้าใจไปพร้อมๆกันเลย ถึง ภาษี 6 ประเภท ที่ผู้เริ่มต้นธุรกิจอย่างเราต้องตั้งตัวเพื่อรับมือกับมันดีๆ เพื่อดำเนินต่อไปได้อย่างถูกต้องทางกฎหมายด้วย ไปดูกันเลย!

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เป็นภาษีในลักษณะที่จัดเก็บกับบุคคลทั่วไป ตามรายได้ที่เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โดยมักจะมีการจัดเก็บเป็นรายปี และผู้จ่ายมีหน้าที่นำหลักฐานไปแสดงรายการของตนเองทุกกำหนดภายในเดือนมกราคม ถึงมีนาคม ของปีถัดไป แต่บางกรณีก็ต้องเป็นการเสียภาษีตอนครึ่งปี สำหรับรายได้ที่เกิดในช่วยครึ่งปีแรก หรืออาจมีการจ่ายแบบหักภาษี ณ ที่จ่ายร่วมด้วย เพื่อให้มีการทยอยชำระได้แต่สามารถขอคืนตามปกติเช่นกันในกรณี เลี้ยงดูบิดามารดา , บริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา , อุปการะคนพิการและทุพลภาพ ไปจนถึงเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญด้วย ที่ควรศึกษาเพิ่มเติม

ภาษีประเภทนี้ เป็นส่วนที่กฎหมายกำหนดให้เรียกเก็บจากนิติบุคคลในการจ่ายภาษี ปกติแล้ว จะเป็นกลุ่มคนที่มีการจดทะเบียนธุรกิจในรูปแบบบริษัท ห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนแบบนิติบุคคลและไม่ได้จด วิสหกิจชุมชน และรวมถึงผู้เริ่มต้นธุรกิจอย่างเราด้วยในอนาคต ถ้าอยากขยับขยายกิจการให้ใหญ่โต โดยแบบแสดงภาษีเงินได้นั้น จะเป็นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 50 เพื่อตัดรอบบัญชีที่จะต้องยื่นใน 150 วัน เมื่อมีการปิดระบบบัญชีในบริษัท และอีกแบบคือ ภ.ง.ด. 51 ที่จะต้องยื่นมาในระยะเวลา 2 เดือน หลังรอบบัญชีภาษีครึ่งปีด้วย. โดยภาษีแบบนี้ จะมีการเก็บเมื่อกิจการของเรามีอัตราก้าวหน้า ตั้งแต่ 5-35 % ตามรอบปฎิทิน และผู้ที่มีหน้าที่ยื่นแบบนี้ต้องมีรายได้ถึงเกณฑ์ ไม่เกิน 60,000 บาทต่อปี โดยยื่นในวันที่ 31 มีนาคมปีถัดไปเสมอ

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ตามกฎหมายภาษีอากร ประมวลรัษฎากร เมื่อเราทำธุรกิจธรรมดา ทั้งแบบบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน ก็จะต้องจ่ายภาษีในส่วนนี้ รวมถึงนิติบุคคลอื่นๆ แม้ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายเพิ่งและพาณิชย์ก็ตาม หรือบริษัทจำกัด และบริษัทจำกัด มหาชน. ภาษีแบบนี้จะมีการจัดเก็บในอัตราคงที่เสมอ ปัจจุบันมีกำหนดอยู่ที่ 20 % และสามารถให้มีการขอทำการลดหย่อนสำหรับผู้ทำธุรกิจ SMEs และรอบบัญชีธุรกิจคือ 1 ปี โดยผู้ที่ต้องทำการยื่นภาษีประเภทนี้มักเป็นนิติบุคคลที่ทำธุรกิจประเภทบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และมีระยะเวลาในการยื่น 150 วันตั้งแต่สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี เพื่อคำนวนกำไรสุทธิจากกิจการของตนเอง แล้วหักตามรายจ่ายที่ระบุในเงื่อนไข มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี โดยมีการคำนวนภาษีตาม ยอดรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย , เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศ และการจำหน่ายกำไรไปนอกประเทศ เข้ามาเกี่ยวข้องเพิ่มเติม

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ภาษีประเภทนี้ แค่เขียนก็ดูจะอ่านยาก หรือเหมือนภาษากฎหมายแล้ว แต่จริงๆแล้ว เข้าใจได้ไม่ยาก เพราะมันคือภาษีที่จะ ‘ถูกหักไว้ล่วงหน้า’ และนับเป็นเครดิตด้านภาษีสำหรับผู้ถูกหักด้วย และมีหลักฐานการเงินที่รับรองด้วย หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้คืนมา ส่วนบุคคลที่ทำหน้าที่ในการหักภาษี ก็คือ ผู้ที่ทำการจ่ายเงิน และผู้ถูกหักภาษี ก็คือ ผู้รับเงิน โดยอาจนำส่งด้วยแบบ ภ.ง.ด. 3 เมื่อจ่ายกับบุคคลธรรมดา และแบบ ๓.ง.ด. 53 เมื่อหักกับนิติบุคคล ส่วนผู้เริ่มต้นธุรกิจอย่างเรายังสามารถทำการยื่นขอคืนภาษีในประเภทนี้ได้อีกด้วย โดยที่กฎหมายจะกำหนดว่า ถ้ากิจการของเราหรือคู่ค้า ได้ซื้อของ เราจะหักภาษีไว้เมื่อมีการจ่ายเงินได้ตามแต่ละประเภท และอ้างอิงจากอัตราภาษีที่มีการกำหนดไว้ด้วย

