ในปัจจุบันนี้มีสินค้ามากมายที่ให้เลือกซื้อสำหรับการลดหย่อนภาษี ไม่ว่าจะเป็น RMF หรือ LTF ก็ต่างได้รับความนิยมไม่แพ้กัน แต่วันนี้เราจะมาพูดถึง LTF กันค่ะ หากเพื่อนคนไหนสงสัยว่า LTF นั้นคืออะไร ซื้อ LTF ยังไงให้ลดหย่อนภาษีได้คุ้มเกินคุ้ม! ใครบ้างที่ควรซื้อLTF เราสามารถซื้อLTFได้มากแค่ไหน ซื้อแล้วต้องถือไว้นานแค่ไหนถึงขายคืนได้? ช่วงเวลาไหนที่เหมาะกับการซื้อ LTF? ซื้อ LTF ตัวไหนดี เลือก LTF ได้แล้วจะซื้อยังไง วันนี้เรามีคำตอบมาให้เพื่อนๆทุกข้อสงสัยเลยค่ะ

LTF คืออะไร แล้วดียังไง?

https://img.moneyduck.com/article_attachment/1661237793-plant-growing-from-coins-glass-jar-blurred-nature.jpg

Long Term Equity Fund ที่มีชื่อย่อว่า LTF หรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ซึ่งกองทุนนี้เป็นกองทุนที่เน้นการลงทุนในหุ้นเป็นหลัก เหมาะสำหรับคนทุกกลุ่มที่ต้องการลงทุนในหุ้นระยะยาวและใช้สำหรับการลดหย่อนภาษี แต่อาจไม่มีเวลาในการติดตามการลงทุนอย่างใกล้ชิด หรือไม่มีความชำนาญเกี่ยวกับการลงทุนในหุ้น

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ LTF ที่นี่

ซื้อ LTF ยังไงให้ลดหย่อนภาษีได้คุ้มเกินคุ้ม!

ซื้อ LTF ยังไงให้ลดหย่อนภาษีได้คุ้มเกินคุ้ม!

เมื่อเข้าสู่ช่วงปลายปี นอกจากจะมีเทศกาลวันหยุดมากมายแล้ว นอกนั้นยังเป็นเทศกาลสู่ช่วงการซื้อกองทุนไว้สำหรับลดหย่อนภาษีของคนที่ทำงานกันอีกด้วย กองทุนที่นิยมในการซื้อมาที่สุดก็คงไม่พ้นจากเจ้ากองทุน LTF และ RMF ด้วยเหตุผลที่สำคัญเลยก็คือเราสามารถนำกองทุนเหล่านี้ไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้ แต่คุณจะรู้จักเจ้ากองทุน LTF มากแค่ไหนวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเจ้านี่แบบลึกซึ้งกันค่ะ

