ทำไมต้องต่อภาต่อภาษีรถยนต์
การต่อภาษีรถยนต์ หรือการต่อทะเบียนรถยนต์นั้นเป็นเรื่องสำคัญมากที่ต้องทำตามกฎหมายนี้ซึ่งหากเรามีรถยนต์สิ่งที่ช่วยเราหากเกิดความเสี่ยงขับรถยนต์ เช่น อาจเกิดอุบัติเหตุที่เราไม่คาดคิดก็เป็นได้ อย่างเช่นอาจจะมีอุบัติเหตุหลายอย่างไม่ชวนและการต่อภาษีรถยนต์ก็ยังบังคับให้ทุกคนทำทุกปีล่วงหน้าได้ทะเบียนหมดอายุไม่เกิน 3 เดือนรีวิวแต่ต้องจำไว้ว่าการต่อภาษีรถยนต์นั้นจำเป็นต้องทำทุกปี เรื่องนี้กฎหมายบังคับเราทุกคนหากชำระล่าช้าก็จะทำให้มีปัญหาตามมมาแน่นอน การติดต่อเป็นระยะเวลาจะถูกระงับทะเบียนและต้องขอเครื่องเปลี่ยนใหม่ที่ทำให้ยุ่งยากเหลือเกินเราก็ต้องทำทุกๆปี ดังนั้น ในบทความนี้มารู้พร้อมๆกันว่าการต่อภาษีนั้นสำคัญอย่างไร? การต่อภาษีรถยต์ต่ออย่างไร? ต่อภาษีรถยนต์เท่าไหร่? ขนาดซีซีของรถต้องจ่ายเท่าไหร่? เสียภาษีรถยนต์ที่ไหนได้บ้าง?
การต่อภาษีรถยนต์สำคัญอย่างไร?
การต่อภาษีรถยนต์ สำคัญมากเพราะเป็นหน้าที่ของรถทุกคันที่ต้องจำเป็นประจำทุกปี ถ้าหากขาดต่อไม่ว่าจะมีเหตูผลอะไรก็ตาม ตำรวจสามารถเปรียบทียบปรับได้นั่นเอง ปรับได้ไม่เกิน 2,000 บาท ซึ่งการต่อภาษีหรือทะเบียนรถนั้นสามารถต่อล่วงหน้าได้ถึง 90 วันด้วยกัน แต่ถ้าเกิดกรณีต่อภาษีช้ากรมการขนส่งจะเรียกเก็บเบี้ยปรับเพิ่มเติมร้อยละ 1% ต่อเดือน ยกตัวอย่างคุณต้องเสียภาษีรถประจำปี ปีละ 2,000 บาท หากคุณลืมต่อภาษี 3 เดือน เท่ากับคุณต้องเสียเบี้ยปรับเท่ากับ 30 บาทนั่นเอง และที่สำคัญหากขาดต่อภาษีเกิน 3 ปีจะถูกระงับการใช้ทะเบียนอีกด้วย
ข้อสำคัญของการต่อภาษีรถยนต์ คือ การต่อภาษีรถยนต์ จะต้องต่อทุกปี ห้ามขาดเด็ดขาด ส่วนในกรณีขาดการต่อภาษีติดต่อกัน 3 ปี ก็จะถูกระงับการใช้ทะเบียน ทำให้เกิดปัญหาและความยุ่งยากในการทำเรื่องขอทะเบียนใหม่ ซึ่งมีข้อดีตรงที่หากเรางานยุ่งมาก เรายังสามารถจัดสรรเวลาสักวันใน 3 เดือนเพื่อไปต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้าได้ แค่เราทำบันทึกแจ้งเตือนไว้ในโทรศัพท์ เพื่อแจ้งเตือนเมื่อใกล้ถึงกำหนดเวลานี่ก็จะช่วยได้นั่นเองค่ะ
