เมื่อเริ่มปีใหม่ทีไรหลายคนก็เริ่มวางแผนเรื่องต่างใหม่อีกครั้งเป็นเหมือนการรีเฟรชชีวิตตัวเองขึ้นใหม่ ซึ่งเรื่องที่มักจะเริ่มใหม่ก็จะเป็นเรื่องการทำงาน,ความรัก,การเงิน,ครอบครัว เป็นต้น เรื่องเหล่านี้คือเรื่องพื้นฐานทั่วไปที่ใครหลายคนต้องการจะประสบความสำเร็จ แต่นอกจากการวางแผนเรื่องราวในชีวิตส่วนตัวแล้วการรับรู้ข่าวสารใหม่ๆภายนอกที่เกี่ยวข้องกับตัวเราก็จำเป็นด้วยที่ต้องติดตาม ซึ่งในบทความนี้จะมาบอกถึงเรื่องใหม่เกี่ยวการลดหย่อนภาษีในปี 2563 นี้ ใครที่ยังไม่ทราบข้อมูลที่ก็ตั้งใจอ่านกันให้ดีดีเพื่อจะไม่เสียสิทธิ์นะคะ

เนื่องจากเรื่องของภาษีต้องวางแผน การรับทราบการลดหย่อนภีก็เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยคุณวางแผนอย่างดี เมื่อเริ่มปีใหม่คุณต้องเริ่มการยื่นภาษีเพื่อขอลดหย่อนภาษีและเงินคืนดังนั้นการวางแผนอย่างดีตั้งแต่ปีที่แล้วก็ช่วยให้คุณรวบรวมข้อมูลอย่างดีและถูกต้องได้รับเงินคืนอย่างไม่ผิดพลาด แต่ถ้าใครยังทำได้ไม่ดีพอในปีที่แล้วก็มาเริ่มวางแผนการเงินและการรับรายได้เก็บรวบรวทเอกสารอย่างดีตั้งแต่ปี 2563 นี้กันเถอะค่ะเพื่อในปีหน้าจะได้ยื่นภาษีอย่างมีคุณภาพมากขึ้น และการยื่นภาษีนี้ก็มีผลมาจากการที่คุณในฐานะบุคคลที่จ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามาอย่างต่อเนื่องทุกเดือนจากการมีรายได้ เมื่อมีรายได้และจ่ายภาษีเป็นประจำเมื่อสิ้นปีก็ต้องทำการยื่นภาษีเพื่อรับเงินคืนตามสิทธิ์ ในบทความนี้จะมาบอกข้อมูลใหม่ในปี 2563 ว่า 5 กลุ่มบุคคลที่มีรายได้สามารถได้รับการลดหย่อนภาษีเรื่องอะไรบ้าง? ดังนี้ค่ะ กลุ่มที่ 1 ค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว / กลุ่มที่ 2 ค่าลดหย่อนกลุ่มประกันเงินออมและการลงทุน / กลุ่มที่ 3 ค่าลดหย่อนอสังหาริมทรัพย์ / กลุ่มที่ 4 ค่าลดหย่อนกลุ่มเงินบริจาค / กลุ่มที่ 5 ค่าลดหย่อนตามมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจ มาดูว่าคุณเองอยู่ในบุคคลกลุ่มไหนและมีการลดหย่อนภาษีเรื่องอะไรบ้างจะได้วางแผนได้ดีค่ะ

กลุ่มที่ 1 ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัว และครอบครัว

กลุ่มที่ 1 ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัว และครอบครัว

ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัวในปี 2563 ที่คุณจะได้รับมีดังนี้

