บ่อยครั้งที่การโอนเงินที่สะดวกง่ายดายของระบบธนาคารผ่านทาง Mobile Banking ทำให้เราสูญเสียเงินไปมหาศาลจากการถูกหลอกให้โอนเงินจากเหล่ามิจฉาชีพ และสาเหตุที่ผู้คนตกเป็นเหยื่อมากมายหลายคนนั้นก็เพราะการใช้บริการทางการเงินผ่าน Mobile Banking นี้เป็นเรื่องที่ทำให้การทำธุรกรรมทางการเงินง่ายมากขึ้น สะดวก รวดเร็ว จึงเป็นที่นิยมในการใช้บริการอย่างมาก เพราะไม่ว่ารถจะติด แดดจะออก ฝนจะตก พายุจะเข้า ก็สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้ง่ายๆในทุกๆที่ไม่ต้องเสียเวลาเดินไปที่ธนาคารอีกต่อไป นี่ก็เป็นส่วนดีที่มากมายของระบบธนาคารผ่านทาง Mobile Banking แต่ก็อย่างที่บอกไปตอนต้นว่าอันตรายก็มีเช่นกัน บทความนี้จึงต้องการมาให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อคุณจะให้บริการระบบ Mobile Banking ได้อย่างปลอดภัยมากขึ้นระวังตัวมากขึ้นจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อให้เหล่ามิจฉาชีพได้ง่ายๆกันนะคะ

ซึ่งวิธีการหลอกลวงส่วนใหญ่ที่มิจฉาชีพใช้เพื่อหลอกผู้คนก็จะเป็นประมาณนี้ คือ สวมรอย ปลอมแปลงและแฮ็กข้อมูลของคุณจากการเข้าใช้งานผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ดังนั้นข้อสังเกต หรือ วิธีระวังตัวของคุณที่คุณสามารถทำได้ที่จะนำมาให้ได้อ่านกันก็มีดังต่อไปนี้ คือ คุณเข้าหน้าเว็บไซด์ธนาคารจริงหรือไม่?,คุณกำลังโอนเงินไปให้ใคร,ระวังการใช้อีเมล,ระวังการตั้งค่ารหัสผ่าน,ระวังการใช้ระบบ Pin2 หรือ OTP,จำกัดวงเงิน นี่คือสิ่งที่คุณต้องระวังและเอาใจใส่เมื่อทำธุรกรรมทางการเงินผ่าทางอินเสอร์เน็ต โดยเฉพาะ Mobile Banking

คุณเข้าหน้าเว็บไซด์ธนาคารจริงหรือไม่?

คุณเข้าหน้าเว็บไซด์ธนาคารจริงหรือไม่?

การสร้างเว็บไซด์ในสมัยนี้ก็ง่ายมากเหล่ามิจฉาชีพมักจะสร้างหน้าเว็บไซด์ปลอมมาหลอกโดยส้รางสถานการณ์เรื่องเงินมาให้คุณตกใจและเข้าไปในบัญชีผู้ใช้ของคุณผ่านทางหน้าเว็บไซด์ปลอมของพวกมิจฉาชีพ โดยเรื่องหลอกลวงนี้เหล่ามิจฉาชีพก็มักจะส่งมาให้คุณทางอีเมล อาจจะหลอกว่ารหัสการเข้าใช้งานของคุณมีปัญหาโปรดใส่รหัสเพื่อยืนยันตัวตนและสุดท้ายคุณก็ใส่รหัสเข้าไปแค่เท่านี้ก็เป็นการให้ข้อมูลกับพวกมิจฉาชีพไปแล้ว ด้วยวิธีนี้หลายคนจึงโดนหลอกมากมายเพราะคิดว่าเป็นอีเมลส่งมาจากธนาคารแต่จริงๆแล้วไม่ใช่ ซึ่งเหยื่อบางคนไม่แค่ให้รหัสเข้าใช้งาน Mobile Banking เท่านั้นแต่ให้ข้อมูลอื่นๆไปด้วย เช่น รหัสบัตร ATM และเลขที่บัตร หรือเลขที่บัญชีธนาคารด้วยซ้ำ และหน้าเว็บไซด์ปลอมที่ทำขึ้นมาก็แนบเนียนมากถ้าไม่เอะใจก็ถูกหลอกได้ง่ายๆมากเลยค่ะ และเมื่อได้ข้อมูลสำคัญของคุณไปแล้วพวกมิจฉาชีพก็จะเอาไปทำการโอนเงินเข้าบัญชีลับของตัวเองโดยที่ไม่มีร่องรอยให้ตามเจอได้ง่ายๆเลยค่ะ

