เป็นเรื่องปกติมากที่ผู้คนในวัยเรียน ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน หรือนักศึกษาก็มักจะยังไม่ได้ใส่ใจอย่างเต็มที่กับเรื่องการเงินถ้าพูดถึงในสมัยก่อนๆ แต่ถ้าในสมัยนี้การสนใจเรื่องการเงินนั้นมีมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นวัยไหนเพราะโลกที่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากขึ้นทำให้เรื่องการเงินกลายเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเราทุกคนมากขึ้น ดังนั้นใครที่รู้ตัวว่ากำลังอยู่ในวัยเรียนก็อย่ามองข้ามเรื่องการเงินนะคะ แต่อยากให้หันมาสนใจเรื่องการเงินมากขึ้นเพื่อเป็นการวางรากฐานทางการเงินที่ดีตั้งแต่ยังไม่เริ่มทำงานอย่างเต็มตัวเพื่อสร้างโอกาสทางด้านงานอาชีพที่ดีกว่าให้คุณได้
แต่นักเรียน และนักศึกษาส่วนใหญ่ในทุกวันนี้ก็มักจะทำงานไปด้วยเรียนไปด้วยอยู่แล้ว บางคนก็ทำงานพาร์ทไทม์เป็นลูกจ้าง ส่วนบางคนที่ครอบครัวมีฐานะก็หันมาลงทุนตั้งแต่ยังเรียนอยู่ก็มี ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เป็นการทำมาหากินทั้งสิ้นไม่ว่าจะหาเงินมาด้วยวิธีไหนแต่สิ่งที่ต้องทำไปพร้อมๆกับการหาเงินก็คือ การออมเงิน ซึ่งการเก็บออมเงินนี้ช่วยให้คุณได้รับประโยชน์ต่างๆมากมาย และที่สำคัญมันสร้างความภาคภูมิใจให้คุณได้ไม่น้อยเลยเมื่อคุณมีพื้นฐานทางการเงินที่ดีตั้งแต่เด็กๆ คุณจะภูมิใจที่ได้ดูแลตัวเองในเรื่องค่าใช้จ่าย คุณจะภูมิใจที่สามารถหาเงินเองไปด้วยและยังเก็บเงินได้ด้วย คุณจะภูมิใจที่มีเงินช่วยเหลือครอบครัวยามจำเป็นได้ เห็นมั้ยคะว่าคุณจะได้รับความภูมิใจในหลายๆด้าน และพ่อแม่จะภูมิใจในตัวคุณมากมากด้วยค่ะ บทความนี้จึงจะมาบอกกันว่าคุณจะเก็บเงินอย่างไรดีเพื่อจะมีเงินเก็บอย่างภาคภูมิใจ นอกจากเก็บเงินแล้วต้องทำอะไรอีกบ้างควบคู่ไปด้วยกันค่ะ บทความนี้จะมาบอกทั้งหมด
เริ่มต้นด้วยการลงทุน
เหมือนอย่างกล่าวมาแล้วในคำนำว่าบางคนก็หาเงินในวัยเรียนด้วยวิธีที่แตกต่างกัน แต่ไม่ว่าคุณจะทำงานหาเงินโดยวิธีไหนก็อยากจะแนะนำให้พยายามเริ่มต้นการลงทุน เพราะจะเป็นทางเดียวเท่านั้นที่คุณจะสามารถเก็บเงินได้อย่างต่อเนื่องยาวนานและเพิ่มมากขึ้น มากกว่าการทำงานอาชีพเท่านั้น ซึ่งการลงทุนที่ว่านี้ก็คือ การลงทุนในตลาดหุ้น การลงทุนในกองทุนต่างๆ ไม่ใช่การลงทุนทำธุรกิจนะคะเพราะเมื่อคุณยังเรียนอยู่คงไม่มีเวลามากขนาดนั้นที่จะไปดูแลกิจการธุรกิจได้ และการลงทุนในแบบที่แนะนำนี้ไม่ต้องเสียเวลาหรือเงินลงทุนมากมาย เพียงแค่จัดสรรเงินบางส่วนเพื่อลงทุนและรอรับผลตอบแทนเท่านั้นค่ะ แม้รายได้ของแต่ละคนจะไม่เหมือนกันไม่เท่ากันแต่ใครๆก็สามารถลงทุนแบบนี้ได้เพราะมีหลายแบบให้เลือกและมีให้เลือกว่าจะเริ่มต้นลงทุนด้วยจำนวนเงินเท่าไหร่ด้วย