  • ใครบ้างที่ควรซื้อLTF?: สำหรับคนที่ควรซื้อเจ้ากองทุน LTF นะคะ คือคนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี โดยคนที่มีฐานภาษีสูงก็จะได้ผลประโยช์จากการซื้อ LTF มากว่าคนที่มีฐานภาษีที่ต่ำกว่า อย่างเช่น สมมุติฐานภาษีของเราอยู่ที่ 40% ถ้าซื้อ LTF 2,000 บาท เราจะนำเงินตรงส่วนนี้มาหักจากรายได้พึงประเมิน 2,000 บาท ถ้าคำนวณแล้วเราสามารถประหยัดภาษีได้ 2,000 x 40% = 800 บาท นั่นมันเหมือนกับการซื้อกองทุน LTF ราคา 2,000 บาทที่มีมูลค่า 1,200 บาท แต่ถ้าหากฐานภาษีของเราอยู่ที่แค่ 20% คำนวณแล้วเราจะประหยัดภาษีได้ 1000 x20% = 200 บาท (เหมือนซื้อ LTF ราคา 1,000 บาท ที่ต้นทุน 800 บาท)
  • เราสามารถซื้อLTFได้มากแค่ไหน: เราสามารถซื้อกองทุน LTF เท่าไหร่ก็ได้ค่ะ โดยที่ไม่จำกัดจำนวนเงินสูงสุด แต่ว่าทางกฎหมายนั้นได้กำหนดให้เราสามารถใช้สิทิ์ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และจำนวนเงินต้องไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี เช่น มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีรวมทั้งปี 1,500,000 บาท จะสามารถลงทุนในกองทุนรวม LTF ได้สูงสุดไม่เกิน 1,500,000 บาท x 15% = 225,000 บาท ถ้าซื้อเกินสิทธิ เงินส่วนที่เกินมานั้นจะไม่สามารถนำมาใช้เป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ และเราต้องถือต่อไปจนครบระยะเวลา แล้วระยะเวลาที่กำหนดไว้ก็คืออย่างน้อย 7 ปีปฏิทิน ตั้งแต่ปีภาษี 2559 เป็นต้นไป และกำไรจากการขายกองทุนที่ซื้อเกินสิทธิต้องนำมารวมเป็นรายได้ประจำปี แล้วยื่นเสียภาษีอีกต่อด้วยค่ะ
  • ซื้อแล้วต้องถือไว้นานแค่ไหนถึงขายคืนได้? : ตามกฎหมายได้กำหนดให้ผู้ซื้อกองทุน LTF ต้องถือครองกองทุนเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 7 ปีปฏิทิน ถ้าจะให้คิดง่ายๆเลยคือ อย่างน้อย 5 ปี 2 วัน อย่างเช่น ซื้อ LTF ในวันที่ 25 ธันวาคม 2559 จะต้องถือไปจนถึงวันที่27 มกราคม 2564 หากว่าเราขายกองทุนก่อนที่จะถึงเวลาครบกำหนด เราจะต้องเสียภาษีย้อนหลังพร้อมกับเงินเพิ่ม และถ้ามีกำไรจากการขายคืนต้องนำไปรวมเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีอีกด้วยค่ะ
  • ซื้อLTFแล้วจะลดหย่อนภาษีได้กี่ครั้ง? : ถ้าเราเจ้าซื้อกองทุน LTF ในปีไหน เราก็สามารถนำมาใช้ในการลดหย่อนภาษีได้เพียงแค่ครั้งเดียวค่ะ หากว่าในปีต่อมาเราต้องการสิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีอีกเราก็ต้องซื้อกองทุน LTF อีกครั้งค่ะ
  • กำไรจากการขายต้องเสียภาษีหรือไม่? : กำไรที่ได้จากการขายหน่วยลงทุน (กรณีที่เป็นไปตามเงื่อนไขการลงทุน) ไม่ต้องเสียภาษีค่ะ
  • ช่วงเวลาไหนที่เหมาะกับการซื้อ LTF? : โดยปกติแล้วเวลาที่คนส่วนมากนิยมซื้อกองทุน LTF ก็คือช่วงปลายปี แต่อันที่จริงแล้วกองทุน LTF นั้น สามารถซื้อเมื่อไหร่ก็ได้ ยิ่งถ้าเราซื้อในช่วงที่ราคาหุ้นนั้นเริ่มปรับตัวลงน่าจะดีที่สุด เพราะเราจะซื้อกองทุน LTF ด้วยต้นทุนที่ต่ำ แต่ถ้าหากว่าเราไม่มีความรู้เรื่องหุ้นหรือเราไม่มีเวลาที่จะไปซื้อเลย ก็ยังมีอีกวิธีหนึ่ง นั่นก็คือ DCA (Dollar-Cost Averaging) หรือที่เราเรียกว่า การทยอยซื้อแบบเฉลี่ยต้นทุน นั่นก็คือ การทยอยซื้อกองทุนทุกๆเดือน เดือนละจำนวนเท่าๆกันโดยที่ไม่สนใจว่าช่วงนั้นราคาหุ้นจะเป็นอย่างไรก็จะทำให้ต้นทุนการซื้อเราออกมาเป็นค่าเฉลี่ยของทั้งปีค่ะ

ซื้อ LTF ตัวไหนดี

ซื้อ LTF ตัวไหนดี

หลักการของการซื้อกองทุนรวมนั้นก็เหมือนกับการที่เราเอาเงินลงทุนไปให้ผู้เชี่ยวชาญลงทุนให้ เพราะฉะนั้นแล้วการเลือกลงทุนกับกองทุนใดกองทุนหนึ่งต้องทำการศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดในด้านต่างๆ ต่อไปนี้ค่ะ

1.นโยบายการลงทุนของกองทุน

เราลงทุนในธุรกิจประเภทไหน โดยเน้นที่หุ้นปันผล หุ้นขนาดใหญ่ หุ้นเติบโต หรือว่าเราอ้างอิงตามดัชนี SET50 โดยเราสามารถหาอ่านได้จากหนังสือชี้ชวนได้เลยค่ะ ซึ่งในนั้นจะมีข้อมูลอยู่ในเว็บไซต์ของแต่ละกองทุน

2.เรารับความเสี่ยงได้แค่ไหน?

