เมื่อการขายของออนไลน์กำลังมาแรง!! บางคนอาจทำเป็นอาชีพเสริม หรือลองเล่นๆเพื่อสร้างเงิน แต่บางคนกลับทำเป็นเรื่องจริงจัง หรือถึงขั้นลาออกจากงานประจำ มาทำธุรกิจของตัวเองทางออนไลน์เลยก็มี เพราะความสะดวกที่หลายคนเลือกทำ ‘ร้านค้าออนไลน์’ เหตุผลแรกๆ ก็คงจะเป็นการลงทุนที่น้อยกว่าการเปิดร้านแบบมีทำเลที่ตั้ง หรือแม้แต่ค่าจ้างพนักงาน ค่าเช่าออฟฟิศ เราก็ไม่ต้องไปทุ่มในตรงนั้นมาก ถ้ามีหน้าร้านในพื้นที่โซเชี่ยล หรือร้านแนว Market Place มีแค่ตัวกับใจ การลงทุนขายสินค้าออนไลน์ก็ทำได้แล้ว
แม้เป็นอาชีพยอดฮิต และถูกมองเป็นอันดับต้นๆ จากคนที่เบื่องานประจำ แต่ก็มีเรื่องสำคัญที่เราไม่ควรมองข้ามด้วย ก่อนที่หลายคนจะผันตัวเองมาเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์กันเต็มตัว บทความนี้ก็อยากจะมาแชร์เทคนิค และความเข้าใจเรื่องประเภทเงินได้ที่มาจากร้านค้าออนไลน์ของเรา รวมถึงกติกาใหม่ๆในการเสียภาษีสำหรับร้านค้าออนไลน์ด้วย เพื่อที่เราจะยึดเป็นอาชีพเสริมหรืออาชีพหลัก ได้อย่างมั่นใจ และมั่นคงมากขึ้น ทั้งรูปแบบร้านค้า เรื่องของบัญชี และการคำนวณภาษีเบื้องต้น มาดูแบบแผนที่ว่ากันเลย
รูปแบบร้านค้าออนไลน์ในปัจจุบัน
ร้านค้าทางออนไลน์ คือ รูปแบบการซื้อและขายสินค้า ระหว่างผู้ประกอบการต่างๆ กับลูกค้า โดยมีสื่อกลางเป็นระบบออนไลน์ ด้วยเว็บไซต์ชั้นนำ หรืออาจเป็นแอพพลิเคชั่นเกี่ยวกับการรซื้อขาย ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ลูกค้าสามารถเลือกชม ดู และรับการบริการ ได้จากผู้ขายตลอดเวลา 24 ชั่วโมง
โดยส่วนของร้านค้าออนไลน์เอง ก็จะถูกออกแบบให้มีลักษณะที่พร้อมแสดงรายละเอียดของสินค้า แสดงราคา และการบริการที่มีอยู่ เพื่อให้ลูกค้าที่เข้ามาชม ก็สามารถซื้อผ่านเว็บไซต์ได้สะดวกมากขึ้น ถือว่าช่วยผู้ขายเองด้วยให้มีการบริการที่ทันกับยุคสมัย ขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง และประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่องของต้นทุนไปได้อีกมาก โดยรูปแบบของร้านค้าออนไลน์ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ คือ
ขายผ่านช่องทางโซเชี่ยลมีเดีย
เพราะทุกวันนี้ กลุ่มลูกค้าทางธุรกิจส่วนใหญ่ต่างใช้งาน Facebook , Line และ Instagram กันอยู่แล้ว การขายของให้ลูกค้ากลุ่มนี้ทางออนไลน์จึงช่วยให้เข้าถึงได้มากกว่า รวดเร็ว และสะดวก ถือเป็นทางเลือกอันดับต้นๆ ที่ร้านค้าออนไลน์ส่วนใหญ่ทำกัน
โดยการขายผ่านช่องทางนี้ ผู้ขายเองจะต้องมี Account ก่อน อาจสร้างขึ้นใหม่โดยเฉพาะ หรือเป็นส่วนบุคคล เพื่อเข้าถึงลูกค้าผู้ใช้จริงเป็นกลุ่มๆ เช่น เสื้อผ้าวินเทจ อาหารและขนม ไปจนถึงเครื่องสำอางค์แบรนด์ดัง ซึ่งช่องทางนี้นับว่าทำได้ง่าย และซื้อขายคล่อง เหมาะกับพ่อค้าแม้ค้ามือใหม่
ขายผ่านเว็บไซต์แนว Market Place