  • ค่าลดหย่อนส่วนตัวสำหรับคนเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทุกคน จำนวน 60,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนของคู่สมรส สำหรับคู่สมรสที่จดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายและไม่มีเงินได้ หรือมีเงินได้ยื่นแบบรายการคำนวณภาษีพร้อมกัน จำนวน 60,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนบุตรต่อ 1 คน หากเป็นบุตรตามกฎหมายสามารภนำมาหักได่ไม่จำกัดจำนวนคน ในกรณีที่เป็นบุตรบุญธรรม หรือจะมีทั้งบุตรบุญธรรมและบุตรตามกฎหมายสามารถหักได้ไม่เกิน 3 คน และยังมีการส่งเสริมให้คู่สมรสมีลูกมากกว่า 2 คนขึ้นไปจะได้รับเงินเพิ่ม 30,000 บาทต่อคน รวมเป็น 60,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร หากมีการตั้งท้องปีนี้ แต่มีกำหนดคลอดปีหน้าให้ลดหย่อนตามปีที่ใช้สิทธิ์แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูพ่อแม่ และคู่สมรสที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ได้รับสิทธิ์สูงสุดไม่เกิน 4 คน โดยสิทธิ์ในการเลี้ยงดูจะแค่ครั้งเดียวเพราะฉะนั้นพ่อแม่ต้องระบุลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองว่าลูกคนไหนเป็นผู้เลี้ยงดู จำนวนคนละ 30,000
  • ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูผู้พิการหรือคนทุพพลภาพ ในกรณีที่คนพิการหรือทุพพลภาพมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี จะต้องมีใบรับรองแพทย์เพื่อยืนยันความบกพร่องของร่างกายด้วยได้รับเงิน จำนวนคนละ 60,000 บาท

กลุ่มที่ 2 ค่าลดหย่อนกลุ่มประกันเงินออม และการลงทุน

กลุ่มที่ 2 ค่าลดหย่อนกลุ่มประกันเงินออม และการลงทุน

ค่าลดหย่อนกลุ่มประกันงินออมและการลงทุนมีรายการดังต่อไปนี้

  • ประกันสังคม จำนวนไม่เกิน 9,000 บาท
  • เบี้ยประกันชีวิต จำนวนไม่เกิน 100,000 บาท
  • เบี้ยประกันสุขภาพ จำนวนไม่เกิน 15,000 บาทเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  • เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ ต้องเป็นบุตรตามกฎหมายเท่านั้นจึงจะมีสิทธิ์ที่จะนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามความคุ้มครองด้านใดด้านหนึ่งใน 4 กลุ่ม คือ ค่ารักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย / อุบัติเหตุ / โรคร้าย / ประกันคุ้มครองการพยาบาลเมื่อเจ็บป่วยในระยะยาว จำนวนไม่เกิน 15,000 บาท
  • เบี้ยประกันชีวิตคู่สมรส ในกรณีที่มีส่วนเกิน 10,000 บาทแต่ไม่เกิน 15% ของรายได้และไม่เกิน 490,000 บาท จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเอาไปคำนวณภาษี จำนวนเงินไม่เกิน 10,000 บาท
  • เงินสะสมกองทุน กบข. และกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน จำนวนไม่เกิน 15% ของเงินที่ได้ต้องเสียภาษีหรือไม่เกิน 500,000 บาท
  • เงินสะสมจากกองทุนการออมแห่งชาติ กอช. จำนวนไม่เกิน 13,200 บาท
  • เบี้ยประกันชีวิตบำราญ โดยมีเงื่อนไขคือเมื่อรวมกันกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และ RMF จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท จำนวนไม่เกิน 15% และต้องไม่เกิน 200,000 บาท
  • กองทุนรวมหุ้นระยะยาว LTF ต้องซื้อถือครองไว้อย่างน้อย  ปี ไม่เกิน 15% ของเงินที่ได้และต้องไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF ต้องลงทุนต่อเนื่องถึงอายุ 55 ปี ไม่เกิน 15% ของเงินที่ได้และต้องไม่เกิน 500,000 บาท

กลุ่มที่ 3 ค่าลดหย่อนอสังหาริมทรัพย์

กลุ่มที่ 3 ค่าลดหย่อนอสังหาริมทรัพย์

ค่าลดหย่อนอสังหาริมทรัพย์สำหรับคนที่มีที่ดิน และบ้านมีดังต่อไปนี้

  • ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย เป็นดอกเบี้ยจากเงินกู้ซื้อบ้าน คอนโด หรือที่อยู่อาศัย หากมีการกู้เงินมากกว่า 1 แห่ง สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้รวมกันแต่ต้องไม่เหิน 100,000 บาท และในกรณีกู้ร่วมกันหลายคนสามารถนำมาแบ่งดอกเบี้ยคนละเท่าๆกันโดยรวกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาทต่อคน
  • ซื้อบ้านหลังแรก ในปี 2558 ถ้าบ้านหรือคอนโดนั้นราคาไม่เกิน 3,000,000 บาท สามารถลดหย่อนได้ 20% ของราคาบ้าน ลดหย่อนภาษีได้ 5 ปี ปีละ 4%
  • ซื้อบ้านหลังแรกในปี 2562 ถ้าซื้อบ้านหรือคอนโดในราคาไม่เกิน 5,000,000 บาท ลดหย่อนได้ในจำนวนไม่เกิน 200,000 บาท