คุณสามารถเลือกที่เหมาะสมกับตัวคุณได้ค่ะ และการลงทุนแบบนี้ถึงแม้จะมีความเสี่ยงอยู่บ้างแต่ก็ไม่มากเท่าไหร่คงพอจะรับได้ และที่สำคัญถึงจะมีการขาดทุนหรือได้รับผลตอบแทนน้อยหน่อยก็ไม่กระทบต่อการเงินของคุณ เพราะเงินในส่วนของการลงทุนนั้นได้แยกออกมาแล้วจากค่าใช้จ่ายอื่นๆ เมื่อบอกอย่างนี้แล้วเราก็มาดูข้อต่อไปกันเลยว่าจะลงทุนอย่างไรเพื่อจะไปกระทบต่อเงินส่วนอื่นๆโดยเฉพาะเงินที่ต้องใช้จ่ายประจำวันค่ะ
ลงทุนอย่างฉลาดไม่เดือดร้อนค่าใช้จ่ายประจำวัน
การลงทุนนั้นมีความเสี่ยง คำนี้กลายเป็นคำเตือนที่ติดหูไปแล้ว แต่มันก็จริงอะนะ แต่รู้หรือไม่ว่าการลงทุนที่มีความเสี่ยงนั้นนอกจากจะมาจากการลงทุนโดยตรง ก็มีความเสี่ยงที่มาจากเงินลงทุนของคุณเองนั่นแหละที่ทำให้การลงทุนของคุณเพิ่มระดับความเสี่ยงขึ้นมาอีกเลเวลหนึ่ง โดยเฉพาะคนที่นำเงินลงทุนมาจากเงินที่ต้องใช้จ่ายประจำวัน คือไม่มีการจัดสรรการเงินเอาไว้เพื่อการลงทุนอย่างชัดเจน การทำแบบนี้นกจากจะเพิ่มความเสี่ยงแล้วยังจะสร้างความเดือดร้อนในการใช้ชีวิตประจำวันอีก ถ้
าคุณไม่เห็นภาพจะยกตัวอย่างให้ดูอย่างนี้ค่ะ ถ้าในหนึ่งวันคุณมีค่าใช้จ่ายประจำวันที่ต้องใช้อยู่ที่ 200 ต่อวัน คิดเป็นหนึ่งอาทิตย์ก็ 1,400 บาท คิดเป็นเดือนก็คือ 5,600 บาท แล้วเงินเดือนที่คุณได้รับอยู่ที่ 8,000 บาท เมื่อหักลบกันแล้วจากค่าใช้จ่ายต่อเดือนกับเงินที่ได้รับ 8,000 – 5,600 = 2,400 ก็คือคุณจะมีเงินเก็บ 2,400 บาทนี่เป็นเงินเก็บที่เอาไว้ใช้จ่ายยามจำเป็นเท่านั้นไม่ใช่เงินที่จะนำมาลงทุนนะคะ แต่คุณกลับเอาเงินในส่วนของค่าใช้จ่ายประจำวันที่อยู่ใน 5,600 มาลงทุนแทนเมื่อเกิดการขาดทุนหรือได้รับผลตอบแทนน้อยคุณก็จะเริ่มมาเบียดเบียนเงินในส่วนของเงินเก็บแล้วแบบนั้นก็จะเป็นปัญหาแน่ๆ แต่เพื่อจะไม่ให้ปัญหานี้เกิดขึ้นคุณควรจะแบ่งเงินในส่วนของเงินเก็บในจำนวน 2,400 บาทนั้นแบ่งออกมาสัก 1,000 บาท เพื่อเก็บออมเอาไว้สำหรับนำมาลงทุนเท่านั้นจะดีกว่ามากมากและต้องกำหนดชัดเจนว่าจะลงทุนต่อเดือนเดือนละเท่าไหร่ไม่ว่าจะได้รับผลตอบแทนมากน้อยแค่ไหนถ้าคุณยังไม่เงินเก็บไม่มากก็ควรลงทุนในจำนวนเดิมต่อไปเรื่อยๆก่อนจนกว่าจะมีเงินเก็บเพิ่มมากจริงๆแล้วค่อยเพิ่มเงินลงทุนไปทีละนิดทีละหน่อยจะดีกว่าค่ะ