ปัจจุบันมีเว็บไซต์แนว Market place เกิดขึ้นอย่างมากมาย ที่จะมีบริการขั้นพื้นฐานในการสนับสนุนให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย สามารถทำการติดต่อกันได้ง่าย และสะดวกมากขึ้น มีทั้งชื่อคุ้นหูแนวต่างประเทศอย่าง Ebay.com หรือ Amazon.com
และในบ้านเรา เว็บไซต์แนว Market place ที่ติดอันดับก็เช่น Shopee , Lazada , Kaidee.com , Tarad , Weloveshopping และ Pantip Market เป็นต้น ซึ่งแต่ละแห่งก็จะมีเงื่อนไขการสมัครหรือค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันไป อยู่ที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่สนใจต้องศึกษาเพิ่มเติมก่อนเริ่มต้นการขาย
ขายผ่านเว็บไซต์หลักของตน
สำหรับผู้ที่ต้องการก้าวเข้ามาลงทุนอย่างเต็มตัว ก็อาจอยากมีเว็บไซต์ในการขายสินค้าเป็นแบบส่วนตัว ที่จะมีสินค้าและบริการของเราเท่านั้น แต่ก็ต้องตามมาด้วยต้นทุนเริ่มต้นในการทำ เพราะหากไม่ใช่ฟรีเว็บไซต์ จะมีราคาเริ่มต้นประมาณ 20,000 บาท
และยังมีการออกแบบเว็บไซต์ให้เหมาะกับรูปแบบสินค้าและบริการที่เราอาจต้องศึกษาอีกเพิ่มเติม เช่น Branding และการตลาดออนไลน์ แต่การลงทุนรูปแบบนี้ก็ยิ่งทำให้ชื่อสินค้าเป็นที่รู้จักและติดตลาดเร็วขึ้น เมื่อมีเว็บไซต์ในการซื้อ-ขายเป็นของตัวเอง ก็จะช่วยให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ขายกันไปได้อีกยาวๆเลยด้วย
รูปแบบบัญชีและการตั้งรับกับภาษี
การอยู่ในที่ไหน เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย เราก็ต้องมีกฎเกณฑ์ ในเรื่องการค้าขายแบบออนไลน์ก็เช่นกัน หนึ่งในนั้น ที่เป็นตัวกำหนดรูปแบบการค้าของเราก็น่าจะเป็นเรื่อง ‘การเสียภาษีสำหรับร้านค้าออนไลน์’ ที่เป็นแนวทางให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์อย่างเราต้องเดินตามให้ถูกต้อง โดยกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ล่าสุด และเป็นฉบับปัจจุบัน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 21 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมา ด้วยมาตราการเก็บภาษีธุรกิจออนไลน์ ที่จริงจังกว่าเดิม ให้ทุกสถาบันการเงินรายงานธุรกรรมแนวนี้ต่อกรมสรรพากร ภายใน 31 มีนาคม 2563 คือการกำหนดให้ผู้ให้บริการรายงานข้อมูลบัญชีธุรกรรมที่เกิดขึ้นภายในบัญชี ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ทั้งคนไทยและคนต่างชาติที่ทำธุรกรรมการค้าภายในประเทศ มีเงื่อนไขเฉพาะขึ้น รายเอียดดังนี้
- มียอดฝากหรือการโอนเข้าทุกบัญชี ตั้งแต่ 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป
- มีการฝากหรือโอนเงินเข้าบัญชี ตั้งแต่ 400 ครั้งต่อปีขึ้น
- หากไม่ถึง 3,000 ครั้งต่อปี แต่มียอดเงินขารับรวมตั้งแต่ 2,000,000 บาทต่อปีขึ้นไป
