ตั้งแต่ที่ประเทศไทยของเราได้เข้าไปสู่ภายใต้การดูแลควบคุมของรัฐบาล คสช. อย่างเต็มรูปแบบเมื่อปี พ.ศ.2558 ที่ผ่านมานี้ก็บอกได้เลยว่ามีการปรับเปลี่ยนและเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างพอสมควร ซึ่งในระหว่างนั้น ก็ได้มี นโยบายต่างๆมากมายที่ทางรัฐบาล คสช. ได้ออกมาซึ่งบ้างอย่างก็มีผลกระทบกับประชาชนชาวไทยโดยตรงและบางนโยบายก็มีผลกระทบทางอ้อม และในบทความนี้ผมก็จะมาพูดถึงนโยบายที่ทางรัฐบาล คสช. ได้ออกมาเกี่ยวกับทางด้านเศรษฐกิจมากมายแต่ผมจะยกมาเฉพาะนโยบายของทางรัฐบาล คสช. ที่มีผลกระทบกับประชาชนชาวไทยมากที่สุด ซึ่งจะมีอะไรบ้างไปดูกันเลยดีกว่าครับ

การจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. และ การโอนผู้ประกันตนเองกองทุนประกันสังคมมายัง กอช.

การจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. และ การโอนผู้ประกันตนเองกองทุนประกันสังคมมายัง กอช.

การจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. เป็นนโยบายที่ได้นำกลับมาสานต่อจากรัฐบาลของนายกอภิสิทธิ เวชชาชีวะ โดยผ่าน พ.ร.บ.ของกองทุนการออมแห่งชาติออกมา ซึ่งในยุคก่อนหน้านี้ที่เป็นยุค ของนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ไม่ได้มีการสานต่อให้กองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. นี้สามารถเกิดขึ้นได้จริงๆ จนมาในยุคนี้ที่เป็นรัฐบาลที่มีการบริหารภายใต้ คสช. นั้นสามารถทำให้นโยบาย การจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. นั้นถูกผลักดันจนสามารถเกิดผลสำเร็จและเกิดขึ้นจริง และการโอนผู้ที่ประกันตนเองตามมาตรา 40 จาก กองทุนประกันสังคมมายังกองทุน กอช. ก็เป็นการเปิดโอกาศให้กับผู้ที่ประกันตนเองตามมาตรา 40 จากกองทุนประกันสังคมที่มีความต้องการจะย้ายจากกองทุนประกันสังคมมายังกองทุน กอช. ได้มีโอกาศย้ายตามความต้องการของตัวเอง ซึ่งดูแล้วผู้ที่เป็นสมาชิกกองทุนประกันสังคมก็ดูจะมีความสนใจที่จะย้ายกองทุนประกันสังคมของตัวเองมายังกองทุน กอช. อยู่ไม่น้อยเลย

ภาษีทรัพย์สิน และ การปรับเงินเดือนข้าราชการ

ภาษีทรัพย์สิน และ การปรับเงินเดือนข้าราชการ

ภาษีทรัพย์สิน หรือที่เพื่อนๆ อาจจะรู้กันว่าเป็นภาษีบ้านและที่ดินนั้นเอง ซึ่งจะต้องบอกว่า ในยุครัฐบาลของ คสช. ก็เกือบจะทำนโยบายการเก็บภาษีทรัพย์สินได้สำเร็จ ในช่วงสมัยของนาย สมหมาย ภาษี เป็นนายกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในช่วงแรก แต่ผลสุดท้ายก็ไม่สำเร็จเพราะมีกระแสคัดค้านกันอย่างล้นหลามจากหลายฝ่ายจนทำให้ต้องมีการชะลอนโยบายนี้ไปก่อน ซึ่งต้องบอกว่า เรื่องของนโยบายภาษีทรัพย์สิน หรือ ภาษีบ้านและที่ดินเป็น นโยบายที่ได้รับความสนใจมากจากประชาชน เพราะแน่นอนว่าถ้าหากนโยบายนี้สำเร็จ คนที่มีบ้านและที่ดินหลายหลังและที่ดินหลายที่หลายไร่จะต้องมีการเสียภาษีมากขนาดไหน ซึ่งบอกเลยว่านโยบายนี้จะมีผลกระทบอย่างมากต่อประชาชน จึงได้รับความสนใจเป็นพิเศษ