กลุ่มที่ 4 ค่าลดหย่อนกลุ่มเงินบริจาค

กลุ่มที่ 4 ค่าลดหย่อนกลุ่มเงินบริจาค

ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค ใครที่ชอบการบริจาคเพือจะได้รัสิทธิ์ครเก็ยเอกสารการบริจาคให้ดีนะคะเพื่อจะไม่เสียสิทธิ์ สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ดังนี้

  • เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา สนับสนุนการกีฬา และเงินบริจาคเพื่อประโยชน์สาธารณะ สามารถหักได้ 2 เท่า แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
  • เงินบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของรัฐ สามารถหักได้ 2 เท่า แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
  • กลุ่มเงินบริจาคทั่วไป เช่น เงินบริจาคเพื่อสาธารณกุศล สามารถหักได้ตามที่บริจาคจริง แต่ต้องไม่เกิน 10% ของรายได้ที่หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน และเงินบริจาค 2 กลุ่มแรก
  • เงินบริจาคให้พรรคการเมือง สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

กลุ่มที่ 5 ค่าลดหย่อนตามมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ

กลุ่มที่ 5 ค่าลดหย่อนตามมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ

ค่าลดหย่อนภาษีตามมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ จะได้รับการลดหย่อนภาษีในหรณีต่อไปนี้

  • สินค้าในกลุ่มช้อปช่วยชาติ สินค้าการศึกษาและกีฬาหนังสือสินค้า OTOP ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15,000 บาท ต่อ 1 กลุ่ม
  • ท่องเที่ยวทั่วไทย เมืองหลักเมืองรองรวมกันแล้วไม่เกิน 20,000 บาท
  • ค่าเสียหายจากพายุปาบึก ค่าซ่อมบ้านไม่เกิน 100,000 บาท ค่าซ่อมรถไม่เกิน 30,000 บาท
  • ค่าเสียหายจากพายุโพดุล พายุคาจิกิ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ค่าซ่อมบ้านไม่เกิน 100,000 บาท ค่าซ่อมรถและอื่นๆไม่เกิน 30,000 บาท

เมื่อรู้เรื่องค่าลดหย่อนภาษีการรักษาสิทธิ์ก็ง่ายขึ้น

เมื่อรู้เรื่องค่าลดหย่อนภาษีการรักษาสิทธิ์ก็ง่ายขึ้น

ตอนนี้คุณคงทราบแล้วว่าจะได้รับสิทธิ์ค่าลดหย่อนภาษีแต่ละกลุ่มอย่างไรบ้าง แต่เพื่อที่คุณจะได้รับการลดหย่อนภาษีก็ต้องทำการยื่นภาษีต่อกรมสรรพากร ในบทความนี้จะมาสรุปวิธีการยื่นภาษีและบอกว่ายื่นที่ไหนและเมื่อไหร่ด้วยเพื่อคุณจะมั่นใจมากขึ้นเมื่อจะไปยื่นภาษี  ในปี 2563 นี้การยื่นภาษีสำหรับคนที่มีรายได้จากเงินเดือนและโบนัสสามารถยื่นหนังสือรับรองการหักภาษี ณ  จ่าย 50 ทวิ พร้อมยื่นเอกสารประกอบการลดหย่อนภาษีซึ่งในปีนี้กรมสรรพากรเปิดให้ยื่นได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 – 31 มีนาคม 2563 ซึ่งสามารถยื่นได้หลายช่องทาง เช่น

  • ยื่นแบบแสดงภาษีด้วยตัวเองที่กรมสรรพากร
  • ยื่นแบบออนไลน์ผ่านทางเว็บไซด์กรมสรรพากร www.rd.go.th  ซึ่งสามารถยื่นได้ถึงวันที่ 8 เมษายน 2563
  • ยื่นผ่าน Application RD Smart Tax แต่ต้องลงทะเบียนผ่านเว็บไซด์กรมสรรพากรก่อนอยู่ดี

เมื่อได้ข้อมูลเหล่านี้แล้ว หวังว่าคุณจะสามารถจัดการภาษีและการยื่นภาษีอย่างมั่นใจมากขึ้นนะคะโดยเฉพาะข้อมูลใหม่ของปี 2563 นี้การทราบข้อมูลที่อัปเดตใหม่นี้ช่วยให้คุณสามารถรักษาสิทธิ์ได้ค่ะ