ในบทความนี้ เราจะมาพูดถึงเรื่องของเงินบำนาญ และวิธีใช้อย่างฉลาดสำหรับคนวัยเกษียณหรือคนใกล้จะเกษียณก็ได้ เมื่อคุณมีอายุได้ 55-60 ปี จะเท่ากับว่าคุณนั้นอยู่ในวัยเกษียณแล้ว คุณจะต้องเกษียณคือไม่ต้องทำงานแล้วแต่คุณก็ยังจะได้เงินรายเดือนอยู่ที่เรียกว่าเงินบำนาญแต่เนื่องด้วยที่คุณเกษียณไม่ต้องทำงานแล้วเงินบำนาญที่ได้เลยจะได้ไม่เท่ากับเงินเดือนตอนที่คุณกำลังทำงานอยู่ และด้วยเหตุผลนี้ทำให้คนที่กินเงินบำนาญนั้นมีเงินไม่พอต่อค่าใช้จ่ายของตัวเอง และต้องมีการวางแผนที่ดีอยู่เสมอในการใช้เงินบำนาญในแต่ละเดือน

ใครที่รู้ในว่าที่ทำงานของตัวเองมีสวัสดิการเรื่องของการเกษียณอยู่ คุณทุกคนจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ เงินบำนาญและเงินบำเหน็จว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร พอเมื่อคุณถึงวัยเกษียณคุณจะต้องเลือกระหว่างเงินบำนาญและเงินบำเหน็จ จะเงินบำนาญก็อย่างที่ทุกคนรู้กันคราวๆไปตอนต้น ส่วนเงินบำเหน็จคือเงินที่จะทำการจ่ายให้กับผู้ที่ถึงวัยเกษียณเหมือนกับเงินบำนาญนั้นแหละครับแต่จะจ่ายให้เป็นก้อนแล้วจบส่วนใหญ่ก็จะมีในบริษัทเอกชนสักส่วนใหญ่ที่ใช้ระบบนี้คือเงินบำเหน็จแต่ระบบราชการไทยจะมีให้เลือกทั้งสองประเภทแล้วแต่คุณว่าจะเลือกประเภทไหน

เงินบำนาญคืออะไร?

เงินบำนาญคืออะไร?

อาจจะยังไม่เข้าใจชัดเจนว่าเงินบำนาญ คืออะไร?  เงินบำนาญ คือ เงินที่ทุกคนที่อยู่ในวัยเกษียณจะได้รับหลังจากเกษียณแล้วเป็นรายเดือนจนกว่าผู้รับจะเสียชีวิตส่วนเรื่องของจำนวนว่าจะได้เท่าไรต่อเดือนอันนั้นก็แล้วแต่เงินเดือนของคุณและตำแหน่งของคุณก่อนเกษียณแต่เงินบำนาญจะไม่มีทางได้เยอะกว่าเงินเดือนก่อนเกษียณแน่นอน และเมื่อผู้ที่รับเงินบำนาญเสียชีวิตเงินบำนาญจะรวบยอดจ่าย 30 เท่า ให้แก่ทายาทและสิ้นสุดการจ่ายเงินบำนาญ และระบบเงินบำนาญจะมีให้แก่ผู้ที่รับราชการเท่านั้นส่วนเอกชนจะไม่มีผู้ที่ทำงานเอกชนจะได้รับเป็นเงินบำเหน็จแทน ที่นี้เรามาดูดีกว่าว่าผู้ที่ได้รับเงินบำนาญจะมีวิธีใช้เงินบำนาญอย่างไรให้ฉลาด

จัดสรรเงินบำนาญเป็นสัดส่วน

จัดสรรเงินบำนาญเป็นสัดส่วน

วิธีการจัดสรรเงินบำนาญเป็นสัดส่วน คือ เมื่อได้รับเงินบำนาญมาในแต่ละเดือนจะต้องแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก คือ เอาไว้ใช้จ่าย และจะต้องมีส่วนที่สอง ส่วนนี้แบ่งเอาไว้จะกี่เปอร์เซ็นก็ได้ของเงินบำนาญที่ได้รับแต่จะต้องแบ่งไว้ส่วนที่สองเป็นเงินเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉิน ยามจำเป็น เช่น เมื่อเจ็บป่วยเข้าโรงบาล ยิ่งถ้าเป็นคนที่ใช้ชีวิตอยู่คนเดียวไม่มีภรรยา ลูก หลาน แล้วล่ะก็ ยิ่งจำเป็นที่จะต้องจัดสรรเงินตามนี้คือสอส่วน ส่วนแรกใช้จ่าย ส่วนที่สองคือเงินเก็บยามจำเป็น