รถที่ต้องต่อภาษี ได้แก่ รถยนต์ส่วนบุคคล รถนิติบุคคล รวมถึงมอเตอไซค์ โดยกำหนดเงื่อนไขว่าต้องเข้ารับการตรวจสภาพประจำปีก่อนต่อภาษีดังนี้คือ ถ้าเป็นกรณีรถมอเตอร์ไซค์อายุการใช้งานเกิน 5 ปี ส่วนถ้าเป็นกรณีรถยนต์อายุการใช้งานเกิน 7 ปี นั่นเอง พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ รถทุกคันที่วิ่งบนท้องถนนต้องทำ พ.ร.บ.เนื่องจาก สาเหตุมาจากเมื่อก่อนเกิดเหตุบนท้องถนนมีคนเสียชีวิต บาดเจ็บ คนชนไม่มีกำลังทรัพย์ในการดูแลค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาล หรือแม้กระทั่งค่าปลงศพ รัฐบาลจึงออกเป็นกฎหมายบังคับ เพราะ พ.ร.บ. ตัวนี้จะเข้ามาเยียวยาดูแลผู้เสียหายแทนที่นั่นเอง เรามักเรียก พ.ร.บ. ตัวนี้สั้น ๆ ว่า พ.ร.บ. ภาคบังคับนั่นเอง
ต่อภาษีรถยนต์อย่างไร?
มีอยู่ 2 ขั้นตอน ดังนี้
- ถ้ามีเล่มทะเบียนรถยนต์ สามารถใช้ใบตัวแทนหากรถยนต์ยังผ่อนไม่หมดหรือติดไฟแนนซ์
- เอกสารการต่อประกันภัยภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งปัจจุบันมี บริการรับต่อพ.ร.บ.รถยนต์ออนไลน์แล้ว แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ สิ่งที่เราจะต้องเตรียมเป็นเอกสารที่ใช้ในการ ต่อภาษีรถยนต์ ต่อทะเบียนรถ ให้ครบถ้วน มี 4 อย่างดังต่อไปนี้ 1.หากรถของเรายังอยู่ในช่วงเช่าซื้อกับไฟแนนซ์ ใช้สำเนาทะเบียนรถที่ทางสถาบันการเงินส่งมาให้ 2.ใบตรวจสภาพรถยนต์ในกรณีที่เป็นรถยนต์ที่จดทะเบียนเกิน 7 ปี ต้องไปตรวจสภาพรถที่สำนักงานขนส่งจังหวัด หรือสถานตรวจสภาพรถเอกชน 3.หากเป็นรถติดแก๊สต้องนำเอกสารการรับรองติดตั้งแก๊ส และตรวจสภาพจากวิศวกรแนบมาด้วย ในกรณีที่ติดตั้งระบบ LPG สามารถอยู่ได้ 5 ปีต่อการตรวจสภาพ 1 ครั้ง แต่ถ้าเป็นระบบ CNG จำเป็นต้องตรวจสภาพทุกปี 4.ต้องทำประกัน พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถก่อน จึงจะสามารถต่อทะเบียนรถยนต์ได้ ถ้ายังไม่ต่อ พรบ. ทางกรมขนส่งทางบกได้อำนวยความสะดวกให้ทำ พรบ. ออนไลน์ได้ด้วยเช่นกัน
ต้องต่อภาษีรถยนต์เท่าไหร่?
