ในช่วงเวลาที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 หลายคนเลือกที่จะซื้อสินค้าหรือทำธุรกรรมทางการเงินหลายๆอย่างด้วยช่องทางออนไลน์ เนื่องจากทั้งสะดวกและช่วยให้เราไม่ต้องออกไปไหนมาไหนในช่วงที่การออกไปนอกบ้านถือว่ามีความเสี่ยงต่อการทำให้เราติดเชื้อได้ แต่ด้วยความที่มีความนิยมในการเลือกซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ทำให้เกิดกลุ่มมิจฉาชีพในโลกออนไลน์ขึ้น และใช้วิธีการในการหลอกลวงซึ่งทำให้ผู้เสียหายได้รับความเสียหายเป็นจำนวนเงินที่มหาศาล และนั่นทำให้ถือว่าเป็นเรื่องอันตรายครับถ้าเราไม่ระวังและถูกหลอก ดังนั้นเราควรที่จะคอยตรวจสอบดูบ้างครับว่าพวกมิจฉาชีพใช้ช่องทางไหนบ้างในการหลอกลวง แล้วเราจะป้องกันหรือไม่หลงเชื่อพวกมันได้ยังไงกันครับ
หลอกขายสินค้า
วิธีการของมิจฉาชีพ คือจะมีการโพสต์ประกาศขายสินค้าโดยมีการสร้างบัญชีเพจร้านค้าขึ้นมา หรือใช้ Facebook ปลอมเพื่อสร้างโพสต์ประกาศขายสินค้าต่างๆ จากทั้งทาง Facebook, Instagram หรือว่าไลน์แอด ซึ่งก็จะทำเหมือนกับโพสต์ขายสินค้าทั่วไปคือมีการลงรูปสินค้า มีการสร้างโปรโมชั่นลดราคาที่ถูกลงเพื่อที่จะเป็นการจูงใจให้ลูกค้าเข้ามาซื้อ จากนั้นก็จะให้ลูกค้าโอนเงินเข้ามาให้ เพื่อที่จะส่งสินค้าให้ในภายหลัง ซึ่งในบางกรณีมีการสร้างพ่อค้าคนกลางขึ้นมาหลอกด้วย เพื่อทำให้ดูเหมือนว่าไว้ใจได้ จากนั้นเมื่อโอนเงินให้แล้วก็ จะมีการทำเป็นบ่ายเบี่ยงอ้างนู่นอ้างนี่ แล้วในที่สุดก็จะตัดการติดต่อและหนีหายไปครับ
วิธีป้องกันการตกเป็นเหยื่อ อย่างแรกเลยคือเราต้องมีสติเมื่อเข้าไปดูสินค้าต่างๆที่มีการโพสต์ประกาศขาย ต้องเข้าไปดูให้ละเอียดครับอย่าเพิ่งรีบตัดสินใจซื้อ ซึ่งปกติแล้วพวกมิจฉาชีพมักจะมีจุดที่เราสามารถสังเกตเห็นได้ งั้นถ้าเราสังเกตดีๆเราจะจับพิรุธที่พวกมิจฉาชีพใช้ได้ อย่างเช่น ราคาสินค้าต่ำกว่าตามท้องตลาดมากๆ มักจะให้เราโอนเงินค่าสินค้าให้ก่อนล่วงหน้า แต่ไม่มีหลักฐานเพียงพอให้เราเชื่อถือได้ แต่มักจะมีหลักฐานที่ไม่จำเป็นมาใช้อ้าง และอีกหนึ่งอย่างที่เราควรสังเกตก็คือ โพสต์ที่มีการประกาศขาย ตั้งแต่ตัวเจ้าของโพสต์ เพจที่โพส หรืออื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยดูเรื่องของยอด Like หรือการรีวิวจากลูกค้า เนื่องจากว่า พวกมิจฉาชีพมักจะบล็อค ลูกค้าที่เขาเคยหลอกไปแล้ว ดังนั้น ถ้าเราสังเกตว่าไม่มีลูกค้าที่มารีวิวสินค้าหรือมีน้อยจนเกินไป