มีอีกหลายเรื่องเกี่ยวเรื่องเงินๆทองๆที่คุณต้องรับรู้เอาไว้เพราะเป็นเรื่องที่กฎหมายเรียกร้องให้ทำตามเรื่องหนึ่งที่บทความนี้อยากจะบอกให้คุณรู้ก็คือ เรื่องของธุรกรรมลักษณะเฉพาะ (กฎหมาย E – Payment) ธุรกรรมนี้เป็นธุรกรรมของสถาบันการเงิน หรือธนาคาร หรือภาคเอกชนที่มีการให้บริการการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ( M Pay / True Money ) ซึ่งบริการเหล่านี้ต้องมีหน้าที่รายงานความเคลื่อนไหวต่อกรมสรรพากรในเรื่องการเข้าออกของเงินในระบบซึ่งถ้าบริการนั้นมีเงินเข้าออกต่อปีมากกว่า 3,000 ครั้งขึ้นไปค่ะ หรือในกรณีที่มีเงินเข้า 400 ครั้งต่อปีแต่มีจำนวนเงินสูงถึง 2,000,000 บาทค่ะ จึงเรียกการบริการเหล่านี้ว่าธุรกรรมลักษณะเฉพาะซึ่งผู้ให้มีธุรกรรมแบบนี้สามารถเป็นได้ทั้งบุคคลธรรมดา และ นิติบุคคลค่ะและการรายงานธุรกรรมทางการเงินของธุรกรรมลักษณะเฉพาะนี้มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมาเพราะในสมัยนี้เริ่มีการให้บริการทางการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้นกรมสรรพากรจึงเห็นว่าต้องมีการตรวจสอบที่ชัดเจนเพื่อป้องกันปัญหาการทุจริตค่ะ เมื่ออ่านข้อมูลนี้คร่าวๆคุณคงคิดว่าก็ไม่เห็นจะเกี่ยวกับคุณในฐานะบุคคลธรรมดาที่ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการธุรกรรมลักษณะเฉพาะเท่าไหร่นัก แต่ที่จริงแล้วการที่คุณไม่ได้เป็นผู้ให้บริการธุรกรรมแบบนี้เป็นเป็นผู้ใช้บริการก็ควรรู้ข้อมูลเอาไว้นะคะเพื่อจะมั่นใจในบริการทางการเงินที่คุณใช้อยู่ว่าปลอดภัยอย่างไร?
อย่างที่บอกว่าเรื่องนี้ก็เกี่ยวข้องกับผู้ใช้บริการก็เพราะว่าคุณจะได้มั่นใจมากขึ้นกับการใช้บริการที่มีการตรวจสอบจากกรมสรรพากรอย่างชัดเจนแล้วยังช่วยให้การเงินที่คุณทำผ่านทางบริการอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆนั้นสามารถตรวจสอบได้เมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้นเพราะได้รับการดูแลจากกรมสรรพากรด้วยไม่ว่าเงินจะเข้าหรือออกจากระบบการเงินอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ซึ่งรายละเอียดคร่าวๆที่ธนาคาร หรือสถาบันการเงินต้องรายก็จะมีบอกอยู่ในบทความนี้ด้วยบทความนี้จะให้ข้อมูลเหล่านี้เกี่ยวกับธุรกรรมลักษณะเฉพาะค่ะ ( หน่วยงานที่มีหน้าที่ต้องรายงาน และ ขั้นตอนการรายงาน / ข้อมูลที่ต้องรายงาน / ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับธุรกรรมลักษณะเฉพาะ ) เพราะเรื่องนี้มีกฎหมายรับรองดังนั้นการรู้ข้อมูลจะช่วยให้ทำทุกอย่างอย่างถูกต้องตามกฎหมายได้ ดีกว่าคนที่ไม่รู้อะไรเลยค่ะ
หน่วยงานที่มีหน้าที่ต้องรายงาน และ ขั้นตอนการรายงาน