ให้เรามาดูรถแต่ละอย่างว่า ต้องต่อภาษีเท่าไหร่ดังนี้
1. รถกระบะ 4 ประตู, รถเก๋ง
คือรถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ เป็นประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ไม่เกิน 7 ที่นั่งคำนวณภาษีรถจะขึ้นอยู่กับขนาดเครื่องยนต์ (c.c.) โดยรายละเอียดมีดังนี้
-1-600 c.c. – c.c. ละ 50 สตางค์ -601-1800 c.c. – c.c. ละ 1.50 บาท -1801 c.c. ขึ้นไป – c.c. ละ 4 บาท
ส่วนรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปก็จะมีส่วนลดค่าภาษีดังนี้
-อายุการรถยนต์เกิน 6 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 10% -อายุการรถยนต์เกิน 7 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 20% -อายุการรถยนต์เกิน 8 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 30% -อายุการรถยนต์เกิน 9 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 40% -อายุการรถยนต์เกิน 10 ปีขึ้นไป จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 50%
2. รถกระบะ 2 ประตู
รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว ประเภทรถบรรทุกส่วนบุคคลที่เกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ โดยมีรายละเอียดดังนี้
-น้ำหนักรถ 501- 750 กิโลกรัม – อัตราภาษี 450 บาท -น้ำหนักรถ 751 – 1000 กิโลกรัม – อัตราภาษี 600 บาท -น้ำหนักรถ 1001 – 1250 กิโลกรัม – อัตราภาษี 750 บาท -น้ำหนักรถ 1251 – 1500 กิโลกรัม – อัตราภาษี 900 บาท -น้ำหนักรถ 1501 – 1750 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,050 บาท -น้ำหนักรถ 1751 – 2000 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,350 บาท -น้ำหนักรถ 2001 – 2500 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,650 บาท
3.รถตู้
ป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือน้ำเงิน รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ แต่จะมีการคิดอัตราภาษีแตกต่างจากแบบรถบรรทุก โดยมีรายละเอียดดังนี้
-น้ำหนักรถไม่เกิน 1800 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,300 บาท -น้ำหนักรถเกิน 1800 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,600 บาท
ขนาดซีซีของรถต้องจ่ายเท่าไหร่เมื่อต่อภาษีรถยนต์
ให้เรามีดูรายละเอียดของขนาดซีซีของรถต้องจ่ายเท่าไหร่เมื่อต่อภาษีรถยนต์ ดังนี้
- รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ คือรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับขนาดเครื่อง (cc) รถ (0.5-1.5 บาท/cc) ส่วนรถที่อายุการใช้งานเกิน 6 ปี ลดให้ 10% ขึ้นไป รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน เช่น รถเก๋ง รถกระบะ 4 ประตู รถ SUV รถประเภทนี้คิดภาษี ตามซีซี
-1-600 ซีซีละ 0.50 สตางค์ -601-1800 ซีซีละ 1.50 บาท -1801 ขึ้นไป ซีซีละ 4 บาท
- รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว คือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่เกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ ดังนี้น้ำหนักรถ 501- 750 กก. อัตราภาษี 450 บาท
-น้ำหนักรถ 751 – 1000 กก. อัตราภาษี 600 บาท -น้ำหนักรถ 1001 – 1250 กก. อัตราภาษี 750 บาท -น้ำหนักรถ 1251 – 1500 กก. อัตราภาษี 900 บาท -น้ำหนักรถ 1501 – 1750 กก. อัตราภาษี 1,050 บาท -น้ำหนักรถ 1751 – 2000 กก. อัตราภาษี 1,350 บาท -น้ำหนักรถ 2001 – 2500 กก. อัตราภาษี 1,650 บาท
- รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือสีน้ำเงิน คือรถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ
-น้ำหนักรถไม่เกิน 1800 กก. อัตราภาษี 1,300 บาท -น้ำหนักรถเกิน 1800 กก. อัตราภาษี 1,600 บาท
เสียภาษีรถยนต์ที่ไหนได้บ้าง?