ก็อาจจะต้องระวังเพจเหล่านี้ให้มาก ถ้าไม่จำเป็นก็ควรจะเลี่ยงการติดต่อซื้อขายจากเพจแบบนี้ดีกว่าครับ รวมไปถึงการติดต่อซื้อขายควรที่จะมีพ่อค้าคนกลางที่เก็บเงินไว้ก่อนจนกว่าสินค้าจะมาถึงเราถึงจะจ่ายเงินให้กับคนขาย แล้วถึงแม้ว่าจะมีพ่อค้าคนกลางเราก็ควรที่จะตรวจสอบพ่อค้าคนกลางด้วย เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ใช่เป็นพ่อค้าคนกลางที่สร้างขึ้นมาหลอก ซึ่งก็สามารถตรวจสอบดูได้จากชื่อเสียงของพ่อค้าคนกลางนี่แหละครับ
คุณคือผู้โชดดี ที่กำลังจะถูกหลอก
เป็นวิธีการค่อนข้างจะตรงกันข้ามกับการหลอกลวงขายสินค้าอยู่นิดหน่อย เพราะนี่เป็นการหลอกว่าจะให้สินค้าหรือเงินสดเป็นรางวัลกับเราเลย ไม่อาจจะมีการส่งข้อความเข้ามาในอีเมล ในแชทของ Social Media ต่างๆ โดยมักจะบอกว่าเราเป็นผู้โชคดี จะได้รับรางวัล เป็นสินค้า อย่างเช่น โทรศัพท์มือถือ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือสร้อยคอทองคำ เพียงแค่คุณทำตามขั้นตอนต่างๆเหล่านี้อย่างเช่นให้กรอกข้อมูลต่างๆของเรา อาจจะมีการแสร้งทำเป็นว่าให้เราตอบคำถามหรือเล่นเกมอะไรง่ายๆ จากนั้นก็จะบอกว่าเราจะได้รับรางวัล แต่ให้เราส่งค่าธรรมเนียมบางอย่างให้ก่อน ซึ่งในบางครั้งจะมีการส่งเอกสารต่างๆมาเพื่อให้เรา ดูว่าจะมีการเสียค่าธรรมเนียมอะไรบ้างในการจัดส่งของรางวัลต่างๆเหล่านั้น ซึ่งเอกสารที่ส่งมาจะเป็นเอกสารปลอม และในบางครั้งอาจจะมีการส่งเอกสารต่างๆเหล่านั้น หลายๆรอบเพื่อค่อยๆให้เราจ่ายเงินทีละน้อยๆก่อน แล้วค่อยๆเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และเนื่องจากเงินที่เราจ่ายไปกับค่าธรรมเนียมต่างๆเหล่านั้นอาจจะดูไม่สูงมากเมื่อเทียบกับของรางวัลที่เราจะได้ ดังนั้นกว่าเราจะรู้สึกว่าเราเสียเงินไปมากขนาดไหนก็มาตอนที่เรารู้ตัวว่าถูกหลอกแล้วครับ
วิธีการป้องกันการถูกหลอก อย่างแรกเลยครับเราต้องมีสติ อย่าเพิ่งไปหลงเชื่อกับคำว่าคุณเป็นผู้โชคดี มีสติแล้วเราจะเริ่มจับสังเกตได้ครับว่ามีพิรุธอะไรบ้างที่พวกมิจฉาชีพใช้ อย่างเช่น เกมที่ให้เล่นง่ายเกินไปหรือเปล่าเมื่อเทียบกับสินค้าที่จะได้ ถ้าเป็นแบบนั้นเราก็ต้องคิดแล้วล่ะครับว่าสินค้ามูลค่าขนาดนั้นทำไมให้กันง่ายๆขนาดนี้ และอย่าเพิ่งหลงเชื่อถ้ามีเอกสารต่างๆส่งมาให้กับเราเพื่อเป็นหลักฐานว่ามีค่าธรรมเนียมอะไรบ้างที่เราต้องจ่าย โดยที่เราจะต้องตรวจสอบตราประทับ ลายเซ็น หรือถ้ามีการอ้างว่าให้เราจ่ายเงินให้กับทางกรมศุลกากรหรือหน่วยงานต่างๆของรัฐ เราก็ควรที่จะ ติดต่อสอบถามกับหน่วยงานต่างๆเหล่านั้น ว่าเอกสารเหล่านั้นเป็นของจริงหรือเปล่า แต่จริงๆแล้วส่วนตัวผมคิดว่าเราไม่ต้องไปถึงขั้นนั้นหรอกครับ แค่เห็นข้อความแบบนี้มาเราก็ไม่น่าจะกดเข้าไปดูแล้วล่ะครับ เพราะแทบจะร้อยทั้งร้อยเป็นของพวกมิจฉาชีพหมดแหละครับ