หน่วยงานที่มีหน้าที่ต้องรายงานข้อมูลของธุรกรรมลักษณะเฉพาะต่อกรมสรรพากรนั้นคือหน่วยงานต่อไปนี้
- สถาบันการเงินทั้งของภาครัฐ และ ภาคเอกชน (ธนาคาร)
- บุคคลที่ให้บริการการเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ( M Pay / True Money / Rabbit Line Pay ) ขั้นตอนของการรายงานก็มีดังนี้ คือ สถาบันการเงิน ธนาคาร หรือผู้ที่ให้บริการการเงินอิเล็กทรอนิกส์ต้องเก็บข้อมูลการทำธุรกรรมลักษณะเฉพาะทั้งหมดตลอดทั้งปีเพื่อนำไปแจ้ง หรือ รายงานต่อกรมสรรพากรในเวลากำหนด คือ ในวันที่ 31 มีนาคม ของทุกๆปี ซึ่งกฎหมายนี้พึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อปี 2562 ดังนั้นธุรกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นใน ปี 2562 จะมีการรายงานเป็นครั้งแรกภายในวันที่ 31 มีนาคม 2563 นี้ค่ะ ซึ่งทางกรมสรรพากรจะมีการเก็ข้อมูลเหล่านี้ไว้ไม่เกิน 10 ปีนับตั้งแต่วันที่ได้รับรายงานข้อมูลค่ะ
ขั้นตอนการรายงาน ต้องมีการนับจำนวนของธุรกรรมลักษณะเฉพาะตามวิธีแบบนี้ค่ะ
- โดยการเริ่มนับจำนวนครั้งของเงินโอนเข้าบัญชีธนาคาร หรือสถาบันการเงินไม่ว่าเงินนั้นจะเข้ามาโดยวิธีใดและจำนวนเท่าไหร่ก็ตามไม่มีการกำหนด ก็จะนับเป็น 1 ครั้ง แต่ถ้าธนาคารจะรอรวบยอด 100 ครั้งแล้วรวบรวมจำนวนเงินด้วยเป็นการโอนเงินเข้าก้อนใหญ่เพียงครั้งเดียวเมื่อสิ้นวันก็จะนับตามจำนวน 100 ครั้งอยู่ดีค่ะ
- ในกรณีที่มีการนำเงินเข้าระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องรูดบัตร QR Code หรือการโอนเงินไม่ว่าจะวิธีไหนก็ตามต้องให้นัจำนวนครั้ง และจำนวนเงินด้วย และต่อมาเมื่อเงินเข้าในบัญชีธนาคารแล้วและมีการรอรวบยอดอยู่ เช่น เงินเข้า 100 ครั้ง ครั้งละ 1,000 เมื่อธนาคารรอรวบยอดเป็น 1 ครั้ง จำนวนเงิน 100,000 บาท เมื่อสิ้นวันก็จะนับเป็น 100 ครั้ง ครั้งละ 1,000 บาทอยู่ดีค่ะ ซึ่งเรื่องนี้อาจจะลงๆอยู่บ้างแต่สรุปได้ว่ากรมสรรพากรจะตรวจสอบอย่างละเอียดไม่ขาดตกบกพร่องไม่ว่าธนาคาร หรือสถาบันการเงินจะมีการนับอย่างไรเมื่อมีการรายงานก็ต้องเป็นไปตามจำนวนครั้งที่ชัดเจนค่ะ
ข้อมูลที่ต้องรายงาน
มาดูว่านอกจากการนับจำนวนครั้งของการรายงานธุรกรรมลักษณะเฉพาะแล้วทางกรมสรรพากรต้องการข้อมูลอะไรอีกบ้าง?
- เลขประจำตัวประชาขน ( เลขทะเบียนนิติบุคคล หรือเลขอื่นๆที่ใช้ในการระบุตัวตน )
- ชื่อ นามสกุล ( ชื่อบริษัท )
- จำนวนครั้งของการฝาก/โอนของทุกบัญชีรวมกัน
- ยอดรวมของการฝาก/โอนของทุกบัญชีรวมกัน
- เลขบัญชีของทุกบัญชีที่มีการฝาก/โอนเงิน คุณอาจจะอยากทราบว่าแล้วกรมสรรพากรจะนำข้อมูลเหล่านี้ไปทำอะไรต่อไปบ้าง?