เห็นมั้ยคะว่าแค่การจัดสรรการเงินเป็นสามส่วนแค่นี้ง่ายๆสำหรับวัยเรียนที่มีรายได้ไม่มากก็สามารถเป็นนักลงทุนที่มีระเบียบได้ไม่เดือดร้อนค่าใช้จ่ายประจำวันแล้ว แบบนี้คุณก็สามารถลงทุนต่อๆไปได้เรื่อยๆไปจนถึงเรียนจบและทำงานก็ยังคงลงทุนได้อยู่ ซึ่งผลดีที่จะได้คือ คุณอาจจะไม่ต้องทำงานอาชีพแบบสุดตัวมากเกินไปเพราะยังไงคุณก็มีรายได้จากการลงทุนที่ทำมานานแล้ว และรับรองว่าคุณจะได้ผลตอบแทนที่ดีขึ้นความเสี่ยงน้อยลงแน่นอนเพราะมีความชำนาญแล้วเพราะเริ่มต้นลงทุนตั้งแต่เด็กๆ
จัดการรายจ่ายอย่างฉลาดมีผลต่อรายรับที่จะได้รับ
นอกจากจะต้องจัดการจัดสรรการเก็บเงินเป็นส่วนๆแล้ว การจัดการรายจ่ายในชีวิตประจำวันก็สำคัญค่ะ เพราะการจัดการรายจ่ายจะมีผลต่อเงินรายรับของคุณและยังมีผลต่อเงินเก็บของคุณด้วยค่ะ ถ้ายกตัวอย่างเดียวกันกับหัวข้อย่อยที่แล้วว่าคุณมีรายได้ต่อเดือน 8,000 บาท แล้วคุณมีค่าใช้จ่ายต่อวันวันละ 200 บาท ในส่วนของเงิน 200 บาทที่ต้องใช้จ่ายนี้คุณสามารถที่จะประหยัดกว่านี้อีกได้ไหมในฐานะที่เป็นนักเรียนนักศึกษาคุณสามารถจะลดค่าใช้จ่ายประจำวันลงอีกได้ไหม? เพราะจริงแล้วคุณเองคงไม่มีภาระทางการเงินสักเท่าไหร่ ถ้าคุณลองลดค่าใช้จ่ายประจำวันลงเหลือแค่วันละ 120 บาท เดือนหนึ่งก็อยู่ที่ 3,600 บาทเท่านั้น แล้วถ้าคุณได้รับเงินเดือน 8,000 บาทคุณจะเหลือเงินมากขึ้นคิดอย่างนี้คือ 8,000 – 3,600 = 4,400 บาทเลยนะคะ เห็นมั้ยคะว่าคุณจะเหลือเงินให้เก็บมากขึ้น แล้วก็นำเงินเก็บส่วนนี้มาแบ่งสองส่วน ส่วนของเงินเก็บเพื่อใช้จ่ายยามจำเป็น และอีกส่วนคือเงินเก็บส่วนที่จะนำไปลงทุนค่ะ แค่เพียงเท่านี้คุณก็สามารถเก็บเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่วัยเรียนได้แล้ว ซึ่งเงินเก็บที่คุณมียังสร้างโอกาสทางการลงทุนที่ดีมากให้คุณด้วยแบบนี้จะไม่ภูมิใจในตัวเองได้อย่างไรหล่ะจริงมั้ย?
แล้วเมื่อคุณเริ่มการลงทุนก็รับรองได้เลยว่ารายได้แต่ละเดือนของคุณก็จะเพิ่มขึ้นส่งผลให้คุณเก็บเงินในแต่ละเดือนได้มากขึ้นด้วย เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วก็ไม่ต้องห่วงการเงินในอนาคตมากเกินไปแล้วหล่ะ เมื่อเรียนจบคุณก็จะพบว่าคุณจะเป็นคนหนึ่งที่มีความสุขกับการใช้ชีวิตมากกว่าคนอื่นๆที่ไม่ได้เก็บเงินตั้งแต่วัยเรียนเหมือนกับคุณแล้วคุณจะไม่ผิดหวังที่ตั้งใจจัดการเรื่องการเงินตั้งแต่ตอนนี้ค่ะ
อยู่ในวัยเรียนก็มีสภาพทางการเงินที่ดีได้ไม่ยาก