ปล่อยเงินกู้นอกระบบ หลอกให้จ่ายเงินค่าธรรมเนียม
วิธีการในการหลอกลวงด้วยวิธีนี้ก็คือ การโพสประกาศตามสื่อโฆษณาต่างๆที่ทำได้อย่างเช่นใน Facebook อาจจะเป็นในกลุ่ม หรือโพสต์สาธารณะ หรือแปะไว้ในคอมเม้นตามโพสของเพจดังๆที่มีคนติดตามเยอะๆ แล้วก็จะมีโฆษณาต่างๆเพื่อที่จะชักจูงให้คนสนใจเข้าไปขอกู้ยืม อย่างเช่นว่าเป็นบริการเงินกู้นอกระบบที่มีดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติง่ายรวดเร็ว ไม่มีการตรวจสอบอะไรทั้งสิ้น หรืออาจจะมีโปรโมชั่นอื่นๆที่ยั่วยวนใจ แล้วมีเหยื่อหลงกลเข้าไปติดต่อขอยื่นกู้เงิน แก๊งมิจฉาชีพพรุ่งนี้ก็จะมีการส่งสัญญา ต่างๆมาให้กับเหยื่อเพื่อที่จะให้เหยื่อเซ็นต์เอกสาร รวมไปถึงอาจจะให้มีการกรอกข้อมูลต่างๆ เพื่อทำให้ดูเหมือนกับเป็นการทำสัญญากู้ยืมเงินทั่วๆไป ซึ่งในบางกรณีในสัญญานั้นก็จะมีการถามด้วยว่าเราเคยกู้ยืมเงินนอกระบบมาก่อนหรือเปล่า ซึ่งถ้าเราไม่เคยกู้ยืมเงินนอกระบบมาก่อนครับมันก็จะง่ายต่อการทำงานของพวกมิจฉาชีพมีล่ะครับ พวกมันก็จะอ้างครับว่า ในการทำสัญญากู้ยืมเงินจะต้องมีการชำระค่าทำสัญญาค่าเอกสารต่างๆหรือค่าธรรมเนียมรวมไปถึงค่ามัดจำด้วย แล้วส่วนมาก แก๊งมิจฉาชีพเหล่านี้มักจะมีการใช้คำพูดเพื่อเร่งให้เหยื่อรีบๆ จ่ายเงินค่าธรรมเนียมเหล่านั้น โดยจะเป็นคำพูดถึงว่าถ้าไม่รีบจ่ายจะเสียโอกาส เพื่อทำให้เหยื่อไม่ทันคิดหน้าคิดหลังและรีบโอนเงินไปให้ จากนั้นเมื่อทำการโอนเงินไปให้เสร็จสรรพเรียบร้อยแล้ว เมื่อเราติดต่อกลับไปเพื่อขอกู้เงินก็จะถูกบ่ายเบี่ยงหรือติดต่อไม่ได้อีกครับ
วิธีการป้องกันก็คือเราต้องระวังให้มากๆครับ เพราะการกู้เงินนอกระบบไม่มีอะไรมารองรับความปลอดภัยเลย ไม่ว่าจะกู้เงินสำเร็จหรือไม่สำเร็จก็ตาม ดังนั้นต้องคิดให้ดีและรอบคอบมากๆครับเวลาเราจะกู้เงิน ว่าเรามีความจำเป็นจริงๆไหมที่จะต้องไปกู้เงินนอกระบบ แล้วจุดสังเกตอย่างหนึ่งของเงินกู้นอกระบบก็คือ ถึงแม้จะอนุมัติไว แทบไม่ต้องมีหลักค้ำประกัน แต่อัตราดอกเบี้ยของเงินกู้นอกระบบมักจะมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าเงินกู้จากธนาคารครับ