กรมสรรพากรก็จะนนข้อมูลที่ได้จากการายงานธุรกรรมลักษณะเฉพาะไปประมวลผลร่วมแบข้อมูลอื่นๆมีการนำข้อมูลไปวิเคราะห์ในคอมพิวเตอร์เพื่อมีการจัดแบ่งกลุ่มผู้เสียภาษีให้ได้รับการดูแลและการเสียภาษีที่ถูกต้องเหมาะสม แต่หากมีข้อมูลขอใครอยู่ในกลุ่มที่เสี่ยงกรมสรรพากรก็จะมีการตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกต่อๆไปแต่ที่คุณต้องรู้อีกเรื่องคือถึงแม้ธุรกรรมต่างๆจะเรียกได้ว่าเป็นธุรกรรมลักษณะเฉพาะแต่กรมสรรพากรก็จะไม่ตรวจเชิงลึกทุกรายการแต่จะมีการวิเคราะห์ความเสี่ยงก่อนค่ะ ดังนั้นเพื่อความสะดวกของทั้งผู้ที่ทำธุรกรรมลักษณะเฉพาะและกรมสรรพากรเองผู้ที่ทำธุรกรรมแบบนี้ควรมีการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายอย่างดีเตรียมเอาไว้ล่วงหน้าเมื่อมีการตรวจสอบจะได้รวดเร็วและโปร่งใสค่ะ นอกจากการทำบัญชีรายรับรายจ่ายแล้วควรเก็บเอกสารต่างเกี่ยวกับการจ่ายการรับเงินทั้งหมดเอาไว้ด้วยเพื่อเป็นหลักฐานเมื่อเกิดปัญหาของการตรวจสอบข้อมูล แต่ในส่วนของบุคคลที่ไม่ได้ทำธุรกรรมลักษณะเฉพาะแต่ถูกรายงานว่าทำกรมสรรพากรจะมีให้ความช่วยเหลือคุณได้ในเรื่องนี้ถ้าคุณมีการทำบัญชีรายรับรายจ่ายอย่างดีชัดเจนและเสียภาษีมาอย่างถูกต้อง
อีกเรื่องที่กรมสรรพากรสามารถสร้างความไว้วางใจให้คุณได้ คือ การรักษาข้อมูลการเงินต่างๆของคุณอย่างปลอดภัยโดยเฉพาะบุคคลที่ทำธุรกรรมลักษณะเฉพาะที่มีข้อมูลที่มากมายแน่นอนข้อมูลเหล่านั้นจะถูกรักษาอย่างดีซึ่งเหน้าที่ทั่วไปก็ไม่สามารถเข้าไปดูข้อมูลได้ และยังมีบทลงโทษแก่เจ้าหน้าที่ที่ไม่เกี่ยวข้องแล้วแอบดูข้อมูลด้วยค่ะ
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับธุรกรรมลักษณะเฉพาะ
เนื่องด้วยความซับซ้อนของเรื่องการเสียภาษีในรูปแบบต่างๆโดยเฉพาะการเสียภาษีของธุรกรรมลักษณะเฉพาะทำให้หลายคนเกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ ซึ่งความเข้าใจผิดส่วนมากที่เกิดขึ้นก็มีดังต่อไปนี้ค่ะ
- มีความเข้าใจผิดว่าธุรกรรมลักษณะเฉพาะไม่ได้มีเฉพาะตรวจสอบรายได้ของคนที่ขายของออนไลน์เท่านั้น แต่มีผลบังคับใช้เพื่อตรวจสอบรายได้ของบุคคลทั่วไปด้วยไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาห้างหุ้นส่วน
- มีความเข้าใจผิดว่าการรับโอนเงินเกิน 8 ครั้งต่อวันก็จะเริ่มถูกตรวจสอบจากกรมสรรพากรแล้วแต่ที่จริงแล้วกฎหมายกำหนดเกณฑ์เป็นการโอนเงินในจำนวน 3,000 ครั้งขึ้นไปจึงจะมีการตรวจสอบไม่ใช่มีการโอนเงินเกินวันละ 8 ครั้งแต่นั่นเป็นจำนวนค่าเฉลี่ยต่อเดือนเท่านั้น
- มีความเข้าใจผิดว่าหากมีการทำธุรกรรมลักษณะเฉพาะคุณจะถูกปรับเป็นเงินจำนวน 100,000 บาท ซึ่งคิดเป็นค่าปรับต่อวันวันละ 10,000 บาททันที ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดอย่างมากเพราะคนที่จะถูกปรับแบบนั้นได้ต้องเป็นคนที่ได้รับบทลงโทษจากการเสียภาษีที่ไม่ถูกต้องเมื่อมีการทำธุรกรรมลักษณะเฉพาะเท่านั้น
- มีความเข้าใจผิดว่าเมื่อมีการทำธุรกรรมลักษณะเฉพาะแล้วมีการเสียภาษีอย่างถูกต้องแล้วจะไม่มีการตรวจสอบอะไรอีกและไม่มีบทลงโทษใดๆได้อีก