นโยบายต่อมาก็ได้รับความสนใจไม่แพ้กับนโยบายเก็บภาษีทรัพย์สินเหมือนกัน นั้นก็คือ นโยบายปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ต้องบอกว่าเป็นนโยบายที่เป็นกระแสอีกนโยบายหนึ่งเลยก็ว่าได้ กับการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ เพราะนโยบายดังกล่าวทำให้มีเจ้าหน้าที่ภาครัฐมากมายที่ได้รับการปรับขึ้นเงินเดือน แต่ก็ยังมีบางฝ่ายที่ไม่พอใจกับนโยบายนี้ทำให้ดูแล้วนโยบายนี้ก็มีผลกระทบอยู่พอสมควร

การจัดตั้งเขตพิเศษเพื่อรองรับการเปิดอาเซียน และ การขยายการก่อสร้างทางด่วนพิเศษ

การจัดตั้งเขตพิเศษเพื่อรองรับการเปิดอาเซียน และ การขยายการก่อสร้างทางด่วนพิเศษ

การจัดตั้งเขตพิเศษเพื่อรองรับการเปิดอาเซียน ก็อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่าประเทศเป็นหนึ่งในกลุ่มอาเซียน และตอนนี้ประเทศไทยก็ได้มีการจัดตั้งเขตพิเศษในแต่ละที่ที่เป็นพื้นที่สำคัญๆของประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัดที่มีการติดกับเขตชายแดนเพื่อเตรียรับการเปิดอาเซียน ทำให้มีผลกระทบการประชาชนชาวไทยตรงที่ว่า ค่าที่ดินในพื้นที่เขตพิเศษที่ถูกจัดตั้งขึ้นจะมีราคาที่เพิ่งสูงขึ้น

และการขยายการก่อสร้างทางด่วนพิเศษ ก็เป็นนโยบายของทางรัฐบาลที่มีผลกระทบกับประชาชนเช่นกัน เพราะอย่างที่ทุกๆคนรู้ว่าทางด่วนใช้เพื่อช่วยไม่การจารจรติดขัดซึ่งทุกวันนี้ในกรุงเทพรถติดมาก การที่มีนโยบายเกี่ยวกับการขยายการก่อสร้างทางด่วนพิเศษนั้นย่อมเป็นสิ่งที่สามารถช่วยปัญหารถติดภายในกรุงเทพได้เยอะอย่างแน่นอน และการที่มีนโยบายเกี่ยวกับการก่อสร้างทางด่วนพิเศษนี้อีกอย่างที่กระทบกับประชาชนคือจะต้องมีการเวนคืนที่ดินเป็นจำนวนมากเพื่อใช้ในการก่อสร้าง

จัดที่อยู่อาศัยให้ผู้มีรายได้น้อย และ กำหนดค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท/วัน

จัดที่อยู่อาศัยให้ผู้มีรายได้น้อย และ กำหนดค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท/วัน

นโยบายที่มีเพื่อประชาชนถ้าจะไม่กระทบกับประชาชนก็คงจะเป็นไปไม่ได้ ซึ่งนโยบายนั้นก็คือ นโยบาย การจัดที่อยู่ให้กับผู้ที่มีรายได้น้อย โดยนโยบายนี้ทางรัฐบาลได้มีการสนับสนุนให้ผู้ที่รายได้น้อยได้มีที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น โดยการที่ทางรัฐบาลได้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว ซึ่งบอกได้ว่าเป็นนโยบายที่มีผลกระทบโดยตรงกับประชาชนและเป็นผลกระทบที่เป็นในทางที่ดีด้วย