ภาษีแบบนี้ เราน่าจะทำความคุ้นเคยเพิ่มเติม เพราะมีหน้าที่ของผู้ประกอบการสำหรับจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการจากเรา , ออกใบกำกับภาษี อาจในรูปแบบกระดาษ หรืออิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ , จัดทำรายงาน ภาษีซื้อและภาษีขาย แล้วต้องทำการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มแก่กรมสรรพากรอีกด้วย

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT ภาษีประเภทนี้เราน่าจะเคยได้ยินกันบ่อยๆ หรือเรียกได้ว่าใกล้ตัวมาก เพราะทุกครั้งที่เราซื้อสินค้า ไม่ว่าจะของกินหรือของใช้ ก็จะต้องจ่ายภาษีประเภทนี้ออกไปแบบอัตโนมัติเลยด้วย โดยมีอัตราที่ใช้ 7 %  ทั้งภาษีซื้อและภาษีขาย แต่สำหรับผู้ประกอบการลักษณะเรานั้น ภาษีนี้ จะเก็บจากมูลค่าในส่วนที่เพิ่มขึ้นมาจากคนทำธุรกิจ หรือเมื่อให้บริการต่างๆ โดยผู้มีหน้าที่หลักในการเสียภาษีส่วนนี้ ยังรวมถึง ผู้ประกอบการทุกคน ผู้นำเข้าสินค้าเพื่อการค้า การขายปลีก  ผู้ส่งออก ผู้ผลิต และผู้ให้บริการด้วยเช่นกัน และรายได้ที่กำหนดต่อปีคือ ตั้งแต่ 1.8 ล้านบาทหรือมากกว่านั้น จะต้องยื่นแบบ ภ.พ. 30 หากเป็นผู้ประกอบการในไทย และ ภ.พ. 36 กรณีเป็นเซิร์ฟเวอร์หรือซอฟท์แวร์ในต่างประเทศ ส่งในทุกๆ วันที่ 15 ของเดือนถัดไปเสมอ และอยู่ในข้อกำหนดไม่ว่าจะมีการจดทะเบียนแบบนิติบุคคล หรือแบบบุคคลธรรมดาด้วย

อากรแสตมป์

อากรแสตมป์

ตามประมวลรัษฎกรจะอ้างถึง ‘ตราสาร’ ก็คือ เอกสารที่เราจะต้องเสียอากรแสตมป์ ตามบัญชีอัตราอากรในส่วนภาษีประเภทนี้ แม้หลายคนมองว่าดูน้อย เหมือนเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่มาก แต่จริงๆ แล้ว ตามประมวลรัษฎากร ก็ถือเป็นภาษีประเภทนึงที่ยกเว้นไม่ได้ และต้องทำการเรียกเก็บ ระหว่างกันใน 28 ลักษณะ เช่น การเช่าที่ การเช่าซื้อ หรือกู้ยืมเงินตามบัญชีอากรแสตมป์ โดยใช้การขีดฆ่าเพื่อแสดงไว้ หรือลงลายมือชื่อ จะเป็นภาษีแบบที่มีการจัดเก็บโดยดวงแสตมป์ที่ใช้ในเอกสารราชการ ปิดบนหนังสือสัญญา หรือเอกสารต่างๆ แล้วหน่อยงานของกรมสรรพกากรก็จะเข้ามารับผิดชอบ และเอกสารที่จำเป็นเกี่ยวข้องอาจรวมถึงเรื่อง การเช่าที่ดิน การว่าจ้างทำสิ่งของ ใบมอบอำนาจ หรือหนังสือเช่าทรัพย์สิน เป็นต้น และมักจะมีการกำหนดแนบท้ายสัญญาด้วยแบบฟอร์มตามกฎหมาย เพื่อให้สัญญานั้นๆสมบูรณ์

ภาษีธุรกิจเฉพาะและอื่นๆ

ภาษีธุรกิจเฉพาะและอื่นๆ

เพราะการทำธุรกิจแต่ละอย่างก็มีความแตกต่างกันอยู่บ้าง แม้จะมีภาษีแบบที่เก็บจากธุรกิจที่ขายสินค้า หรือกับธุรกิจด้านการบริการ มองผ่านๆ อาจดูเหมือนเสียภาษีลักษณะเดียวกัน แต่จริงๆ กลับมีรายละเอียดที่แตกต่างกันมากอยู่ด้วย มีภาษีที่ต้องจ่ายด้วยกันอาจถึง 4 ประเภท และมีภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับธุรกิจประเภทอสังหาริมทรัพย์ด้วยเช่นกัน สำหรับภาษีแบบนี้