- มีความเข้าใจผิดว่าคุณสามารถจัดการบริหารเรื่องของภาษีแบบครบวงจรในราคาที่เหมาะสมได้ด้วยการใช้งาน iTAX เท่านั้นแต่ไม่เป็นความจริง iTAX ไม่สามารถให้บริการที่ครบวงจรโดยการบิดเบือนราคาภาษีได้ ทั้งหมดนี้ คือความเข้าใจผิดๆที่หลายคนต้องเปลี่ยนความเข้าใจนี้ให้ถูกต้องเพื่อจะไม่มีการทำผิดกฎหมาย และไม่วิตกกังวลมากเกินไปดังนั้นถ้าคุณเองมีรายรับที่โปร่งใสบริสุทธิ์ใจยังก็สามารถเข้าไปขอข้อมูลโดยตรงจากกรมสรรพากรได้ไม่ต้องกลัวการตรวจสอบใดๆทั้งสิ้นค่ะ
ธุรกรรมลักษณะเฉพาะต้องให้ข้อมูลครบถ้วนตามกฎหมาย
ตอนนี้คุณเองคงทราบแล้วว่าความรู้เรื่องธุรกรรมลักษณะเฉพาะนั้นก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับคุณด้วยในฐานะผู้ใช้บริการของธนาคาร หรือสถาบันการเงินทั้งในรูปแบบปกติและรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เพราะข้อมูลทุกอย่างที่คุณทำธุรกรรมกับธนาคาร หรือสถาบันการเงินนั้นจะมีการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อรายงานต่อกรมสรรพากรโดยผู้ประกอบการนั้นๆ และเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทางธนาคารต้องทำอย่างถูกต้องตามกฎหมายอย่างจริงจังมากขึ้นตั้งแต่มีผลบังคับใช้ในปี 2562 ที่ผ่านมานี้ค่ะ ตอนนี้ไม่ว่าคุณเองจะมีรายได้จากการทำธุรกรรมลักษณะเฉพาะหรือไม่ก็ต้องตื่นตัวในการเสียภาษีในประเภทต่างๆมากขึ้นเพราะทุกวันนี้ดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องใกล้ตัวเข้ามาทุกีรวมทั้งเรื่องของอัตราของภาษีที่จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงด้วยที่คุณต้องคอยติดตามเพื่อจะดำเนินการสียภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมายและไม่เกิดเรื่องยุ่งยากด้วยการถูกตรวจสอบแบบเชิงลึกเพราะอยู่ในกลุ่มเสี่ยงนะคะ ถ้าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับกฎหมายของประเทศก็จำเป็นต้องรู้ทั้งนั้นเรื่องภาษีก็เช่นกันนะคะทุกคน
Phanumas
เพิ่งรู้จักนี่แหละครับธุรกรรมลักษณะเฉพาะ มีหน่วยงานที่จำเป็นต้องรายงาน และขั้นตอนหลายอย่างในการรายงานด้วย มีข้อมูลอะไรบ้างที่จำเป็นต้องรายงาน และความเข้าใจผิดกันของธุรกรรมลักษณะเฉพาะ บทความนี้สามารถให้แนวคิดและประโยชน์เกี่ยวกับธุรกรรมลักษณะเฉพาะได้ดีเลยครับ อธิบายให้เราเห็นถึงความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับธุรกรรมแบบนี้
ปราบ
ผมขายของออนไลน์และมีเงินเข้าออกผ่านระบบ E-Payment ต่อเดือนก็หลายบาท และหลายครั้ง จึงอยากจะมาหาข้อมูลเรื่องของการเสียภาษีในการรับรายได้แบบนี้พอดีเลยครับเข้ามาเจอบทความนี้ช่วยให้เข้าใจและปฏิบัติถูกต้องมากขึ้นเรื่องของภาษี ผมให้ความสำคัญเรื่องของภาษีมากๆเพราะไม่อยากทำผิดและโดนย้อนหลังครับ เพราะภาษีย้อนหลังคงเจ้บตัวหนักแ่ๆ
น้ำตาล
ธุรกรรมลักษณะเฉพาะเป็นอะไรที่เข้าใจยากเหมือนกันนะคะ แต่พอได้อ่านบทความนี้ก็แล้วก็ได้เข้าใจเลยค่ะว่าแม้แต่การทำธุรกรรมการเงิน ถ้ามีการโอนเงินหรือมีการรับเงินโดยที่เงินของเราก็เป็นจำนวนมากตามเงื่อนไข จำเป็นต้องมีการเสียภาษีให้กับสรรพากรด้วย เพื่อที่จะทำให้ถูกต้องตามกฎหมายและตามเรียกร้องของข้อกำหนดของรัฐบาล