เพื่อนอาจจะเคยได้ยินคำนี้นะคะ ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง ซึ่งก็ถูกจริงๆค่ะแน่นอนค่ะว่าทุกการลงทุนนั้นมีความเสี่ยง หากเราสามารถที่จะรับความเสี่ยงได้มากก็สามารถที่จะลงทุนในกองทุนที่มีความเสี่ยงมากได้เช่นกัน แต่ถ้าหากเรารับความเสี่ยงได้ค่อนข้างจำกัด แนะนำให้เราซื้อกองทุนในหุ้นไม่เกิน 70% ซึ่งโดยผลที่ตามมาเราอาจะได้ผลตอบแทนน้อยกว่าในกรณีที่ได้กำไร แต่ถ้าหากขาดทุน ก็เจ็บน้อยกว่าเช่นเดียวกันค่ะ เจ็บนิดๆค่ะ

3.มีการจ่ายเงินปันผลหรือไม่?

นอกจากกองทุน LTF สามารถลดหย่อนภาษีได้แล้วนั้น ถ้าหากกองทุนนั้นมีการจ่ายเงินปันผลด้วย ก็เหมือนกับว่าเรานั้นได้กำลังสอง

เด้งเลยแหละค่ะ หลายๆคนก็เลยเลือกซื้อกองทุน LTF ที่มีนโยบายเกี่ยวกับการจ่ายปันผลค่ะ(ซึ่งเราก็ต้องเสียเงินภาษี 10% ของเงินปันผลนั้นด้วยค่ะ แล้วเรายังสามารถเลือกได้ว่าจะหัก ณ ที่จ่าย หรือว่าจะยังไม่หัก ณ ที่จ่าย ต้องนำเงินปันผลนั้นมารวมกับเงินได้ประจำปีด้วย เพื่อเสียภาษีตามฐานภาษีของเราค่ะ) ส่วนใครที่เลือกกองทุนแบบไม่จ่ายปันผล ก็ไม่ต้องจ่ายภาษีในส่วนนี้เช่นกันค่ะ

4.ผลการดำเนินงานย้อนหลังเป็นอย่างไร?

เช็คประวัติการดำเนินงานของ LTF กองที่เราสนใจซื้อ ตรวจสอบผลการดำเนินงานในรอบ 1 ปี 3 ปี หรือ 5 ปี ถ้าเป็นกองทุนที่จ่ายปันผลก็ต้องดูว่าจ่ายปันผลเท่าไหร่ สม่ำเสมอหรือไม่ และท่องไว้ในใจสักหน่อยว่า ผลการดำเนินงานในอดีตและปัจจุบัน ไม่ได้เป็นตัวการันตีผลการดำเนินการในอนาคต

เลือก LTF ได้แล้วจะซื้อยังไง

เลือก LTF ได้แล้วจะซื้อยังไง

1.เตรียมเอกสารให้พร้อม

เอกสารที่สำคัญสำหรับการเปิดบัญชีกองทุนหลักๆมีด้วยกัน 2 อย่างนั้นก็คือ "สำเนาหน้าแรกของสมุดเงินฝากธนาคาร" และ   "บัตรประจำตัวประชาชน" ซึ่งจะใช้ในกรณีที่รับเงินค่าขายคืน หน่วยลงทุน ผ่านบัญชีหรือแม้กระทั่งรับเงินปันผลซึ่งโดยส่วนมากแล้วทางบัญชีธนาคาร กับ บลจ. ที่เราจะซื้อกองทุนด้วยนั้น ไม่จำเป็นเลยที่จะต้องเป็นที่เดียวกัน แต่อาจจะมีบางธนาคารที่กำหนดแน่ชัดมาเลยว่าต้องใช้บัญชีเงินฝากของแต่ละธนาคารนั้นโดยเฉพาะ และถ้าหากเราไม่มีธนาคารนั้น ก็สามารถเปิดบัญชีเงินฝากพร้อมกับบัญชีกองทุนได้ที่ธนาคารในครั้งเดียวกันได้เลยค่ะ