ก็จะมีสิทธิ์ถูกตรวจสอบเข้มกว่าเดิม แล้วกรมสรรพากรก็จะนำข้อมูลเกี่ยวกับ เลขบัตรประจำตัวประชาชน , ชื่อ-นามสกุล และเลขที่บัญชีเงินฝาก รวมถึงจำนวนการฝากและรับโอนเงิน เพื่อเก็บยอดรวมทั้งหมดเพื่อดำเนินการในการเก็บภาษีในจำนวนที่ถูกต้องต่อไป ส่วนการตั้งรับกับแผนภาษีอีเพย์เม้นต์แบบนี้ หากเราที่เป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ไม่อยู่ในเกณฑ์ 3 ข้อที่กล่าวไป ก็สามารถแสดงการยื่นภาษีประจำปีแบบปกติได้เลย ตามกำหนด เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับผู้ที่มีรายได้สุทธิตั้งแต่ 150,000 บาทต่อปีขึ้นไป หรือ ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT หากมีรายได้มากกว่า 1,800,000 บาท ต่อปี จะเรียกเก็บอยู่ที่ 7 %
รูปแบบภาษีและวิธีคำนวณแบบเข้าใจง่าย
ในการเปิดร้านค้าออนไลน์นั้น หากเราไม่ได้มีบริษัทจดทะเบียน หรือรูปแบบเป็นบริษัท ก็ยังจัดว่าเราอยู่ในรูปแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอยู่ หรือในเงินได้ประเภทที่ 8 คือเงินได้ในการค้าขาย ซึ่งก็จะมีช่วงเวลา 2 ช่วงที่เราต้องเตรียมตัวเพื่อรับมือ คือ การยื่นภาษีช่วงสิ้นปี โดยแบบ ภ.ง.ด. 90 ในเดือน มกราคม - มีนาคม เพื่อสรุปรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงปี และ การยื่นภาษีกลางปี โดยแบบ ภ.ง.ด. 94 ในเดือน กรฎาคม - กันยายน เพื่อสรุปรายได้ครึ่งปีหลัง และหาค่าลดหย่อนภาษีตามแต่ละกรณี และในการคำนวณเราอาจมองหาตัวช่วยเพื่อความสะดวกอย่างแอพพลิเคชั่นการเงินเพื่อคำนวนภาษีก็ทำได้อีกด้วย เช่น RD Smart Tax , iTAX Pro หรือเว็บไซต์ทางการของธนาคาร เป็นต้น
ซึ่งค่าใช้จ่ายที่จะมีการนำมาคิดเพื่อเสียภาษีสำหรับร้านค้าออนไลน์ จะมีอยู่ 3 แบบ คือ
- การหักค่าใช้จ่ายอัตรา 60 % สำหรับร้านค้าออนไลน์ที่ไม่ได้ผลิตเอง แต่มีรูปแบบซื้อมาและขายไป
- การหักค่าใช้จ่ายตามจริง สำหรับร้านค้าออนไลน์ที่มีการผลิตสินค้าเอง
- การหักค่าใช้จ่ายแบบเหมารวม คือ การคิดภาษี 0.5% หากมีการขายยอดมากกว่า 1 ล้านบาท โดยปกติ ร้านค้าออนไลน์ จะมีหลักการคำนวณภาษี ใน 2 แบบ คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีแบบนิติบุคคล แต่หากเราไม่ได้จดทะเบียนพาณิชย์เป็นบริษัท ก็จะมีสูตรการคำนวณในแบบภาษีรายได้บุคคลธรรมดา คือ
(รายได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน) X อัตราภาษี = ภาษีที่เราต้องจ่าย
ที่จะมีขั้นบันไดในการหา รายได้สุทธิ ต่อไป ตามตารางอัตราภาษีเพื่อคำนวณภาษีของเรา คือ
0 - 150,000 | ได้รับการยกเว้นภาษี |
---|---|
150,001 - 300,000 | 5% |
300,001 - 500,000 | 10% |
500,001 - 750,000 | 15% |
750,001 - 1,000,000 | 20% |
1,000,001 - 2,000,000 | 25% |
2,000,001 - 5,000,000 | 30% |
5,000,001 บาทขึ้นไป | 30% |
ส่วนการจดทะเบียนพาณิชย์ หรือจดทะเบียนการค้าหรือไม่ จะไม่มีผลต่อการเสียภาษีของร้านค้าออนไลน์ แค่เป็นเครื่องหมายบ่งบอกความมีตัวตนของธุรกิจ หรือมีสิทธิพิเศษบางอย่างจากระทรวงพาณิชย์ แต่หากเราจดแบบบริษัท คือเปลี่ยนตัวเองจากบุคคลธรรมดาไปเป็นนิติบุคคล จะมีผลต่ออัตราภาษี ซึ่งอาจจะมีผลที่คุ้มค่ากว่าเมื่อมองแบบองค์รวม
เราสามารถจัดการกับภาษีร้านค้าออนไลน์ในแบบที่ถูกต้องได้ ไม่ยากเลย!