หลักในการเสียภาษีแบบธุรกิจเฉพาะ จะอยู่ในส่วนของกิจการ หรือบริการเกี่ยวกับ การธนาคาร ทั้งแบบธนาคารพาณิชย์หรือกฎหมายเฉพาะ  ธุรกิจประภทเงินทุน หลักทรัพย์ ฟองซิเอร์ การประกันชีวิต ตลอดจน โรงรับจำนำ หรือการดำเนินธุรกิจแบบธนาคารพาณิชย์อย่าง การกู้ยืมค้ำประกัน การแลกเปลี่ยนเงินตรา ตั๋วเงิน หรือธุรกิจสตาร์ทอัพแบบฟินเทค เป็นต้น แบบในการยื่นภาษีก็คือ ภ.ธ.40 ต้องเสียภาษีรวม 3.3% จากอัตราภาษีท้องถิ่นและยื่นภายใน 15 วันของเดือนถัดไปด้วย

ยังมีภาษีประเภทอื่นๆ ที่ควรทำความเข้าใจ อาจเป็นลักษณะของธุรกิจ เช่น ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ในอัตรา 12.5 % ต่อปี  , ภาษีจากการเก็บค่าเช่า หรือค่าบริการจากทรัพย์สิน , ภาษีป้ายขนาดใหญ่ตามตัวอักษรไซส์ต่างๆ และภาษาบนป้าย เริ่มต้นที่ 200 บาท แต่ก็มีป้ายที่ได้รับการยกเว้นภาษีที่ยื่นต่อสำนักงานเขตแล้ว ไปจนถึงภาษีสรรพสามิต กับธุรกิจฟุ่มเฟือยที่อาจให้โทษกับประชาชน เช่นยาสูบ สุรา เป็นต้น

ประเภทของภาษีที่คนทำธุรกิจชำระได้อย่างถูกต้อง ไม่ยากเกินเข้าใจ!

ประเภทของภาษีที่คนทำธุรกิจชำระได้อย่างถูกต้อง ไม่ยากเกินเข้าใจ!

เมื่อได้รู้มากขึ้น เกี่ยวกับรายละเอียดของภาษีแบบที่ไม่ยากเกินเราจะเข้าใจแล้ว ก็สรุปคำว่า “ภาษี” ที่เราคุ้นหูกันได้ไม่ยาก เพราะมันเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่จะต้องเสียภาษี และสำหรับคนทำธุรกิจอย่างเรา ยิ่งต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีที่เราจะต้องจ่ายมากขึ้น เพื่อทำอย่างถูกต้องและสบายใจนั่นเอง. เพราะภาษีไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นงานบริการ การค้าขายสินค้า หรืออุสหกรรมใด ๆ ก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำไปพัฒนาประเทศของเราไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ที่มาก็ถูกกำหนดไว้แล้วเพื่อความยุติธรรม และตรงกับโครงสร้างทางธุรกิจของเราด้วย

ดังภาษี 6 ประเภท ที่บทความของเราจำแนกออกมาให้ลองศึกษาดูกันนั้น จะเห็นว่า สำหรับภาษีที่กรมสรรพากรได้จัดเก็บจากเราที่เป็นเหมือนนิติบุคคลนั้น มีทั้งภาษีอื่นๆและแบบบุคคลธรรมดาที่ทำธุรกิจ ,ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องเสียกำไรสุทธิ ในอัตรา 20% , ภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ต้องเสีย VAT 7% จากภาษีซื้อและภาษีขาย , ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่หักภาษีเมื่อมีการนำส่งเงินจ่าย , ภาษีธุรกิจเฉพาะ แบบเสียในอัตรา 33% ของรายได้ก่อนหักรายจ่าย และอากรแสตมป์ที่ต้องเสียเมื่อทำตราสารต่างๆ  ทำให้เราแบ่งออกได้ง่ายมากขึ้น

ดังนั้น ภาษีที่เราจ่ายออกไป ก็มั่นใจได้ว่า จะมีผลเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจในประเทศของเราแน่นอน ถือว่าเป็นส่วนที่ช่วยกันสร้าง  และเป็นกองทุนเพื่อหมุนเวียนภายในประเทศ สู่การพัฒนาที่ดีกว่า และเจริญขึ้นตามยุคสมัยนี้ แต่ยังไงก็ตาม ภาษีทุกอย่างที่เราจ่ายไป ก็ใช่ว่าจะเสียไปเฉยๆ เพราะเราสามารถนำมาเพื่อขอสิทธิ์ลดหย่อนได้ หรือได้ในรูปแบบที่อำนวยความสะดวกประชาชนที่ทำธุรกิจด้วย เช่น บริการขนส่งมวลชน รถเมล์หรือรถไฟฟรี ย่อมลดรายจ่ายได้อีกถ้าเราศึกษาและอยู่ด้วยกันอย่างเข้าใจ แต่ถ้าใครยังไม่ค่อยแน่ใจในประเภทธุรกิจที่ตนทำอยู่ ก็สามารถติดต่อโดยตรงกับกรมสรรพากรได้ด้วยเพื่อความสบายใจ และทำให้ธุรกิจของเราเติบโตไปอีกไกลในอนาคตด้วยนั่นเอง