2.พร้อมแล้วก็ไปเปิดบัญชีกันเลย

โดยเราสามารถไปติดต่อได้ที่ บลจ. หรือธนาคารที่เป็นตัวแทนซื้อขายกองทุนนั้นๆได้เลย สำหรับการเปิดบัญชีครั้งแรกนั้น เจ้าหน้าที่จะให้เอกสารเพิ่มเติมให้เรามากรอกข้อมูล เช่น ใบคำขอใช้บริการธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ต(แนะนำว่าเปิดบริการนี้ไปด้วยจะดีมาก เพราะเราจะได้สะดวกเวลาซื้อ-ขายหน่วยลงทุนครั้งต่อไป เพราะครั้งต่อไปเราสามารถทำธุรกรรมทางการเงินผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้เลย) บัตรลายมือชื่อ ใบคำขอเปิดบัญชีกองทุน หรือแบบประเมินความเสี่ยงในการลงทุนและเอกสารอื่นๆ เอกสารเพิ่มเติมนั้นมีให้เรากรอกข้อมูลเยอะทีเดียว เพราะฉะนั้นเตรียมเผื่อเวลาไปไว้ด้วยก็ดีค่ะ เผื่อมีข้อผิดพลาด

3.สั่งซื้อกองทุน

เมื่อเราได้ทำการเปิดบัญชีไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  เราก็สามารถซื้อกองทุนได้เลย โดยที่เรากรอกข้อมูลลงไปในคำขอซื้อ เมื่อกรอกข้อมูลอะไรครบเรียบร้อยแล้วก็จะได้สมุดบัญชีที่เป็นกองทุนมาอีก 1 เล่ม และเราสามารถไปเปิดบัญชีกองทุนไว้ล่วงหน้าก่อน แล้วค่อยมาซื้อตอนหลังก็ได้ ยิ่งถ้าเรานั้นได้เปิดบริการทำธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ตไว้แล้ว และเมื่อเราได้รับ Username และ Password ก็สามารถคลิกไปซื้อในอินเทอร์เน็ตได้เลย จะเห็นได้ว่าสะดวกสบายและรวดเร็วมาก และจะทำการชำระเงินจากการหักจากบัญชีธนาคารค่ะ ในแต่ละกองทุนก็จะมีการกำหนดอัตราขั้นต่ำในการซื้อไว้ด้วยนะคะ อย่างเช่น ในบางกองทุนอาจจะกำหนดให้ ซื้อหน่วยลงทุนขั้นต่ำครั้งแรก 2,000 บาท แล้วส่วนในครั้งต่อๆไปซื้อได้ขั้นต่ำ 1,000 บาท ซึ่งตรงนี้สามารถสอบถามกับทางเจ้าหน้าที่ของธนาคารได้ค่ะ

และสุดท้ายนี้ในการเลือกซื้อกองทุน LTF นั้น ควรที่จะวางแผนเรื่องเวลาให้ดี และซื้อกองทุน LTF ให้ทันเพื่อที่เราจะได้ใช้สิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีของในปีนี้ และยิ่งใกล้ๆปลายปีจะเป็นช่วงที่ผู้คนต่างออกไปซื้อกองทุนในการลดหย่อนภาษีต่างๆมากมาย เพราะว่าถ้าหากเราซื้อกองทุนไม่ทันเราก็จะอดได้ใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษี เท่ากับว่าเราต้องรอไปอีกทีปีหน้าเลย ยังไงสำหรับใครที่ไม่เคยซื้อกองทุน LTF เลย แล้วกำลังซื้อเป็นครั้งแรกศึกษาข้อมูลให้ดีๆก่อนที่จะเลือกซื้อนะคะ สุดท้ายนี้ดิฉันหวังว่าบทความทีฉันเขียนจะมีประโยชน์แก่เพื่อนๆไม่มากก็น้อย หากสนใจสอบถามเพิ่มเติมกับผู้เชี่ยวชาญจาก MoneyDuck ได้ที่นี