เพราะการมีร้านค้าออนไลน์ช่วยเราสร้างรายได้ได้ดีกว่าที่คิด แถมยังสามารถทำควบคู่ไปกับงานประจำที่ทำอยู่ก็ได้ไม่ติดขัด ถือว่าเป็นอาชีพยอดนิยมไปแล้วในช่วงนี้ แต่เมื่อมีรายได้ที่เพิ่มเข้ามาในรูปแบบนี้ หลายคนอาจกังวลในเรื่องหน้าที่ในการเสียภาษี ความจริงก็คือ ภาษีอีเพย์เม้นท์สำหรับร้านค้าออนไลน์ไม่ได้ยากเกินเราจะตั้งรับ เพราะพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ยุคใหม่ สามารถจัดการกับมันได้อย่างถูกต้อง เพียงรู้หลักการวางแผนเบื้องต้นเหมือนที่กล่าวมา ทั้งรูปแบบร้านค้าออนไลน์ที่ตรงกับเรา รูปแบบบัญชี และรูปแบบภาษีเพื่อคำนวณล่วงหน้า
ซึ่งหลักการเตรียมตัวเพื่อเสียภาษี แม้เราเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มือใหม่ ก็สามารถวางแผนเพื่อความปลอดภัยหายห่วงกับเรื่องภาษีย้อนหลังได้ โดยการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายให้พร้อม เพื่อใส่ใจรายละเอียดในส่วนของตัวเลขต่างๆ และเก็บหลักฐานเกี่ยวกับเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการค้า หรือธุรกรรมการเงินไว้ให้ครบถ้วน จะมากหรือน้อยก็ควรมีไว้ก่อน เพื่อนำมาเป็นหลักฐานในการยื่นเสียภาษี และเราอาจเพิ่มความมั่นใจได้ด้วยการศึกษาเรื่องราวภาษีที่เหมาะกับเราให้ละเอียดมากขึ้น ทั้งประเภทนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดา และภาษีอีเพย์เม้นต์สำหรับร้านค้าออนไลน์ที่มีเกณฑ์ตามยอด หากเรามียอดโอนเพื่อซื้อขายไม่ถึง 3000 ครั้งต่อปี หรือยอดรวมไม่ถึง สองล้านบาท ก็แค่ยื่นภาษีแสดงรายได้รายปีก็เพียงพอแล้ว เพียงแค่นี้ เราก็ปลอดภัยกว่า และค้าขายได้อย่างมั่นใจแล้ว
Vit
เรื่องนี้ก็น่าสนใจนะ ร้านค้าออนไลน์ที่ดีต้องน่าเชื่อถือ และมีการบริหารจัดการที่ดี เรื่องภาษีก็ต้องเอาใจใส่ต้องทำทุกอย่างให้ถูกต้องเดี๋ยวจะแย่ เราตามาอ่านบทความเกี่ยวกับเรื่องร้านค้าออนไลน์ค่ะ จะเอาทั้งหมดไปให้เพื่อนอ่าน เพื่อนเราเป็นแม่ค้าออนไลน์ เราเองก้อยากขายของออนไลน์ด้วยแต่ยังไม่ใช่ตอนนี้ค่ะ เราว่าไม่ง่ายนะ
ศิริรัตน์
ขอบคุณค่ะที่ทำให้รู้เกี่ยวกับวิธีการที่จะต้องจ่ายภาษี ในการเปิดร้านขายสินค้าออนไลน์ก็จำเป็นต้องมีการเสียภาษีรายได้บุคคลด้วย ซึ่งบทความนี้ทำให้เราเห็นวิธีการที่ถูกต้องที่จะสามารถคิดอัตราภาษีที่เราจำเป็นต้องจ่ายให้กับสหกรณ์ ทำได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายได้โดยวิธีนี้ จะช่วยให้เราสามารถเปิดร้านค้าออนไลน์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายด้วยค่ะ
น้ำฝน
การขายสินค้าออนไลน์ก็เป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่วัยรุ่นและผู้คนทั่วไปให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะบางครั้งไม่ต้องมีหน้าร้านและสามารถขายของได้กว้างไกลทั่วประเทศ แต่สิ่งที่ตามมาก็คือภาษีเงินได้จากร้านค้าออนไลน์นั่นเอง บทความนี้ช่วยให้ฉันมีความรู้เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการจ่ายภาษีในการขายสินค้าออนไลน์ ว่าจำเป็นต้องมีการทำอย่างไรบ้างเพื่อจะทำให้ถูกต้องค่ะ
Noppadol