หารายได้เสริมเข้ามาบ้าง

หารายได้เสริมเข้ามาบ้าง

แน่นอว่าเมื่อถึงวัยเกษียณ คือ อายุ 55-60 คุณไม่สามารถี่จะทำงานได้อย่างตอนหนุ่มๆสาวๆจะให้คุณหางานทำก็คงไม่ใช่แต่ที่บอกหารายได้เสริมคือการหาอาชีพที่สามารถทำที่บ้านได้และเป็นงานที่ไม่หนักไม่ต้องใช้แรง โดยวิธีการหาอาชีพแบบนี้ก็สามารถหาได้จากตามสถาบันต่างๆหรือในโลกออนไลน์สมัยนี้ก็มีมากมายและเอามาทำที่บ้านได้ในช่วงวัยเกษียณ ยกตัวอย่าง ก็ถ้าเป็นคุณผ็หญิงก็อาจจะลองฝึกทำขนมถ้ามั่นใจในฝีมือแล้วอาจจะลองทำแล้วเอาไปฝากร้านค้าก็ได้ ส่วนถ้าเป็นคุณผู้ชาย อาจจะลองทำสวนเล็กน้อยๆปลูกผัก ปลูกผลไม้ที่ตนเองอยากจะรับประทาน เมื่อปลูกแล้วรับประทานไม่หมดอาจจะเก็บไปขายที่ตลาดก็ได้ เป็นการหารายได้เสริมง่ายๆ

ดูแลสุขภาพให้ดี

ดูแลสุขภาพให้ดี

การดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองให้ดีก็เป็นการใช้เงินบำนาญอย่างฉลาดเหมือนกัน หลายคนอาจจะสงสัยว่าดูแลสุขภาพมันไปเกี่ยวยังไงกับการใช้เงินบำนาญอย่างฉลาด ต้องบอกว่าเกี่ยวสิครับ ให้ทุกคนลองนึกดูนะครับถ้าเราดูแลรักษาสุขภาพมีการออกกำลังกายร่างกายแข็งแรง เราก็จะไม่เจ็บป่วย เมื่อเราไม่เจ็บป่วย เราก็จะไม่ต้องมีค่ารักษาพยบาล คนในวัยเกษียณถ้าไม่มีการดูแลรักษาสุขภาพให้ดีบอกเลยว่าคุณอาจจะต้องไปใช้ชีวิตที่เหลือหลังเกษียณในโรงพยาบาลอย่างแน่นอน แล้วคิดดูค่ารักษาสิครับว่ามันจะเท่าไรต่อเท่าไรทั้งค่ายาค่านอนโรงพยาบาล แล้วถ้าสมมุลไม่ดูฉลรักษาสุขภาพ แต่ป่วยไม่ถึงขั้นนอนโรงพยาบาลก็ยังมีค่ายาอยู่ดี ถ้าเทียบกับคนวัยเกษียณที่ดูแลรักษาสุขภาพเขาก็จะไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้แน่นอน การดูแลรักษาสุขภาพก็แน่นอนผมไม่ได้จะบอกให้คนอายุ 55-60 ออกไปเตะบอลหรอกนะครับ การดูแลรักษาสุขภาพสำหรับผู้สูงวัยก็ง่ายเริ่มด้วยการกินของที่มีประโยชน์พักผ่อนให้เพียงพอ แค่นี้ก็มีสุขภาพดีแล้วล่ะครับ หรืออาจจะเลือกที่จะซื้อประกันสุขภาพเผื่อเอาไว้ก็ได้ก็เป็นการดูแลสุขภาพทางอ้อมเมื่อกันเมื่อเกิดเจ็บป่วยก็ไม่ต้องใช้เงินตัวเองในการรักษา

อย่าสร้างหนี้

อย่าสร้างหนี้

ข้อนี้บอกเลยว่าใช้ได้ไม่ใช่กับการใช้เงินบำนาญเท่านั้น แต่การใช้เงินเดือนตอนที่ไม่เกษียณก็ใช้ได้เหมือนกัน เพราะการสร้างหนี้เป็นวิธีการใช้เงินที่ไม่ฉลาดเอาสักเลย และยิ่งถ้าตัวคุณนั้นอยู่ในวัยเกษียณ และมีเงินบำนาญทุกเดือนเป็นรายรับคุณอาจจะมีศักยภาพในการสร้างหนี้ได้ในมุมมองของธนาคารแต่แนะนำว่าให้คุณหลีกเลี่ยงการสร้างหนี้เอาให้อยู่ห่างๆจากตัวคุณไปเลย และด้วยปัจจัยที่ว่าอายุและศักยภาพในการหาเงินของคุณด้อยลง หนี้เป็นสิ่งที่เพิ่มภาระให้ในด้านการเงินมากขึ้น จึงไม่เหมาะสมที่คุณจะไปสร้างหนี้สิ้นในช่วงวัยเกษียณ