Worrapat
ความรู้เรื่องการยื่นภาษีสำคัญมากนะครับถ้าใครไม่อยากมีปัญหาในอนาคต ถึงแม้ภาษีจะมีหลายแบบแต่ด้วยหน้าที่การงานของเราคงเกี่ยวข้องกับภาษีอยู่ไม่กี่แบบหรอกครับ นอกจากว่าเป็นเจ้าของบริษัทหรือเจ้าของธุรกิจนั่นแหละจะมีรายละเอียดมากหน่อย บทความนี้ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์มาก ช่วยให้เห็นความสำคัญและจำเป็นที่ต้องรู้เกี่ยวกับเรื่องของภาษีด้วยครับ
วัลลภ
มิน่าละครับ หลายคนที่พยายามหนีภาษี มักจะใช้บัญชีของคนในครอบครัวหรือของญาติเพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน มันเป็นแบบนี้นี่เอง เพราะถ้าทางธนาคารแจ้งเกี่ยวกับข้อมูลเงินในบัญชี ของคนๆนั้นไปที่สรรพากร คนๆนั้นก็จะต้องโดนตรวจสอบไปด้วย เข้าใจเลยว่า บ้านเรามันยังมีช่องโหว่เรื่องแบบนี้อยู่ทำให้คนไม่ยอมเสียภาษีกันเยอะมากๆ
Potato
เรื่องภาษีอย่าหลบอย่าเลี่ยงเลยนะมันไม่คุ้มหรอก รับผิดชอบกันไปเถอะตามที่เขาเรียกเก็บมา ตามรายได้ที่เราได้มาแบบนี้จะอยู่ง่ายกว่าเยอะครับ มามัวหลบหลีกเดี๋ยวโดนทบต้นทบดอกจะหนาวนะครับ ผมก็เลยเข้ามาอ่านเรื่องนี้ดูเผื่อว่าธุรกรรมที่ผมทำอยู่มันเข้าข่ายเป็นธุรกรรมลักษณะเฉพาะจะได้รีบจัดการให้เรียบร้อยครับ ขอบคุณความรู้ครับ
MeoWMeoW
แย่แระมีกฎหมายนี้ออกมา...คนค้าขายออนไลน์อย่างเราก็แย่กันหมดสิ ยิ่งช่วงนี้ยิ่งขายไม่ค่อยดีกันอยู่แล้วยังมาเก็บภาษีกันอีก ก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้เสียภาษีอยู่แล้วด้วยจะโดนภาษีย้อนหลังกันหรือเปล่าเนี่ย แล้วถ้าเราไม่ได้เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการขายอย่างนี้เราจะโดนภาษีย้อนหลังไหมคะ เคยรู้วิธีเลยว่าจะต้องทำยังไง ถ้ามีท่านไหนที่ทราบขอช่วยแนะนำด้วยนะคะว่าจะต้องเริ่มต้นยังไงดี
บิ้ว
เดี๋ยวนี้ใครที่ทำการโอนเงินเข้าออกบ่อยๆ หรือทำธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ไม่สามารถที่จะหลบเลี่ยงในเรื่องของภาษีได้แล้วนะคะ เพราะว่าจะมีการรายงานและการตรวจสอบเกี่ยวกับเงินเข้าเงินออกในบัญชีของเราได้แล้ว เพื่อที่จะไม่ได้รับการตรวจสอบเราจำเป็นต้องป้องกันตัวเองโดยการไปเสียภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมายไว้ก่อนตั้งแต่แรกค่ะ
ปิ่น
มีการเข้าใจผิดหลายอย่างเลยนะคะสำหรับคนที่ไม่รู้เกี่ยวกับการถูกตรวจสอบจากกรมสรรพากร เนื่องจากการมีรายได้หรือการทำธุรกิจหรือหลีกเลี่ยงการเสียภาษีตามกฎหมาย บางคนอาจจะเข้าใจผิดว่าจะมีการตรวจสอบบัญชีถ้ามีการทำธุรกรรมการเงินมากกว่า 8 ครั้ง จริงๆแล้วไม่ใช่อย่างนั้นนะคะ ต้องมากกว่า 3000 ครั้งค่ะถึงจะถูกตรวจสอบ
โลแกน
โห้ ! ข้อมูลของเรากรมสรรพากรเขาเก็บไว้เป็นสิบปีเลยเหรอ ทำไมมันนานจัง แบบนี้ ใครที่ไม่จ่าย ภาษี ก็ต้องระวังตัวให้ดีๆแล้วนะ เพราะว่า ถ้าใกล้จะครบ10แล้ว เราคิดว่าทางกรมสรรพากรต้องมีการคิดบัญชีย้อนหลังเราแน่นอน แบบนี้ไม่อยากคิดเลยว่า 10ปีที่กรมสรรพากรคิดภาษีพร้อมดอกเบี้ยย้อนหลัง มันจะเป็นเงินจำนวนเท่าไรนึกแล้วขนลุกเลย