เดี๋ยวนี้ใครคิดจะค้าขายออนไลน์ ไม่ใช่แค่หาสินค้าหาช่องทางในการขายเท่านั้นนะครับ ต้องสนใจและหาความรู้เรื่องภาษีที่ต้องยื่นและต้องชำระด้วย มีข่าวออกมาบ่อยๆจะบอกว่าไม่รู้ก็คงไม่ได้ ยิ่งตอนนี้นะการขายของออนไลน์บูมมากเลย เพราะคนออกจากบ้านไม่ได้ก็ต้องสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์ คนถูกเลิกจ้างก็มากเลยหันมาขายของออนไลน์กันเยอะ
จิ๋วจิ๋ว
อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง การขายของออนไลน์มีร้านค้าออนไลน์ต้องมีเรื่องภาษีอย่างนี้นี่เอง ตอนแรกก็ไม่นึกเรื่องภาษีมาก่อนเลยอยากขายของออนไลน์อยู่นะ ดีที่มาอ่านเรื่องนี้ก่อนจะได้จัดการให้ถูกต้องเรื่องภาษี เดี๋ยวนี้จะขยับตัวทำอะไรต้องระวังมากเลย โดยเฉพาะเรื่องของภาษี และค่าธรรมเนียมเนี่ยตามมาหลอกมาหลอนกันจังเลย
ดาวบ้านสวน
มิน่าละครับ ผมเห็นหลายเพจเลยที่ ร้านเดียวกันขายของแบบเดียวกัน แต่ก็เปลี่ยนชื่อร้านไม่ใช้ชื่อร้านเดียวกัน เพราะว่ามันมี ภาษีสำหรับร้านค้าออนไลน์ นี่เอง ยิ่งถ้าเปิดร้านเดียวในเพจเดียวโดนตรวจสอบง่ายแน่ แบบนี้ก๋ต้องกระจ่ายงานเลย คนไทยนี่หัวหมอจริงๆเลยนะครับ อันไหนที่มีช่องโหว่ เราก็แหกเข้าไปหมดเลยครับ
พร
หมายความว่าถ้าเราไม่มีการจดทะเบียนบริษัท เราก็จะเสียภาษีเป็นรายได้บุคคลใช่ไหมคะ ซึ่งการเสียภาษีรายได้บุคคลจะต้องจ่ายในช่วงมกราคมถึงมีนาคม ซึ่งเราสามารถคำนวณจากการตั้งร้านค้าออนไลน์ของเราว่ามีรายรับอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี ในราคาที่เท่าไหร่ค่ะ ก็จะช่วยให้เราสามารถที่จะทำถูกต้องตามกฎหมายที่กำหนดเอาไว้
อชิรา
เรื่องการเสีย ภาษีออนไลน์ อันนี้เป็นเรื่องใหม่สำหรับคนไทยจริงๆครับ เคยเจอข่าวครับ คนที่ขายอาหารทะเลออนไลน์ นะครับ ที่บอกว่า พ่อต้องได้กิน แม่ต้องได้กิน เห็นว่าขายดีมากจนมีการตรวจสอบการเสียภาษี ออนไลน์ ซึ่งเท่าที่จำได้ เจ้านี้จ่ายไปเยอะเหมือนกันนะครับ ถ้าใครที่ขายของออนไลน์อยู่ต้องระวังการตรวจสอบย้อนหลังดีๆนะครับ
อร่อย
โหห เรื่องการวางแผนภาษีสำหรับร้านค้าออนไลน์นี่เยอะจังเลยงะ ถ้าจะคิดทำขายของออนไลน์นี่ต้องคิดใหม่สะแล้วล่ะมั้ง มันไม่ใช่เรื่องง่ายและก็ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ถ้าจะให้พูดอีกทีเราว่ามันเป็นเรื่องยากแล้วล่ะ5555 ดีที่มาเจอบทความนี้สะก่อนกะว่าจะไปเปิดร้านออนไลน์อยู่พอดี ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะ บทความอ่านเข้าใจดีค่ะ
แนน
ต้องคิดถึงเกี่ยวกับในกรณีที่เราขายสินค้าออนไลน์ผ่านทาง social media อย่าง instagram กับ facebook ด้วยนะคะ ก็เดี๋ยวนี้มีการคิดเกี่ยวกับภาษีออนไลน์ในการขายของออนไลน์กันแล้ว อย่าลืมที่จะไปทำถูกต้องตามกฎหมายเพื่อที่จะไม่ถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง ก็เดี๋ยวนี้เราสามารถที่จะถูกตรวจสอบจากเงินเข้าออกจากบัญชีธนาคารของเราบ่อยๆได้แล้วนะคะ
โซโซ่
บทความที่ให้ข้อมูลดีๆแบบนี้ควรจะมีมาเรื่อยๆนะคะ เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบันที่หลายคนผันตัวมาเป็นพ่อค้าแม่ค้ากันมากขึ้น จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับเรื่องการคิดคำนวณเพื่อเสียภาษีด้วยค่ะ คนที่เป็นผู้บริโภคอย่างเราก็ได้รู้ด้วยว่าเดี๋ยวนี้มีการกำหนดเงื่อนไขอะไรๆใหม่ในเรื่องการเสียภาษี รู้อย่างนี้ละปฏิบัติตาม..ไม่มีปัญหาค่ะ