ต่อไปนี้เรามีดูว่าจะไปเสียภาษีรถยนต์ได้ที่ไหนและจะมาดูกันว่า รถประเภทใดบ้างที่สามารถต่อภาษีได้ ดังนี้
1.สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ
ประเภทรถที่สามารถต่อภาษีได้
-รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1) -รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2) -รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3) -รถจักรยานยนต์ (รย.12) -รถแทรกเตอร์ (รย.13) -รถบดถนน (รย.14) -รถพ่วง (รย.16)
2.ที่ทำการไปรษณีย์
ประเภทรถที่สามารถต่อภาษีได้
-รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1) -รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2) -รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3) -รถจักรยานยนต์ (รย.12) -รถแทรกเตอร์ (รย.13) -รถบดถนน (รย.14) -รถพ่วง (รย.16)
3.ห้างสรรพสินค้า
โครงการ "ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี (Shop Thru for Tax)" ประเภทรถที่สามารถต่อภาษีได้
-รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1) -รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2) -รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3) -รถจักรยานยนต์ (รย.12)
4.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
ประเภทรถที่สามารถต่อภาษีได้
-รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1) -รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2) -รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3) -รถจักรยานยนต์ (รย.12)
เงื่อนไข
-เป็นรถที่ไม่มีภาษีค้างชำระหรือมีภาษีค้างชำระไม่เกิน 1 ปี หรือมีภาษีค้างชำระเกิน 1 ปี ที่นายทะเบียนได้ประกาศยกเว้นการตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี -ยื่นขอเสียภาษีประจำปีล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน ก่อนวันครบกำหนดเสียภาษี เว้นแต่รถที่มีภาษีค้างชำระให้ยื่นได้ทันที
##5.จุดบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ
เวลาเปิดวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 7.30 - 15.30 น. ประเภทรถที่สามารถต่อภาษีได้
-รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1) -รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2) -รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3) -รถจักรยานยนต์ (รย.12)
เงื่อนไข
-รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน 7 ปี -รถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน 5 ปี -ทางกรมการขนส่งทางบกจะทำการนำส่งใบเสร็จ และป้ายวงกลมทางไปรษณีย์ ตามที่อยู่ที่ท่านระบุภายใน 10 วันนับจากวันที่ชำระเงิน -ค่าบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส 20 บาท และค่าจัดส่งป้ายวงกลม 40 บาท -รถที่มียอดค้างชำระเกินกำหนด 3 ปี ชำระได้ที่กรมการขนส่งทางบกเท่านั้น
