แผนการเงินเพื่อยามเกษียณที่สร้างสุขและรับมือต่อได้ยาวๆ แม้อาจต้องเจอสภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนอย่างในปัจจุบัน เราจะต้องลงมือเตรียมตัวกันตั้งแต่เนิ่นๆ และนานเท่าไรก็ยิ่งดี บทความนี้จึงเตรียม 4 เคล็ดลับการวางแผนเรื่องการเงิน เพื่อวางแผนเกษียณเราจะก้าวสู่ช่วงวัย 60+ ได้อย่างมั่นใจกว่าเดิมมาฝากกัน!

ทำไมต้องวางแผนเกษียณ

ทำไมต้องวางแผนเกษียณ

ใครที่อยากมีชีวิตแบบบาลานซ์ เราจะต้องเริ่มมีแผนการเงินเพื่อใช้จ่ายในยามเกษียณกันตั้งแต่ตอนนี้แล้วค่ะ จะได้พร้อมลงมืออย่างมีวิธีคิดที่สร้างสุข และใช้ชีวิตได้ต่ออย่างมีแบบแผน แม้จะต้องรับมือกับสภาวะเศรษฐกิจที่สร้างความผันผวนอย่างในปัจจุบัน

เพราะความคิดแบบก่อนๆ การหวังพึ่งลูกหลานให้เลี้ยงดูยามแก่เฒ่า สมัยนี้มันยากกว่าเดิมเยอะ ลำพังพวกเขาดูแลตัวเองให้ผ่านไปได้ก็เก่งแล้ว หรือสำหรับคนที่หวังจะครองโสดแบบสุขๆ ก็ยิ่งต้องมีแผนรองรับตัวเอง จะได้ใช้ชีวิตยามวัย 60+ ได้อย่างมีความสุขค่ะ. ยิ่งเตรียมตัวแต่เนิ่นๆเท่าไรก็ยิ่งดี วันนี้จึงนำ 4 เคล็ดลับมาฝากกัน เพื่อการวางแผนการเงินในช่วงวัยเกษียณท่ามกลางยุคสมัยที่ผันผวน อย่ารอช้า มาดูวิธีเตรียมตัวเพื่อประโยชน์ของเรากันเลยจ้า

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับวางแผนเกษียณ สำคัญอย่างไร ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ที่นี่

วางแผนเกษียณ ด้วยการออม

วางแผนเกษียณ ด้วยการออม

หากเราอยู่ในวัยทำงาน และบอกตัวเองว่า ‘มาออมเงินเอาป่านนี้มันจะไปทันเหรอ!’ หรือหาข้ออ้างในการใช้เงินอยู่ และบอกว่า ‘เรายังเป็นหนี้อยู่เลย’ ‘ฉันมีรายได้น้อย’ หรือ ‘ผ่านโควิดไปก่อนค่อยออม!’ ก็ขอให้เปลี่ยนตัวเองซะใหม่ค่ะ โดยคิดว่าตัวเรามีศักยภาพที่จะทำได้ สามารถพัฒนาตัวเองด้วยไอเดียที่เพิ่มรายได้สำเร็จแน่ เพราะถึงแม้เราจะเลยช่วงวัยหนุ่มสาวที่เหมาะที่สุดในการออม แต่หากวางกลยุทธ์ดีๆ ด้วยทัศนคติที่ถูกต้องในการออม เราก็ไม่ลำบากหลังวัย 60+ หรอกค่ะ แถมอาจจะออมต่อได้ไปแบบตลอดชีวิตด้วย ออมก่อนได้ในวันนี้แบบไม่มีคำว่าสายค่ะ

ส่วนเรื่องดีเทลก็อาจจะค่อยๆปรับตามได้ เช่น เราต้องการเกษียณแบบไหน ชีวิตคู่หรือชีวิตโสด ดูแลตนเองได้แบบไม่ต้องพึ่งใคร หรือยังเผื่อแผ่ได้อีก เป็นคนแก่ที่ยังให้ลูกหลานพึ่งพาได้ แผนเกษียณแต่ละรูปแบบของเรา ก็ต้องมีแผนในการเก็บเงินเพิ่มในส่วนต่างๆ. แต่ไม่ว่าจะโสดหรือมีครอบครัว เราต้องมีทัศนคติว่า หลังเกษียณฉันก็ยังดูแลตัวเองได้ และคิดเผื่อว่าต้องการใช้ชีวิตแบบใด เพราะสมัยนี้ไม่ได้มีแค่บ้านพักคนชราที่ต้องจองคิวนานๆ หรืออยู่กับลูกหลานไปตลอด แต่ยังมีหมู่บ้านสำหรับวัยเกษียณ ที่พักทำเลชานเมือง อากาศดีๆ เดินทางไปโรงพยาบาลสะดวก ไว้ตอบโจทย์ชีวิตวัยเก๋ามากขึ้นแล้ว แค่เรามีแผนการออมอย่างฉลาด ก็ช่วยเพิ่มตัวเลือกชีวิตปั้้นปลายได้อีกเยอะเลยค่ะ