ต้องมีสติเพื่อจะไม่ถูกหลอก
ผมเชื่อครับว่าคงไม่มีเพื่อนคนไหนอยากถูกหรอกใช่ไหมล่ะครับ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่เราจะป้องกันตัวเราเองจากการถูกหลอกจากมิจฉาชีพก็คือการที่เราจะต้องมีสติ การมีสติจะช่วยให้เราสามารถไตร่ตรองกลอุบายต่างๆที่พวกมิจฉาชีพเอามาใช้และไม่ถูกหลอก ถึงแม้ว่าวิธีการของมิจฉาชีพจะทำได้อย่างแนบเนียนมากแค่ไหนก็ตาม วิธีการต่างๆของพวกมันก็มักจะมีช่องโหว่หรือมีพิรุธต่างๆที่เราสามารถจับได้ และถ้าเราไม่มั่นใจหรือรู้สึกว่าเสี่ยงต่อการถูกหลอก เราก็ควรจะหลีกเลี่ยงจากการซื้อขายหรือทำธุรกรรมทางการเงินจากช่องทางที่น่าสงสัยนี้เลยดีกว่า ปลอดภัยไว้ดีกว่าครับ
แก้ว
เดี๋ยวนี้ได้พูดถึงเกี่ยวกับช่องทางการหลอกลวงทาง social media หรือ ถูกหลอกขายของหรือให้ข้อมูลของตัวเองให้กับมิฉาชีพ ถือว่ามีเยอะมากเลยค่ะในอินเทอร์เน็ต ถ้าจะให้เลิกใช้อินเทอร์เน็ตไปเลยก็คงที่จะไม่ได้ เราก็เลยต้องหาวิธีและป้องกันตัวเองจากการถูกหลอกดังกล่าวค่ะ บทความนี้ได้แนะนำและวิธีที่จะช่วยเหลือเราในเรื่องนี้โดยเฉพาะเราจะไม่ตกเป็นเหยื่อนะคะ
จ้าว
สมัยนี้เทคโนโลยีมีเยอะ โอกาสถูกหลอกก็เยอะครับ อย่างข้อความที่บอกว่าคุณเป็นผู้โชคดีนี่ สรุปแล้วผมไม่มั่นใจว่าการที่ได้รับข้อความแบบนี้โชคดีหรือโชคร้ายกันแน่ ถ้าเผลอเข้าไปสมัคร ดูดวง หรือเอาเลขเด็ดอะไรพวกนี้ก็เสียเงินอีก ทำแบบนี้โทรไปที่ Call Center หรือเครือข่ายมือถือก็ยกเลิกได้ครับ แต่ประเภทส่งข้อความมาแล้วโอนเงินเนี่ยพวกนี้เป็นเรื่องยากถ้าจะให้ดีไม่มั่นใจแหล่งที่มาก็อย่ายุ่งกับข้อความเลยดีกว่าครับ
ลูกา
กู้เงินนอกระบบอันตรายอยู่แล้วนะ ต่อให้เป็นคู่ทางออนไลน์แล้วก็ว่าอันตรายคือกู้ทางออนไลน์เรามีโอกาสที่จะสูญเงินมีโอกาสที่จะโดนหลอกแต่กู้เงินนอกระบบจริงๆถึงแม้จะไม่โดนหลอกแต่ตอนตามทวงหนี้โหดน่ากลัวมากเลยนะ ถึงจะมีกฎหมายออกมารองรับ แต่เราคิดว่ามันยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ไม่ใช่ลูกหนี้ทุกคนจะได้รับความคุ้มครองจากกฎหมาย
มิ้น
สมัยนี้ไม่ว่าทำอะไรก็ต้องคิดดีๆก่อน ก่อนที่จะลงมือตัดสินใจเชื่อ สมัยนี้มีสื่อเยอะ และการแชร์ข้อมูลก็เร็วมากๆ ทั้งจริงบ้าง ไม่จริงบ้าง ยังไงก็ต้องใช้เวลาตรวจสอบทุกสิ่งดีๆก่อน จะได้ไม่ถูกหลอกได้ง่ายๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องเป็นผู้โชคดีได้รับสิทธิอะไรๆฟรีๆยิ่งต้องระวัง เพราะไม่มีอะไรได้มาฟรีๆแน่นอน ถ้าเชื่อก็โดนหลอก100%