และอีกนโยบายที่มีเพื่อประชาชนอีกอย่างคือ นโยบายการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ต่อวัน โดยนโยบายนี้ก็เป็นการสานต่อมาจากในยุคสมัยของ นายก ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งมันส่งผลให้กับประชาชนอย่างมากจากที่เมื่อก่อนย้อนไปทำงานหนึ่งวันได้เงินไม่ถึง 300 บาท แต่ปัจจุบัน นี้ ค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 300 บาท เป็นค่าแรงงาน ซึ่งถ้าทำงานอย่างอื่นที่ไม่ใช่แรงงานก็จะได้มากกว่านี้ ทำให้ประชาชน พอมีกินมีใช้กันมากขึ้น ซึ่งนโยบายนี้ก็มีผลกระทบไปในทางที่ดีอีกเช่นกัน ผมเคยได้ยินประสบการณ์ของพ่อผมเล่าให้ฟังว่า เมื่อก่อนสมัยที่พ่อผมยังหนุ่มก็ย้อนไปสัก 20 ปี ได้เงินเดือน 5,000-6,000 บาทนี้ถือว่าเยอะมากแล้วนะครับ

การขึ้นค่าแรงงาน และ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

การขึ้นค่าแรงงาน และ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เราพูดถึงนโยบายการขึ้นค่าแรงเป็น 300 บาท ต่อวันแล้วว่าเป็นนโยบายที่เป็นผลกระทบต่อประชาชนในแง่ดี แต่ให้เรามาดูในแง่ของธุรกิจกันบ้างที่มีต่อนโยบายการขึ้นค่าแรงงาน ซึ่งดูแล้วจากการขึ้นค่าแรงงานเป็นผลกระทบในด้านลบมากกว่าสำหรับธุรกิจ เพราะบางธุรกิจถึงกับจะต้องปิดตัวลงเพราะนโยบายการขึ้นค่าแรงและไม่สามารถที่จะรองรับกับสภาวะทางเศรษฐกิจได้มากพอ

และมาดูนโยบายสุดท้ายที่จะพูดถึงในวันนี้ ซึ่งก็เป็นผลกระทบในด้านลบต่อประชาชนอีกนั้น คือ นโยบายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งเป็นนโยบายที่ทำให้มีการลดภาษีให้เหลืออยู่ที่ 35% และมีการปรับขั้นต่ำที่ต้องเสียภาษีและยังมีการปรับปรุงภาษีในปีหน้า ซึ่งแน่นอนว่าผู้ที่เสียภาษีทั้งหลายคงจะต้องมีการเตรียมตัวและปรับตัวกันพอสมควรกับสภาพการที่จะเกิดขึ้น

นโยบายจากรัฐบาลเหล่านี้ส่งผลกระทบทั้งดีและไม่ดีต่อประชาชนแน่นอน

นโยบายจากรัฐบาลเหล่านี้ส่งผลกระทบทั้งดีและไม่ดีต่อประชาชนแน่นอน

และทั้งหมดที่นำมาให้อ่านภายในวันนี้เป็นนโยบายเกี่ยวด้านเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อประชาชนชาวไทยมากที่สุดซึ่งแน่นอนและว่ามีผลกระทบกับประชานชนทั้งในที่ด้านดี และด้านที่ไม่ดี ซึ่งบ้างนโยบายที่เป็นด้านดีก็เป็นนโยบายที่ถูกสานต่อมาจากช่วงก่อนถูกเอากลับมาสานต่อจนสำเร็จ ซึ่งบ้างนโยบายก็พึงจะเกิดขึ้นในยุค คสช. ซึ่งจะกระทบกับประชาชนหรือป่าวผมว่าก็น่าจะเกือบทุกนโยบายที่กระทบนะครับ แต่จะกระทบมากหรือกระทบน้อย จะกระทบกันโดยตรงเลยหรือจะกระทบกันทางอ้อมก็ต้องไปดูกันอีกที หวังว่าเพื่อนๆจะชอบบทความที่ผมนำเสนอนะครับ ขอบคุณครับที่เข้ามาอ่าน