วางแผนเกษียณ ต้องมีแผนการรองรับ

วางแผนเกษียณ ต้องมีแผนการรองรับ

เพราะยุคที่สภาวะเศรษฐกิจยังผันผวนเหมือนตอนนี้ เราจึงต้องย้อนมาสำรวจสภาพการเงินของตัวเองกันสักหน่อย เพื่อจะมีเวลาให้พอปรับแผนการเกษียณของเราในแบบที่ยืดหยุ่นมากขึ้น และรู้จักช่องทางในการปรับตัว เราก็จะมีโอกาสรอดผ่านไปได้จากทุกสภาพการณ์จนยาวไปจนถึง วัย 60+ เลยด้วย. โดยอาจเริ่มจาก ประเมินสภาพการณ์ล่วงหน้าอย่างน้อย 6 เดือนเป็นประจำ เพื่อรู้ว่าควรปรับลดหรือเพิ่มตรงไหน เช่น ออมเพิ่มได้เดือนละเท่าไหร่ ต้องซื้อประกันหรือกองทุนเพิ่มไหม หรือจะต้องตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกอีกเพื่อให้การเงินฟื้นตัวหลังช่วงโควิด เพราะถ้าค่าใช้จ่ายเรื่อสังสรรค์ลดลง แต่ค่าช้อปออนไลน์พลุ่งสูง ก็คงไม่ดีแน่ๆค่ะ จึงต้องค่อยปรับแผนให้เหมาะสมเรื่อยๆ อยู่เสมอค่ะ

เพราะทุกสภาวะเศรษฐกิจที่ผ่านๆมา ทั้งวิกฤตต้มยำกุ้ง หรือโควิดในช่วงที่แล้ว คนที่ผ่านมาได้และอยู่รอดก็คือคนที่มีเงินออมค่ะ แม้ช่วงฟื้นตัวเราจะทำได้ยากบ้าง แต่ยิ่งไม่ควรหยุดหรือขาดวินัยในการออมไป แต่มีตัวช่วยอย่างเงินออมเผื่อฉุกเฉิน หรือเงินก้นถุงในบัญชีที่สามารถนำไปใช้จ่ายแบบเป็นฮีโร่ในยามจำได้ แต่เมื่อได้เงินกลับมาแล้ว ก็จะต้องใส่คืนกลับไปให้เร็วที่สุดด้วย เพราะเราก็ไม่รู้ว่าว่าจะเกิดอะไรขึ้นอีกในวันข้างหน้า จึงไม่ควรให้มีอะไรๆมากระทบแผนการเผื่อวัยเกษียณของเราด้วย

วางแผนเกษียณ ต้องปลดแอกจากหนี้ให้ขาด

วางแผนเกษียณ ต้องปลดแอกจากหนี้ให้ขาด

เพราะวัยเกษียณจะต้องเป็นวัยที่เรามีอิสระจากหนี้ แต่ด้วยสถานการณ์ของเศรษฐกิจในตอนนี้ ก็อาจทำให้เราเองที่กำลังเตรียมพร้อมเรื่องแผนเกษียณ จะยังต้องมีการกู้หนี้ยืมสินอยู่บ้าง แต่ขอให้ต่อไปจากนี้ จะไม่สร้างหนี้เพิ่มให้ทับหนี้เดิมไปอีก หรือเลือกลงทุนในรูปแบบที่ไม่ได้มีการศึกษาให้ดีก่อน ก็อาจทำพลาดพลั้งและสร้างหนี้เพิ่มไปอีกเท่าทวีคูณ ร้ายที่สุดก็จะทำให้เราปลดหนี้ไม่ทันการเกษียณเอาด้วยค่ะ