สรุป ทำไมการต่อภาษีรถยนต์เป็นเรื่องที่สำคัญมาก?
เพราะพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ได้ระบุไว้ว่า รถที่จะนำมาใช้ในการขนส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 หรือนำมาจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติรถยนตร์ พ.ศ. 2522 จะต้องมีสภาพมั่นคง แข็งแรง มีลักษณะ ขนาด และเครื่องอุปกรณ์ส่วนควบของรถ ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับรถ ผู้โดยสารไปกับรถคันนั้น ผู้ขับขี่รถคันอื่น ๆ คนเดินถนน รวมทั้งสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ดังนั้นเราที่ต้องการใช้รถยนต์ก็ต้องปฏิบัติตามที่พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ได้กำหนดไว้ เมื่อเราได้รู้ไปแล้วว่าจะต้องทำอย่างไรบ้างก็ควรที่จะทำตามกฎหมายที่ได้แจ้งไว้ ในบทความนี้ก้ได้แจ้งไปแล้วว่าควรจะทำอะไร มีขั้นตอนต่างๆที่เราสามารถไปเสียภาษีหรอต่อภาษีรถยนต์ นับว่าเป็นเรื่องสำคัญมากเพราะอย่างที่เราได้อ่านไปจะเห็นว่าผลเป็นอบ่างไรถ้าเราไม่เสียหรือต่อภาษี เพื่อให้ทุกอย่างราบรื่นเราควรทำตามข้อมูลดังกล่าวจะช่วยเราไม่ให้มีปัญหานั่นเอง
Suntarankul
ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ปกติภาษีรถยนต์ผมก็ต้องทำทุกปีอยู่แล้ว แต่ก็ไม่รู้หรอกครับว่ามีความสำคัญยังไงรู้แต่ว่าถ้าไม่ต่อทุกปีตำรวจจะจับ แต่จากบทความนี้ได้เห็นว่าเพื่อผลประโยชน์ของเราเองด้วย เพราะว่าภาษีต่างๆสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อประเทศชาติ และยังช่วยให้เราสามารถได้รับการคุ้มครองในฐานะที่เป็นประชาชนคนไทยอีกต่างหาก
วิเศษ
ทำไมต้องต่อภาษีรถ ?? เราต้องทำตามกฎหมายงัย (555) ก็เลยต้องต่อภาษีไม่งั้นก็จะถูกปรับ ถูกระงับทะเบียน ด้วย แต่จริงๆแล้วถ้าคิดในแง่ดี ภาษีนี้ก็เอาไปช่วยประเทศชาติบ้านเมืองเเล้วเราก็ได้รับผลประโยชน์ด้วย ถ้ามองลึกลงไปหน่อย การจ่ายภาษีรถยนต์ก็เสมือนเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนหน่วยงานคมนาคม เพื่อเอาไปปรับปรุงการคมนาคมให้ดีขึ้น
น้ำตาล
ภาษีรถยนต์หรือพ. ร.บ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราจำเป็นต้องจ่ายทุกปีเลยนะคะ แต่ก็ไม่ได้ใช้บริการสักทีเพราะไม่เคยเกิดอุบัติเหตุไม่รู้ว่าจะทำไปทำไม แต่รู้แต่ว่าทางรัฐบาลบังคับให้เราต้องเสียเงินไว้ แต่พอได้อ่านบทความนี้ก็ทำความเข้าใจมากขึ้นและรู้ว่าคุ้มค่าในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุเพื่อคุ้มครองในกรณีเกิดอุบัติเหตุทั้งค่ารักษาพยาบาลและในกรณีเสียชีวิตด้วยค่ะ
กันตภณ
มันเป็นเรื่องของกฎหมายที่คนมีรถต้องทำตามนะครับ จริงๆเวลาที่เราขับรถเราก็เห็นป้ายภาษีรถของตัวเองอยู่แล้ว ไม่น่าจะลืมต่อภาษีกันนะ ผมว่าเป็นการผัดวันประกันพรุ่งจนไม่ได้ไปต่อภาษีมากกว่า จึงเลยวันที่กำหนดไปแล้ว นึกได้เมื่อไหร่ก็รีบไปต่อซะคงไม่ลืมไปจนเกิน 3 ปีหรอกมั้ง เขาให้เวลานานมากเลยนะให้ลืมได้ตั้ง 3 ปีแน่ะ