เห็ยมั้ยคะว่าน่ากลัวและอันตรายจริงๆเป็นภัยที่อยู่ใกล้ตัวเรามากๆ วิธีที่จะป้องกันได้ก็คือ เมื่อมีอีเมลส่งมาให้คุณคุณต้องทำการตรวจสอบให้แน่ใจว่ามาจากธนาคารจริงๆไหม? และไม่รีบคลิกลิ้งค์เข้าไปง่ายๆ หรือการใช้บราวเซอร์ที่ดีก็ช่วยได้ที่ช่วยอัพเดตและช่วยเตือนอยู่เสมอถึงหน้าเว็บไซด์ที่เป็นอันตรายค่ะ และอีกอย่างหนึ่งที่คุณจะสังเกตได้คือ Green Bar และสัญลักษณ์ HTTPS ซึ่งเป็นโปรแกรมปกป้องข้อมูลดิจิตอลไม่ให้ถูกเอาไปง่ายๆ คุณสามารถสังเกตได้จากเว็บไซด์ธนาคารซึ่งมีการรับรองด้านความปลอดภัยซึ่งที่หัวเว็บไซด์จะแสดงเป็นสีเขียว มีรูปแม่กุญแจและคำว่า https เป็นสีเขียว ก่อนคำว่า WWW. เป็นต้น ซึ่งธนาคารทางอินเทอร์เน็ตส่วนมากก็ใช้โปรแกรมนี้กันทั้งนั้นค่ะ ถ้ามีเว็บไซด์ไหนที่ไม่มีโปรแกรมนี้นั่นก็แสดงว่าน่าสงสัยและไม่น่าจะใช้เว็บไซด์ที่มาจากธนาคารแน่ๆ ต้องสังเกตให้ดีนะคะ

คุณกำลังโอนเงินไปให้ใคร?

คุณกำลังโอนเงินไปให้ใคร?

คำถามนี้ขอยกให้กับนักช้อปออนไลน์เลยนะคะ ทุกวันนี้หลายคนนิยมการช้อปปิ้งออนไลน์กันมากๆ เพราะทั้งสะดวก ง่ายดาย และได้ซื้อของในราคาถูก หลากหลาย แต่การซื้อของออนไลน์นี้การชำระเงินส่วนมากก็จะผ่านทางการโอนเงินทั้งนั้น จึงมาพร้อมกับอัตรายเช่นกัน หลายคนจึงโดนหลอกโอนเงินดดยที่ไม่ได้รับสินค้าที่ซื้อจริงๆและสุดท้ายก็ไม่สามารถติดต่อผู้ขายได้ด้วย ดังนั้นก่อนจะโอนเงินเพื่อซื้อสินค้าควรเช็คดูที่มาของบัญชีให้ดี เช่น มีชื่อ – นามสกุล และมีที่อยู้ร้านค้าจริงๆหรือไม่? หรือการโทรติดต่อโดยตรงกับผู้ขายเพื่อสอบถามและจับพิรุธด้วย การทำแบบนี้ช่วยให้คุณมั่นใจมากขึ้นก่อนจะโอนเงินค่าสินค้าไป และหลังจากการโอนเงินแล้วให้เก็บหลักฐานการโอนไว้ให้ดี และนำหลักฐานนั้นแจ้งไปยังผู้ขายว่าโอนเงินเรียบร้อยแล้วและขอเลขพัสดุที่จะส่งมาด้วยเพื่อมั่นใจว่ามีการส่งสินค้ามาให้จริงๆ

ระวังการใช้อีเมล

ระวังการใช้อีเมล

ในส่วนของการใช้อีเมลก็เป็นเรื่องที่ระวัง แม้ว่าคุณจะใช้อีเมลจาก Gmail หรือ Hotmail ก็ตามก็อาจจะมีอีเมลอันตรายส่งมาถึงคุณได้ดังนั้นต้องดูให้ดี เพราะอีเมลหลอกลวงพวกนี้มักจะเลียนแบบอีเมลของธนาคารต่างๆ ซึ่งจะมีชื่อที่คล้ายกันมากกับชื่อของอีเมลธนาคารอาจจะต่างกันแค่นิดเดียวต้องสังเกตให้ดีๆค่ะ แต่การใช้อีเมลจาก Gmail หรือ Hotmail ก็สามารถช่วยให้คุณปลอดภัยได้นะดับหนึ่งเพราะจะมีโปรแกรมที่ช่วยกรองอัเมลอันตรายไปอยู่ที่ Spam หรือ Junk โดยอัตโนมัติ และเพื่อป้องกันอีเมลของคุณก็คืออย่าไป โพสชื่ออีเมลในที่สาธารณะโดยที่ไม่จำเป็น เพราะอาจจะเป็นช่องทางให้เหล่ามิจฉาชีพใช้ชื่ออีเมลของคุณเพื่อส่งอีเมลหลอกลวงมาให้หรือส่งโฆษณาหลอกลวงมาให้คุณและถ้าคุณไม่ระวังก็จะตกเป็นเหยื่อได้ง่ายๆค่ะ

