วิธีคำนวณภาษีสำหรับบุคลากรทางการแพทย์
สวัสดีครับ ผมเป็นนักศึกษาแพทย์ที่ตอนนี้พึ่งจบใหม่และกำลังเป็นแพทย์ให้กับโรงพยาบาลชื่อดังในกรุงเทพครับ เนื่องจากตอนเรียนมาเจอแต่โรค เจอแต่ยา โครงสร้างร่างกาย แนวทางเวชปฏิบัติ พอมาเจอกับกฎหมายประมวลรัษฎากรก็ถึงกับงงไปสามตลบ อะไรคือเงินได้พึงประเมิน อะไรคือเงินได้สุทธิ และที่สำคัญที่สุดคือวิธีคำนวณภาษีสำหรับบุคลากรทางการแพทย์มีอะไรบ้างครับ
เลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงินอะไรดีนะ..
คุยกับที่ปรึษาทางการเงินโดยตรงและรับข้อเสนอที่เหมาะกับคุณ
รับคำปรึกษาฟรี
กิติ
หากลองแก้โจทย์ด้วยสมมติฐานเบื้องต้น โดยกำหนดให้ข้าวจานละ 35 บาท หากขายได้วันละ 100 จาน ร้านอาหารจะมีรายได้วันละ 3,500 บาท หรือตีกลมๆ ว่าประมาณ 100,000 บาทต่อเดือนหรือเทียบเท่ากับ 1,200,000 บาทต่อปี ดังนั้น รายได้ 1,200,000 บาทต่อปี หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ร้อยละ 60 หรือเทียบเท่ากับ 720,000 บาท เหลือ 480,000 บาท หักค่าลดหย่อนผู้มีเงินได้ได้อีก 60,000 บาทเหลือเป็นเงินได้สุทธิเท่ากับ 420,000 บาทต่อปี งินได้สุทธิ 420,000 บาทจะตกอยู่ในช่วงการเสียภาษีคือ 0 – 150,000 บาทเสียที่ 0% ในขณะที่ 150,001 – 300,000 บาทเสียที่ 5% และ 300,001 – 500,000 เสีย 10% ดังนั้น ภาษีที่ต้องจ่ายในกรณีขายข้าวได้วันละ 100 จาน เท่ากับ 19,500 บาทต่อปีนั่นเอง (คำนวณจาก ภาษีที่ต้องจ่าย = 150,000(0%) + 150,000(5%) + 200,000(10%))
Chamnian
หากร้านอาหารจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล รูปแบบการเสียภาษีก็จะแตกต่างไปเป็นอีกแบบ ดังนั้น ผู้มีหน้าที่เสียภาษีทุกคนจึงจำ เป็นต้องคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายของเฉพาะตัว เพราะแต่ละคนก็มีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันออกไป ได้คำตอบแล้วว่าขายข้าววันละ 100 จาน ถ้าต้องเสียภาษีจะต้องเสียเท่าไหร่ หากร้านอาหารของใครขายได้มากกว่าหรือน้อยกว่านี้หรือกิจการของใครมีรูปแบบรายได้แบบอื่นก็สามารถคำนวณได้ด้วยหลักเดียวกัน
kritsana
กรณีแพทย์กินเงินเดือนอย่างเดียว ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1) โดยแพทย์ต้องมีความสัมพันธ์กับโรงพยาบาลในฐานะนายจ้างกับลูกจ้าง โดยนำเงิน ได้ที่ได้รับตลอดทั้งปีมารวมคำนวณภาษีได้เงินภาษีเท่าใดให้นำภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้ทุกเดือนมาหักออกซึ่งอาจ จะต้องจ่ายเพิ่มตามจำนวนภาษีที่ยังขาดอยู่หรือถ้าภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายมีมากกว่าภาษีที่ต้องชำระก็สามารถขอคืน ได้ภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายของปีที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
ศิริโชค
สูตรคำนวณภาษีคือ เงินได้สุทธิ = รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน กรมสรรพากรอนุญาตให้คำนวณค่าใช้จ่ายได้ 2 แบบ คือ แบบเหมาหรือแบบตามจริง แบบเหมาคือเลือกเหมาคำนวณไปเลยว่าค่าใช้จ่ายจะหักได้กี่เปอร์เซ็นต์จากเงินได้ แต่ถ้าแบบตามจริง เราจะต้องเก็บรายละเอียดใบเสร็จที่ถูกต้องตามกฎหมายไว้ยื่นแสดงเป็นค่าใช้จ่าย ซึ่งถ้ามีใบเสร็จมากอาจทำให้หักค่าใช้จ่ายได้มาก