เมื่ออ่านเรื่องนี้แล้วคุณเองคงอยากเป็นวัยรุ่นวัยเรียนคนหนึ่งที่อยากจะมีความสุขไม่เดือดร้อนแล้วใช้มั้ยคะ? ถ้าคำตอบคือใช่ ก็ลงมือทำได้เลยแล้วผู้เขียนจะขอชื่นชมความตั้งใจของคุณที่เลือกทางเดินอย่างฉลาดแทนที่จะปล่อยให้ตัวเองใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายไปเรื่อยๆเปื่อยๆ แต่คุณกลับสนใจการเก็บเงินและเพิ่มเงินเก็บไปด้วยการลงทุนซึ่งเป็นวิธีการต่อยอดการเงินที่เหมือนกับผู้ใหญ่เขาทำกันเลยนะ แล้วเมื่อคุณโตเป็นผู้ใหญ่แล้วจริงๆคุณก็จะมีสภาพทางการเงินที่ดีได้แน่นอน แล้วชีวิตคุณคงจะปลอดภัยจากปัญหาทางการเงินที่หลายต่อหลายคนเขาเผชิญกันอย่างเช่น การเป็นหนี้ แน่นอน แล้วอิสระทางการเงินก็จะกลายเป็นของคุณได้ไม่ยากเลยค่ะ สภาพทางการเงินที่ดีนั้นสำคัญจริงๆ แล้วจะเป็นอย่างนั้นได้ก็ไม่ยากเกินความสามารถของใครคนใดคนหนึ่งเลยแค่รู้วิธีที่ถูกต้องเท่านั้นเอง จากบทความนี้คงช่วยให้คุณรู้วิธีแล้วนะคะ มาสร้างความภูมิใจและตั้งใจเก็บเงินกันเถอะค่ะจะได้ไม่เดือดร้อน
Narisa
หนูก็กำลังเรียนอยู่ค่ะยังไม่ได้เข้ามหาวิทยาลัย เวลากลับบ้านมาแล้วมีเงินเหลือหนูจะเลือกหยอดกระปุกเป็นแบงค์20และแบงค์50 ค่ะ นอกนั้นที่เป็นเหรียญจะเก็บไว้ให้เยอะๆก่อน แล้วค่อยเอามาแลกเป็นแบงค์มาหยอดกระปุกทีหลัง พอครบปีนึงเอากระปุกออกมาแคะดูเงินเยอะมากเลยนะคะพี่ๆ เป็นหมื่นๆเลยค่ะ ลองทำแบบหนูดูนะคะไม่น่าเชื่อว่าเงินเล็กๆกลายเป็นเงินก้อนได้
Narit
ถ้าเริ่มเก็บเงินตั้งแต่อายุยังน้อยกว่าจะเรียนจบจะมีเงินเยอะพอสมควรเลยล่ะ ช่วงวัยเรียนยังไม่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายอะไรมากเพราะยังอยู่ในความดูแลของพ่อแม่ สามารถเก็บเงินได้มาก พ่อแม่ก็ช่วยสนับสนุนลูกๆได้นะครับในเรื่องนี้ สำหรับคนที่เข้ามาอ่านซึ่งอยู่ในวัยทำงานแล้วอย่างผมเนี่ย ก็ยังเริ่มต้นใหม่ได้นะ สู้ๆครับ
พายุ
แม้แต่เป็นนักเรียนหรือนักศึกษาก็สามารถทำกิจกรรมการลงทุน เพื่อช่วยให้เราสามารถมีเงินมาต่อยอดในการเรียนหรือไปทำสิ่งที่เราต้องการได้ด้วยนะครับ ซึ่งบทความนี้ทำให้เห็นว่าถึงแม้เราเป็นนักเรียน เราก็สามารถหาเงินมาทำการลงทุนด้วยตัวเราเองในระหว่างที่เรียนได้ เพื่อที่จะสามารถมีเงินไว้สำหรับทำธุรกิจในอนาคต หรือลงทุนกับเพื่อนๆต่อยอดได้
Ladapa
ดีค่ะ บทความที่สนับสนุนให้รู้จักใช้จ่ายอย่างฉลาดพร้อมกับการเก็บออมเพื่ออนาคตด้วย เราว่าการบริหารค่าใช้จ่ายต่างๆนี่สำคัญมากนะ ถ้าไม่รู้วิธีจัดการกับเงินที่มีอยู่ถึงจะหาเงินมาได้มากเท่าไหร่ก็ไม่พอใช้อยู่ดีค่ะ ที่จริงบทความนี้ก็เอาไปใช้ได้ทุกคนนะ บริหารเงินที่ตัวเองมีอยู่ให้ดี แบ่งเอาเงินไปลงทุนบ้างเพื่อเพิ่มมูลค่า เลือกแบบที่เราทำได้ค่ะ