ระวังการตั้งค่ารหัสผ่าน

ระวังการตั้งค่ารหัสผ่าน

เป็นเรื่องปกติที่คนเรามักจะตั้งรหัสผ่านที่สามารถจำได้ง่ายๆและก็เดาได้ง่ายๆด้วยค่ะ แต่การตั้งค่ารหัสแบบนั้นส่งผลให้ข้อมูลของคุณตกอยู่ในอันตรายได้ง่ายๆ ดังนั้นทางธนาคารจึงมักมีคำแนะนำในการตั้งค่ารหัสผ่านให้คุณอยู่เสมอ เพราะโดยปกติทั่วไปแล้วจริงไหมที่คุณมักจะตั้งค่ารหัสผ่าโดยใช้ วันเดือนปีเกิดของคุณ หรืออายุ หรือเลขที่บ้าน หรือทะเบียนรถ หรือเบอร์โทรศัพท์ บอกเลยนะคะว่าการตั้งค่ารหัสผ่ายโดยใช้ข้อมูลเหล่านี้นั้นเป็นอันตรายมากๆ แต่คำแนะนำจากธนาคารในการตั้งค่ารหัสผ่านมักจะบอกแบบนี้ค่ะ ให้ใช้จำนวนตัวอัษรมากกว่า 8 ตัว โดยมีอักษรอังกฤษใหญ่และเล็ก และตัวเลข และให้มีเครื่องหมายพิเศษด้วย เพื่อการคาดเดาได้ยากและความปลอดภัยที่มากขึ้น อย่างเช่น P2#&3Re8 ซึ่งรหัสผ่านแบบนี้เดาได้ยากมาและสร้างความปลอดภัยได้มากกว่า แต่สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ เมื่อตั้งแล้วคุณต้องจำให้ได้ด้วยนะคะ และทุกๆครั้งที่เข้าล็อกอินในเว็บไซด์ธนาคารต้องสังเกต Green Bar ให้ดีเพื่อจะไม่เข้าไปในหน้าเว็บไซด์ปลอมแต่เข้าไปในเว็บไซด์จริงของธนาคารนะคะ การสังเกตและการทำตามคำแนะนำของธนาคารก็ช่วยได้มากที่จะป้องกันข้อมูลและเงินของคุณลองใส่ใจกันสักหน่อยนะคะ

ถึงแม้จะใช้ระบบ PIN2 หรือ OTP ก็ต้องระวัง

ถึงแม้จะใช้ระบบ PIN2 หรือ OTP ก็ต้องระวัง

โดยปกติแล้วถ้ามีการทำธุรกรรมทางการเงินส่วนมาก เช่นการชำระสินค้าทางออนไลน์เพื่อเข้าถึงบัญชี Mobile Banking ของคุณก็ต้องระวังว่าหน้าเว็บที่แสดงขึ้นมาให้คุณใส่รหัสนั้นเป็นของธนาคารจริงๆหรือไม่? เพราะทุกครั้งจะมีการส่ง SMS มาให้คุณต้องอ่านให้ดีก่อน ข้อมูลที่ต้องสังเกตคือ โอนเงินไปที่บัญชีชื่ออะไร? จำนวนเงินเท่าไหร่ตรงตามที่ต้องการหรือไม่? ถ้าตรงกันก็ค่อยนำรหัสที่ส่งมาไปกรอกที่หน้าเว็บไซด์ เพราะเคยมีผู้ที่ตกเป็นเหยื่อในการได้รับ SMS ปลอมและมีการเปลี่ยนบัญชีปลายทางที่มีการโอนเงินไปให้ ดังนั้นต้องอ่าน SMS อย่างละเอียดก่อนกรอก PIN หรือ CODE ในหน้าเว็บไซด์นะคะ ไม่อย่างนั้นอาจจะโอนเงินไปผิดปลายทางกลายเป็นการโอนเงินใหเพวกมิจฉาชีพโดยไม่ทันรู้ตัวก็ได้