มายอง
พอเห็นแบบนี้แล้วรู้สึกสงสารคนที่ทำงานหนักๆทำงานเหนื่อยได้เงินเดือนเยอะๆแล้วจะต้องมาจ่ายค่าภาษีเยอะอย่างนี้เลยค่ะ แต่ก็ทำไงได้มันเป็นกฎหมายบ้านเมือง ของเราดีหน่อยค่ะ ถึงเงินเดือนจะเยอะแต่พอหักค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูครอบครัวเลี้ยงดูลูกแล้วก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายภาษี แต่คิดแล้วก็เสียดายนะคะถ้าต้องทำงานแล้วเงินที่ได้มาก็ต้องหักเป็นภาษีไป
เหน่ง
ถ้าเราคิดแล้วปวดหัวก็ทำการเอา statement ที่เราได้แต่ละเดือน ไปยื่นภาษีประจำปีเกี่ยวกับภาษีรายได้ส่วนบุคคลดูสิครับ เพราะว่าถ้าจำเป็นต้องมีการเสียภาษีหรืออะไรก็ทางสรรพากรจะมีการจัดการเองในเรื่องนี้ เร็วๆนี้มี application ที่ช่วยเราสามารถคำนวณเกี่ยวกับภาษีเงินได้ให้ด้วยนะครับ ลองไปเลือกใช้บริการกันดู ง่ายและสะดวก
พี่ภพ..วรภพครับ
คุณเหน่ง ตอบโดนใจมากเลยครับ555 ถ้าถามผม ผมก็ตอบเหมือนคุณแหละ ไม่ใช่อะไรหรอกผมคำนวณไม่เก่ง สมัยเรียนนี่วิชาเลขเป็นวิชาที่ยากที่สุดสำหรับผมละ ดูจากวิธีคำนวณที่มีคนแนะนำมาสิแค่ผมกวาดสายตามองผ่านๆก็เวียนหัวละ ไม่ได้ว่าอะไรนะครับ มันดีแล้วที่ยกตัวอย่างมาให้ดู ผมมันตาลายอ่านไม่เข้าใจเอง..ขอคำนวณผ่านแอพดีกว่าครับ
ก้อย
ปกติถ้าคนที่เป็นแพทย์ หรือพนักงานข้าราชการ ไม่ต้องมาคิดเรื่องแบบนี้หรอกค่ะ เพราะว่าทางโรงพยาบาลเค้าจะคิดให้อยู่แล้ว และคิดภาษีตามกฎหมายการเสี่ยภาษีของอาชีพนี้แหละค่ะ อาชีพอื่นๆ เช่นครู ตำรวจ ก็จะมีการคิดคำนวนมาให้เรียบร้อยเลยก่อนเงินเดือนออก และแต่ละคนก็เสียภาษีไม่เท่ากัน ถึงแม้จะเป็นแพทย์เหมือนกัน เพราะค่าภาษีขึ้นอยู่กับเงินเดือนของแต่ละคน
เกริกวิทย์
จริงครับ เห็นด้วยกับคุณก้อย ไม่ต้องคิดอะไรมากเลย เพราะฝ่ายบุคคลจะทำหน้าที่คำนวณภาษีให้อยู่แล้ว ยกเว้นซะว่าคุณเปิดคลีนิคเองอันนี้สิครับที่จะต้องเครียดซะมากกว่า แต่อย่างว่าคุณก็สามารถจ้างคนทำบัญชีได้อยู่แล้ว เพื่อรวบรวมเอกสารคิดคำนวณรายได้ อย่าเพิ่งเครียดนะครับ งานยิ่งหนักๆอยู่ช่วงโควิด เป็นกำลังใจให้นะครับ
คฑาวุธ
ทำงานกับโรงพยาบาลของเอกชน ไม่น่าต้องมาปวดกัวเรื่องนี้นะครับ เพราะทางบัญชีของธนาคารเขาน่าจะกัดการเรื่องนี้ให้กับคุณแล้วละครับ เขาน่าจะหักภาษีเงินได้ของคุณทุกๆเดือน 3% แน่ครับ ของคุณที่ต้องทำก็น่าจะยื่นเรื่องขอคืนเงินภาษีที่ทางโรงพยาบาลเขาหักไปไปจากคุณเท่านั้นแหละครับ ของคุณก็น่าจะได้กลับคืนมาหลายบาทนะครับ
กัญจิรา
อาชีพแบบนี้เป็นอาชีพที่รายได้ดีนะคะ แต่ก็ต้องทำงานที่โรงพยาบาลของเอกชนเท่านั้นแหละคะเงินเดือนดีแน่นอน แต่ถ้่ทำงานของโรงพยาบาลของรัฐ อันนี้เงินเดือนน้อยมากแต่มีข้อดีคือ เรามีสวัสดิการให้กับคนในครอบครัวของเรา ส่วนเรื่องที่ต้องคำนวนภาษี เราก็ไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่าหมอต้องจ่ายภาษีเงินได้ที่ค่อนข้างสูงมากๆ
^^tienhom^^
วิธีคำนวณภาษีของแต่ละอาชีพก็ไม่เหมือนกันเนอะ นี่ถ้าไม่ได้เข้ามาอ่านโพสต์นี้เราก็ไม่รู้ว่า ปกติคนที่ทำอาชีพแพทย์หรืออะไรก็แล้วแต่ที่เกี่ยวกับทางการแพทย์ต้องคำนวณเรื่องรายได้และค่าใช้จ่าย โน่น นี่ นั่น กันหลายอย่างเหมือนกับคนที่ทำอาชีพอื่นๆด้วยเหมือนกัน เราก็เป็นเหมือนหลายคนที่เข้ามาคอมเมนต์ คือ คำนวณไม่เก่งค่ะ