วิธีหาทางปลดแอกจากการเป็นหนี้ให้เร็วที่สุด เราอาจเริ่มจาก ปรับพฤติกรรมในการใช้จ่าย อะไรที่ช่วยลดรายจ่ายได้ก็ลองลดดู และอะไรที่ช่วยให้หารายได้เพิ่มก็ยิ่งต้องรีบคว้าเอาไว้ รวมไปถึงการรีไฟแนนซ์เมื่อจำเป็นเพื่อลดภาระหนี้ค่ะ. นอกจากนั้น การรักษาสุขภาพของตัวเราให้ดีก็เป็นสิ่งจำเป็น เพราะหากล้มป่วยไปในตอนนี้ แผนที่วางเอาไว้ ก็อาจจะต้องเลื่อนออกไปอีก และยิ่งถ้าล้มป่วยในช่วงวัยเกษียณแล้วล่ะก็ จะยิ่งน่าเสียดายเอามากๆ เพราะการท่องเที่ยวพักผ่อนที่ฝันไว้ หรือเงินที่เก็บหามาได้ทั้งชีวิตจะหมดไปกับค่ารักษาพยาบาลอีกด้วย

วางแผนเกษียณ ควรมีสัดส่วนการลงทุนแบบระยะยาว

วางแผนเกษียณ ควรมีสัดส่วนการลงทุนแบบระยะยาว

วิธีในการลงทุนจำพวก กองทุนรวม หุ้น RMF SSF หรือ ประกันแบบต่างๆ จะช่วยเพิ่มสปีดในการออมของเราได้ดี แถมใช้ลดหย่อนภาษีก็ทำได้ ถือว่าช่วยทำให้แผนการเพื่อการเกษียณของเราเป็นรูปแบบร่างเร็วขึ้น ด้วย แต่ก็ต้องไม่ลืมศึกษารายละเอียดให้ดี และประเมินความเสี่ยงของการลงทุนในรูปแบบที่เรารับได้ก่อนจะตัดสินใจ และเลือกตัวที่มีสัดส่วนการลงทุนแบบระยะยาว จะได้ไม่กระทบรายจ่ายเราตอนนี้ และเพิ่มรายได้เมื่อเราเข้าสู่วัยเกษียณในอีกกี่ปีที่คำนวณไว้ค่ะ

และด้วยอายุเฉลี่ยของคนวันเกษียณที่ยืนยาวขึ้นกว่าค่าเฉลี่ยเดิมๆ พอร์ตการลงทุนในระยะยาวจึงควรอยู่แผนการเงินในช่วงวัยเกษียณของเราค่ะ อาจเลือกจากสินทรัพย์ที่หลากหลายบ้างก็ได้ แต่ให้มีสัดส่วนที่พอเหมาะ เช่น ทองคำ อสังหาริมทรัพย์ หรือการจัดพอร์ตการลงทุนแบบเน้นรายได้ประจำ ก็เป็นตัวเลือกที่ไม่เลวสำหรับเราด้วยค่ะ

การเกษียณก็เหมือนการเดินทางที่น่าตื่นเต้นค่ะ เราจะได้พักผ่อน ได้ใช้ชีวิตเพื่อชื่นชมสิ่งต่างๆ แบบช้าๆ และละเอียดกว่าเดิม แต่ชีวิตตามเป้าหมายนั้น มันอาจไม่ตรงตามที่เราวางไว้ ยิ่งเราอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงความผันผวน และลุ่มๆดอนๆแบบนี้ ก็ขอให้ใจเย็นๆและตั้งสติกันก่อนนะคะ แล้วมาจัดการให้อยู่หมัด ด้วยแผนการเงินสำหรับวัยเกษียณที่สร้างสุขให้เราได้และก้าวสู่วัยวัย 60+ ได้อย่างมั่นคงขึ้น กับ 4 เคล็ดลับที่เราเริ่มได้ตั้งแต่ตอนนี้

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ 7 วิธีการวางแผนเกษียณสไตล์มนุษย์เงินเดือน ที่นี่

ทั้งการสร้างทัศนคติในการออมไม่มีคำว่าสายที่จะเริ่มและวัยเก๋าไม่ได้แปลว่าต้องพึ่งพาลูกหลานเพียงอย่างเดียว มีแผนการออมที่ยืดหยุ่นได้ ไม่สร้างหนี้เพิ่มทับหนี้เดิมแต่รีบปลดแอกให้เร็วที่สุด ร่วมด้วยมีสัดส่วนการลงทุนที่เน้นระยะยาว แล้วชัยชนะที่เราจะได้ชื่นชมยามวัย 60+ ก็จะเป็นสิ่งที่เราคว้าเอาไว้ได้แน่นอนค่ะ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามผู้เชี่ยวชาญจาก MoneyDuck ได้ฟรี ที่ลิงก์ด้านล่าง