ควรมีเงินเก็บไว้บ้าง

ควรมีเงินเก็บไว้บ้าง

และข้อนี้สำหรับคนที่ใกล้จะเกษียณนะครับไม่ใช้สำหรับคนที่อยู่ในวัยเกษียณแล้ว เพราะเราจะพูดถึงก่อนที่จะเกษียณ คุณควรที่จะมีเงินเก็บไว้ด้วยสักนิดสักหน่อย ไม่ใช่หวังพึงแต่เงินบำนาญเท่านั้น ซึ่งถ้าคุณศึกษาเรื่องการเงินแน่นอนว่าจะต้องมาคำแนะนำในเรื่องการเก็บเงินแน่นอนเพราะอย่างที่บอกว่าเงินบำนาญจะมีแค่ผู้ที่รับราชการเท่านั้นที่จะได้เงินบำนาญบุคคลอื่นที่ทำงานเอกชนบริษัทต่างๆจะได้ก็แค่เงินบำเหน็จเพราะฉะนั้นคนพวกนี้จะต้องมีการวางแผนการเงินและมีการแบ่งเงินเก็บด้วยไว้ใช้ในยามเกษียณ คุณก็เหมือนกันถึงจะมีเงินบำนาญรอคุณอยู่ในตอนเกษียณแต่คุณก็ควรที่จะมีการเก็บเงินไว้บ้างเป็นการฝึกการจัดสรรปันส่วนเงิน ก่อนที่จะเกษียณ และเงินที่คุณเก็บมานั้นสามารถที่จะนำไปลงทุนต่อยอดเพื่อที่คุณจะได้มีรายได้เข้ามาอีกหนึ่งทางนอกจากเงินบำนาญด้วย

ใช้จ่ายอย่างประหยัด

ใช้จ่ายอย่างประหยัด

อันนี้ก็แน่นอน การใช้จ่ายอย่างประหยัดเป็นวิธีการใช้เงินอย่างฉลาดไม่ใช่แค่กับการใช้เงินบำนาญแต่รวมไปถึงเงินเดือนด้วยการใช้เงินอย่างประหยัดเป็นวิธีใช้เงินอย่างฉลาดที่คนรวยนิยมใช้กันมากที่สุด พูดถึงคนในวัยเกษียณส่วนใหญ่อายุ 55-60 ก็มักจะมีลูกและหลานคอยดูแลค่าใช้จ่ายอย่างค่ากินค่าอยู่ก็มักที่จะไม่ต้องออกเองเงินในส่วนนี้ก็ควรเก็บไว้ใช้ในยามจำเป็นเท่านั้น แต่ถ้าเป็นคนที่ใช้ชีวิตอยู่ตัวคนเดียวค่าใช้จ่ายต่างๆที่ไม่มีลูกมีหลานคอยดูแลก็ต้องประหยัดใช้เหมือนกัน อย่างเช่น ค่าท่องเที่ยว จริงอยู่ที่ว่าวัยเกษียณเป็นวัยที่ต้องพักผ่อนจากการทำงานที่ทำมากว่า สิบๆปี เป็นวัยที่ต้องเที่ยวพักผ่อน แต่ก็ไม่ควรใช้เงินไปกับการเที่ยวพักผ่อนมากเกินไป และถ้าหากการเงินนั้นไม่ค่อยอำนวยด้วยแล้วก็ควรเลือกท่องเที่ยวพักผ่อนตามสถานที่ที่ไม่ต้องใช้เงินจำนวนมากแต่ก็ได้เที่ยวได้พักผ่อนเหมือนกันจะดีกว่า

วิธีการใช้เงินบำนาญให้อยู่รอดไปกับคุณตลอด

วิธีการใช้เงินบำนาญให้อยู่รอดไปกับคุณตลอด

วิธีทั้งหมดทั้งมวลที่นำมาในวันนี้ก็เป็นวิธีการใช้เงินบำนาญอย่างฉลาดที่สามารถทำตามได้ง่ายๆ สำหรับผู้ที่อยู่ในวัยเกษียณแล้วหรือผู้ที่ใกล้จะถึงวัยเกษียณ ควรที่จะนำวิธีเหล่านี้ไปลองใช้และปรับใช้ดูให้เข้ากับการเงินของตัวเอง แม้ว่าตัวคุณเองที่อยู่ในวัยเกษียณจะไม่รู้ว่าตัวเองจะได้อยู่ต่อไปและได้ใช้ชีวิตต่อไปอีกก่ปีแต่การที่ใช้เงินที่ได้รับมาหมดอย่างรวดเร็ว ก็ไม่ส่งผลดีต่อตัวคุณทุกคนอย่างแน่นอนในระยะยาว ดังนั้นการที่คุณมีรายได้อยู่ถึงว่ามันจะไม่ได้มากมายอะไร แต่มันก็สามารถเลี้ยงตัวคุณเองได้ไปจนเสียชีวิต เพราะฉะนั้นเราก็จะต้องมีการบริหารเงินที่ได้มาให้เป็นอยู่เสมอ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีบุตรหลานคอยดูแลยิ่งต้องบริหารค่าใช้จ่ายให้เป็น เพราะเมื่อเจ็บป่วยขึ้นมาจะไม่มีใครดูแลคุณต้องดูแลตัวเองทั้งเรื่องของค่าใช้จ่ายในการรักษาและค่ายาทั้งหมด เพราะเหตุนี้เมื่อได้รับเงินมาควรคิดให้ไกลอย่างคิดแค่ว่าวันนี้และวันพรุ่งนี้อย่างเดียวเมื่อคุรเข้าสู่วัยเกษียณแล้ว