อรวิทย์
จะให้ลงทุนในกองทุนตั้งแต่วัยเรียนเลยเหรอ อืม!! มันทำได้ก็ดีสินะ ลองๆมา ดูเรื่องค่าใช้จ่ายดีไหม เอาจากตัวอย่างเลย ได้เงิน จากที่บ้านหรือเงินเดือน เดือนละ 8,000 บาท ให้ซื้อกินวันละ 120 บาท เดือนหนึ่ง 3,600 บาท มีเงินเหลือ 4,400 บาท อันนี้ ไม่ทราบว่าหักค่า เช้าหอ หรือยัง ถ้าค่าเช่าหอ 3,000บาท ค่าน้ำ ค่าไป 500 บาท อืม เงินเหลือจะได้สักเท่าไร มันเอาไปลงทุนอะไรได้
Superman
มันให้ความรู้สึกภูมิใจจริงๆนะครับ ตอนเด็กๆผมเคยเก็บเงินเพื่อซื้อรถบังคับด้วยตัวเอง มันรู้สึกดีแบบบอกไม่ถูก แล้วเราก็จะรักษาของเล่นชิ้นนั้นอย่างดีมากกว่าของเล่นที่พ่อแม่ซื้อให้อีก ตอนนี้ผมเป็นพ่อคนแล้วก็จะสอนลูกแบบนี้เหมือนกัน และแม้จะไม่อยากซื้ออะไรก็ให้เก็บเงินไปเรื่อยๆฝึกนิสัยลูกด้วยครับ ให้เขาเห็นว่าก่อนเงินจะได้เยอะต้องใช้เวลาแค่ไหน
หนิง
อันนี้เรื่องจริงค่ะ เราเสียดายมากที่เราเพิ่งจะมาวางแผนการเงินจัดการรายจ่ายเอาดีๆตอนที่เริ่มทำงานแล้วเพราะนึกย้อนดูที่จริงตั้งแต่สมัยเรียนมหาลัยตั้งแต่ได้เงินไปโรงเรียนจากพ่อแม่ ก็สามารถวางแผนเรื่องการใช้จ่ายของเรา ถ้าเริ่มตั้งแต่สมัยเรียนตอนที่เราเริ่มทำงานแล้วก็จะบริหารเงินได้ดีกว่านี้ด้วยเสียดายมากค่ะ แต่สิ่งที่ผ่านมาแล้วเราก็ทำอะไรไม่ได้ทำตอนนี้ให้ดีที่สุดก็พอ
ตี๋เล็ก
ที่จริงไม่ต้องอยู่ในวัยเรียนก็ทำตามแบบที่บทความนี้แนะนำได้นะครับ เท่าที่ผมเข้าใจคือ สรุปค่าใช้จ่ายของเราทั้งหมดออกมาก่อน หลังจากนั้นมีเงินเหลือท่าไหร่ ส่วนนึงเอาไว้ลงทุน อีกส่วนนึงเอาไว้เก็บ ก็ดีนะครับแนวคิดนี้ เดี๋ยวผมว่าจะลองทำตามดู ยังไงได้ผลแบบไหนผมจะมาอัพเดทให้เพื่อนๆได้รับทราบกันนะคร้าบบบ...
โฟวิล
นึกถึงตอนที่เรียน มหาลัยที่กรุงเทพเลยครับ เดือนหนึ่งที่บ้านส่งให้ ประมาณ 10,000ครับ รวมค่าห้องแล้วนะครับ ก็อยู่ได้นะครับ เพราะตอนที่เรียนผมหารค่าห้องกับเพื่อนอีกคนครับ ซึ่งไม่ได้บอกที่บ้านครับ เลยได้เงินส่วนต่างจากเงินค่าห้องครับ เอาเงินที่เป็นส่วนต่างไปเข้าธนาคารบ้างครับ ก็พอทำให้มีเงินเก็บได้นะถึงจะไม่มากแต่ก็เอาไว้ตอนฉุกเฉินได้ครับ
หมู
การจัดการกับรายได้อย่างฉลาดจะช่วยให้เรารู้ว่าจะมีเงินเก็บออมในแต่ละเดือนมากเท่าไหร่ เราจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับเงินรายรับของเราและเงินรายจ่ายในแต่ละเดือนว่าหักลบกันแล้วเหลือเท่าไหร่ และเก็บเงินนั้นไว้สำหรับการลงทุนเพื่อให้เงินเพิ่มเติมขึ้นก็ได้ ถ้าเรารู้จักจัดการเงินหรือบริหารการเงินของเราจะช่วยให้เรามีเงินเหลือเก็บด้วย