ทศพล
ไม่ทารบเหตุหลอกครับว่า ทำไมเราต้องจ่ายภาษี แต่ที่รู้ๆคือถ้าไม่จ่ายภาษี เวลาเราโดนตำรวจเรียกแล้วจะเสียค่าปรับมากกว่าค่าภาษีอีกครับ ทำไปเถอะครับไม่ต้องมาคิดหลอกว่าทำดีหรือเปล่า เพราะกฏหมายเขาก็กำหนดแล้วนิครับ รถยนต์ ต้องมีการต่อภาษี ถ้าไม่ต่อก็วิ่งไม่ได้ ดีนะที่บ้านเรามีแค่ภาษีนี้ ถ้าไปที่ลาว ต้องเสียภาษีถนนด้วย นะ
ทิว
ก็เหมือนคนอื่นๆครับที่บอกว่าต่อภาษีตามกฎหมาย แต่ประโยชน์ที่ได้ไม่รู้ว่าได้อะไร รู้แต่ว่าได้เสียตังครับผม ไม่ใช่แค่ภาษีรถยนต์นะ ภาษีทุกอย่างเลยครับรู้อย่างเดียวได้เสียตัง ได้ประโยชน์อย่างอื่นนี่ไม่รู้เลย ซึ่งถ้าเป็นการต่อ พรบ. ผมยังรู้นะว่ามีประโยชน์ต่อผู้ขับขี่ แต่ภาษีนี่ไม่รู้ว่าเราได้อะไรนอกจากทำตามกฎหมายเท่านั้นครับ
เนลล์
ก็เป็นคำถามที่หลายคนสงสัยจริงๆนะ ว่าทำไมต้องจ่ายภาษีรถยนต์ทุกๆปีด้วย?เหมือนเสียเงินไปเปล่าๆให้รัฐเลย... ตามปกติรัฐก็มีหน้าที่เอาเงินที่เราเสียภาษีไปบริหารประเทศ เช่นเดียวกันกับภาษีรถยนต์ที่เราจ่ายๆกันไป...หน่วยงานของรัฐเค้าก็จะนำไปใช้ในการสร้างถนนและปรับปรุงเส้นทางการเดินทางต่างให้ดีขึ้น ดังนั้น หน้าทีนี้จึงเป็นของเราทุกคนที่มีรถ เราจะได้มีถนนหนทางที่ใช้งานได้ดีๆกันไงคะ
ร็อคกี้
ผมเข้าใจนะเรื่องต่อภาษีการเสียภาษีรถยนต์ อาจจะมองว่าไม่จำเป็นแต่ว่า ภาษีก็เกิดจากการที่เราใช้รถบนท้องถนนนั่นแหละ ที่มีถนนมาขับขี่กันอย่างสบายๆทุกวันนี้ไปที่ไหนก็ได้ก็เกิดจากภาษีแน่นอนว่ามันไม่ใช่ถนนทุกเส้น ที่จะเรียบๆแต่ก็ยังดีที่มีถนนไว้ใช้คำว่าภาษีที่ต่อทุกปีไม่ใช่ภาระแต่เป็นสิ่งจำเป็นนะ จำเป็นพอๆกับพรบ.ที่ต้องต่อทุกปีนั่นแหละ ต่อๆไปเถอะ
รติรัตน์
จ่ายๆไปเถอะคะภาษีรถยนต์ บ้านเรานี่จ่ายน้อยแล้วนะคะ ถ้าไปที่ประเทศใกล้เรานอกจากภาษีรถยนต์แล้วยังมีภาษีถนนอีกนะคะ แล้วที่ถามว่าภาษีเขาเอาไปทำอะไรก็หลายอย่างคะซ่อม ถนนของเรา หรือทำระบบจราจรนะคะ แต่ตอนนี้ที่เห็นว่าจะเอาไปใช้เยอะที่สุดคือ เอาไว้จ่ายหนี้ตอนที่เราซื้อเรือดำน้ำใหม่อีกสองรำนะคะ ยังไงช่วยกันเสียนะคะ บ้านเราจะได้พัฒนาขึ้นกว่านี้
สมกวัง
ประโยชน์ของการต่อภาษีรถยนต์ ก็คือเราทำถูกต้องตามกฎหมายที่กฎหมายเรียกร้อง แล้วทำให้เราไม่ต้องคอยกับรถแบบระแวดระวังด่านตรวจด้วย เพราะเมื่อเราทำพรบเเละจ่ายภาษีเรียบร้อยแล้วตำรวจก็จะไม่ต้องมาคอยปรับเงินเรา ช่วยให้เราสามารถขับรถยังหายกังวล เพียงแค่จ่ายตามเงื่อนไขแต่ละปีเท่านั้นก็ไม่ถือว่าไม่ได้มากอะไร จ่ายไปเถอะครับ
โซโซ่
เป็นเรื่องที่ทุกคนควรทำนะคะสำหรับการต่อภาษีรถยนต์ ไม่ใช่แค่เป็นการทำถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น แต่มันมีผลดีหลายอย่างกับตัวของเจ้าของรถยนต์และผู้ขับขี่รถยนต์ด้วยค่ะ ทุกครั้งที่ขับรถยนต์ออกไปข้างนอก ผู้ขับขี่และผู้ร่วมเดินทางจะมีความสบายใจมากขึ้น ลดความกังวลและความเครียดได้ด้วย ไม่ได้พูดเล่นนะ ลองถามคนที่มีรถยนต์ดูสิคะ