อย่างเช่นคุณจะพบบ่อยครั้งกับการให้กรอกรหัส OTP เมื่อซื้อตั๋วเครื่องบินเพื่อจ่ายเงินผ่านทาง Mobile Banking หรือ แอปพลิเคชั่นธนาคารบนมือถือของคุณ ควรตรวจสอบข้อความที่ส่งมาให้ดีนะคะ เพราะการชำระเงินเพื่อซื้อตั๋วเครื่องบินส่วนมากแล้วก็จะเป็นเงินในจำนวนที่มากพอสมควรถ้าโดนหลอกเอาไปคงเสียดายมากแน่ๆและที่สำคัญเสียเวลาไปอีก ดังนั้นต้องทำธุรกรรมทางการเงินอย่างมีสติและใจเย็นๆดีที่สุดนะคะ

จำกัดวงเงิน

จำกัดวงเงิน

การจำกัดวงเงินในการโอนเงิน หรือถอนเงินก็เป็นการรักษาความปลอดภัยของเงินของคุณได้อีกชั้นนึงค่ะ และการจำกัดวงเงินนี้จะเชื่อมโยงไปในทุกระบบการใช้งานทางการเงินของคุณ ไม่ว่าจะเป็นบัตร ATM บัญชีธนาคาร Internet Banking Mobile Banking ทั้งหมดจะจำกัดวงเงินตามที่คุณกำหนดไว้ทั้งหมด ถ้าเกิดบัญชีอของคุณตกไปอยู่ในทือพวกมิจฉาชีพแล้วก็ไม่สามารถนำเงินของคุณออกไปได้มาตามที่ต้องการต่อวันเพราะมีการกำหนดไว้แล้ว และคุณก็มีเวลาในการจัดการอายัดและแจ้งต่อพนักงานว่าข้อมูลโดนแอ็กหรืออะไรก็ตาม ถึงแม้คุณจะตกเป็นเหยื่อแต่ก็ไม่สูญเสียเงินไปมากเกินไปค่ะ ซึ่งการจำกัดวงเงินของแต่ละคนก็ไม่เท่ากันแล้วแต่การใช้ชีวิตของคุณ เช่น 10,000 บาท ถึง 100,000 บาทต่อวันค่ะ ทั้งนี้ก็เพื่อไม่ให้เกืดความเสียหายครั้งยิ่งใหญ่หรือเสียเงินมหาศาลไปค่ะ

คุณสามารถตรวจเช็ควงเงินของคุณตอนนี้ได้โดยเข้าไปติดต่อสอบถามกับพนักงานโดยตรง หรือ ผ่านทาง Call Center ก็ได้นะคะ และสามารถปรับเปลี่ยนวงเงินของคุณที่จะถอนและโอนต่อวันได้ให้มากขึ้นหรือน้อยลงก็ได้ค่ะเพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคุณในแต่ละวัน แต่เพื่อความปลอดภัยไม่ควรกำหนดวงเงินถอนและโอนต่อวันมากเกินไปเพราะถ้าเกิดเหตุการณ์โดนพวกมิจฉาชีพขโมยข้อมูลไปจะได้ไม่เสียเงินมากเกินไปค่ะ

สรุป

สรุป

สิ่งที่นำมาฝากกันวันนี้น่าจะช่วยให้คุณรู้จักสังเกตมากขึ้นและรู้ทันการหลอกลวงและวิธีของพวงมิจฉาชีพได้มากพอสมควรนะคะ เช่นเดียวกับการใช้โลกอินเทอร์เน็ตด้านอื่นๆก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนั้นก่อนจะใช้บริการอะไรการรู้ถึงภัยอันตรายไว้ก่อนจะช่วยให้คุณใช้บริการได้อย่างปลอดภัยมากขึ้นและไม่ถูกหลอกง่ายๆ แม้ว่าจะมีรายละเอียดอยู่บ้างแต่การพิจารณาเรื่องเหล่านี้ก็คุ้มค่านะคะ เพราะการที่คุณฝากเงินไว้กับระบบธนาคารและทำธุรกรรมต่างๆทางระบบนี้คุณก็มีความมั่นใจในความปลอดภัยแต่ก็ยังคงมีอันตรายที่แฝงเข้ามาได้อยู่ การป้องกันตัวเองเบื้องต้นก็จะดีกว่าการไม่สนใจอะไรเลยพอสุดท้ายเมื่อคุณตกเป็นเหยื่อขึ้นมาจริงๆบางครั้งทางธนาคารก็ไม่สามารถรับผิดชอบหรือช่วยเหลืออะไรคุณได้ เพราะเป็นความผิดพลาดของตัวคุณเองที่ไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลไห้ดีก่อน ดังนั้นป้องกันไว้ดีกว่าแก้นะคะ